มติที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) วันที่ 14 ธ.ค. 64 มีมติเห็นชอบในหลักการโครงการบ้านพักข้าราชการ หรือ บ้านหลวง ซึ่งดำเนินการโดยกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) จำนวน 19 โครงการ 263 หน่วย ภายในวงเงิน 211,704,246 บาท ภายใต้แผนแม่บทการพัฒนาที่อยู่อาศัย ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560 – 2579)
โดยครม.เห็นควรให้ ศธ. ดำเนินโครงการดังกล่าวให้เกิดประโยชน์อย่างแท้จริงและเป็นธรรม พร้อมจัดทำรายละเอียด แบบรูปรายการ ประมาณการค่าใช้จ่ายในการก่อสร้าง ให้เป็นมาตรฐานเดียวกันในแต่ละระดับ โดยคำนึงถึงความคุ้มค่าและประหยัด เป้าหมาย ประโยชน์ที่จะได้รับ และผลสัมฤทธิ์ที่จะเกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการ
รวมทั้งจัดลำดับความสำคัญของโครงการ แผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ เพื่อเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามความจำเป็นและเหมาะสม ตามขั้นตอนของกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องต่อไป ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
สาระสำคัญของเรื่องนี้ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) รายงานต่อที่ประชุมครม.ว่า ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบในหลักการแผนแม่บทการพัฒนาที่อยู่อาศัย ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560 – 2579) ซึ่งรวมถึงโครงการฯ บ้านหลวงด้วย
โดยให้ พม. โดยการเคหะแห่งชาติ (กคช.) เป็นผู้ดำเนินโครงการแทนส่วนราชการที่มีความต้องการจัดทำที่อยู่อาศัยในรูปแบบรัฐสวัสดิการ โดยในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 มีหน่วยงานที่มีความพร้อมในการดำเนินการ 1 หน่วยงาน ได้แก่ ศธ. โดย ศธ. (สำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา) ได้เสนอขอจัดทำโครงการฯ บ้านหลวง จำนวน 19 โครงการ รวม 263 หน่วย วงเงินงบประมาณ 211.70 ล้านบาท
สำหรับโครงการฯบ้านหลวง ของ ศธ. มีรายละเอียดสรุปได้ ดังนี้
วัตถุประสงค์
รายละเอียดของแต่ละโครงการ ดังนี้
ทั้งนี้ มีแผนการก่อสร้างโครงการ 3 ปี โดยเริ่มตั้งแต่ไตรมาส 4 ของปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ถึงปีงบประมาณ พ.ศ. 2567