นพ.วิชาญ ปาวัน ผู้อำนวยการกองโรคติดต่อทั่วไป แนะนำในการฉีดวัคซีนโควิดเข็มกระตุ้น โดยคณะอนุกรรมการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค โดยระบุว่า กรณีฉีดวัคซีนเชื้อตาย 2 เข็ม (ซิโนแวค/ซิโนฟาร์ม) ให้ฉีดกระตุ้นเข็ม 3 ได้ทั้งแอสตร้าเซนเนก้า ไฟเซอร์ หรือโมเดอร์นา ตั้งแต่ 4 สัปดาห์ขึ้นไปหลังเข็ม 2
กรณีแอสตร้าเซนเนก้า 2 เข็ม ให้ฉีดไฟเซอร์หรือโมเดอร์นา 3 เดือนขึ้นไปหลังเข็ม 2
กรณีฉีด mRNA 2 เข็ม (ไฟเซอร์/โมเดอร์นา) ให้ฉีดวัคซีน mRNA ตัวเดียวกัน 6 เดือนขึ้นไปหลังเข็ม 2
กรณีสูตรไขว้ซิโนแวค/ซิโนฟาร์ม ตามด้วยแอสตร้าเซนเนก้า ให้ฉีดกระตุ้นด้วยแอสตร้าเซนเนก้า ไฟเซอร์ หรือโมเดอร์นา 3 เดือนหลังจากเข็ม 2
สูตรไขว้ซิโนแวค/ซิโนฟาร์ม ตามด้วยไฟเซอร์ ให้ฉีดไฟเซอร์หรือโมเดอร์นา 3 เดือนขึ้นไปหลังเข็ม 2
สูตรไขว้แอสตร้าเซนเนก้า ตามด้วยไฟเซอร์/โมเดอร์นา ให้กระตุ้นด้วยไฟเซอร์หรือโมเดอร์นา 6 เดือนขึ้นไปหลังเข็ม 2
ส่วนการบริหารจัดการวัคซีนโควิดเดือนมกราคม 2565 ที่ประชุมศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข กำหนดให้
กระทรวงสาธารณสุขได้กำชับทุกจังหวัดจัดบริการฉีดวัคซีนเชิงรุกทุกกลุ่ม ทั้งคนไทยและต่างชาติ เน้นกลุ่มเป้าหมายเข้าถึงยาก เช่น แรงงานประมง ผู้ป่วยติดเตียง พื้นที่ทุรกันดาร และแรงงานต่างด้าวตามชายแดน และให้จัดทำแผนขอรับการสนับสนุนวัคซีนรายเดือนไปยังกองตรวจราชการสาธารณสุข
การแจ้งเตือนให้มารับวัคซีนเข็มกระตุ้น จะใช้ระบบ “หมอพร้อม” ผู้ฉีดวัคซีนแล้วต้องดาวน์โหลดและลงทะเบียนหมอพร้อมไว้ ส่วนผู้ที่เข้าไม่ถึงหมอพร้อม ให้จังหวัดใช้ข้อมูลจาก Moph IC ดำเนินการนัดหมาย โดยหน่วยบริการฉีดวัคซีนต้องออกแบบกระบวนการนัดหมายให้เหมาะสมกับแต่ละพื้นที่ สำหรับกทม.มีความซับซ้อนและมีหลายหน่วย ได้ประสานสำนักอนามัย กทม. วิเคราะห์จัดทำแผนเพื่อทำระบบแจ้งเตือน และเชิญชวนประชาชนมาฉีด ซึ่งเบื้องต้น กทม.จัดไว้ 6-7 จุด ทั้งนี้ ไม่จำเป็นต้องวอล์กอิน แต่ขอให้รอระบบแจ้งเตือนและนัดหมายก่อน เนื่องจากต้องทราบจำนวนผู้ที่จะฉีดเพื่อกระจายวัคซีนได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
ฉีดวัคซีนโควิดกระตุ้นเข็ม 4
ต้องทิ้งระยะห่างจากเข็ม 3 เพียง 1 เดือน ถือว่าไม่มีประโยชน์ เนื่องจากการสร้างภูมิคุ้มกันของร่างกายต้องใช้ระยะเวลาที่เหมาะสม จึงขอให้ฟังคำแนะนำจากคณะกรรมการด้านวิชาการ โดยเดือนมกราคม 2565 คณะกรรมการจะพิจารณาการฉีดเข็ม 4 และวัคซีนเด็ก