เรารู้อะไรบ้างเกี่ยวกับ ฟลูโรนา (Flurona) ติดโควิดและไข้หวัดใหญ่พร้อมกัน

08 ม.ค. 2565 | 11:30 น.
อัปเดตล่าสุด :08 ม.ค. 2565 | 18:28 น.

เเม้จะยังไม่พบผู้ติด ฟลูโรนา (Flurona) ที่ติดโควิดและไข้หวัดใหญ่พร้อมกันในประเทศไทย เเต่ก็ควรรู้ไว้ว่าฟลูโรนา คืออะไร รุนเเรงเเค่ไหน

เกาะติด ฟลูโรนา (Flurona)  หลังจากที่สำนักข่าวต่างประเทศ รายงานว่า พบหญิงกำลังตั้งครรภ์ที่ยังไม่ได้รับวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ติดเชื้อไวรัสโควิดและไข้หวัดใหญ่พร้อมกัน หรือเรียกว่า ฟลูโรนา (Flurona) รายแรกในประเทศอิสราเอล โดยพบว่า หญิงรายดังกล่าวแสดงอาการเพียงเล็กน้อย และเข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาลแล้ว

ล่าสุดในบ้านเราได้รับการยืนยันจาก นายแพทย์ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ว่า ขณะนี้ยังไม่มีนัยสำคัญอะไรที่ทำให้ต้องวิตกกังวล และจากการเฝ้าระวังในประเทศไทยยังไม่พบผู้ติดเชื้อ

"ฟลูโรน่า" (Flurona)  คืออะไร 

"ฟลูโรน่า"  (Flurona)   คือ อาการของผู้ที่ติดเชื้อ ไข้หวัด และ เชื้อ ไวรัสโคโรน่า (Corona) ในเวลาเดียวกัน มีสาเหตุเหมือนกันคือการแพร่ผ่านน้ำลาย และ ละอองฝอยเมื่อ พูด ไอ และ จามเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจ เชื้อทั้งสอง เป็นไวรัสทั้งคู่ แต่เป็นไวรัสคนละตระกูลกัน และทั้งสองตระกูลทำให้เกิดอาการคล้าย ๆ กัน คือ มีอาการทางเดินหายใจ เช่น เป็นหวัด คัดจมูก อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยตามตัว

 

รุนแรงแค่ไหน

กรณีคนที่มีอาการรุนแรงจะทำให้เกิดปอดอักเสบ และอาจเสียชีวิตจากระบบทางเดินหายใจล้มเหลว หรืออวัยวะต่าง ๆ ล้มเหลว อาการของฟลูโรนาเท่าที่มีการรายงานในปัจจุบัน ยังไม่มีอะไรแตกต่างจากโควิดทั่วไป โอกาสติดเชื้อทั้ง 2 ตัวพร้อมกันค่อนข้างน้อย จำนวนผู้ป่วยที่พบยังมีจำนวนน้อย ขณะนี้มีข้อมูลรายงานการตรวจพบในอิสราเอล บราซิล ฮังการี ฟิลิปปินส์

 

คนหนึ่งคนติดเชื้อทั้งสองชนิดได้ไหม

มีความเป็นไปได้ (Mixed Infection) แต่จะผสมพันธุ์กันจนเกิดเป็นไฮบริดไม่ได้ จึงไม่ต้องวิตกกังวล แต่สิ่งที่ควรรู้ คือ ทั้งเชื้อไข้หวัดใหญ่ และเชื้อโควิด-19 แพร่กระจายจากทางเดินหายใจในลักษณะที่เป็นฝอยละอองเหมือนกัน เพราะฉะนั้นการใส่หน้ากาก ล้างมือ รักษาระยะห่าง สามารถป้องกันทั้งสองโรคในเวลาเดียวกัน และถ้าจะสร้างภูมิคุ้มกัน ให้เกิดความปลอดภัยมากขึ้นควรฉีดวัคซีน

 

ประเทศแรกที่พบผู้ติดเชื้อ

ประเทศออิสราเอลพบผู้ติดเชื้อ "ฟลูโรน่า" รายแรกของประเทศ และรายแรกของโลก เป็นหญิงตั้งครรภ์วัย 31 ปี ซึ่งเธอผู้ที่ยังไม่ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19  ถูกทำการรักษาด้วยยาต้านไข้หวัด และ ยาต้านโควิด-19 ณ เวลานี้ อาการไม่ได้รุนแรงหรือน่ากังวลแต่อย่างใด

 

ความเสี่ยงต่อระบบสาธารณสุข

ปัจจัยเสี่ยงของประเทศอิสราเอลคือ อากาศหนาว ที่ส่งผลต่อทั้ง ไข้หวัด และ โควิด ทำให้ผู้เชี่ยวชาญเป็นกังวลว่าปริมาณคนไข้ที่เพิ่มมากขึ้นจะส่งผลต่อการล่มของระบบการให้บริการทางการแพทย์ของประเทศ จึงได้ออกมาให้คำแนะนำเพื่อป้องกันการเกิดเหตุการณ์ดังกล่าว โดยกล่าวว่า ผู้ที่ยังไม่ได้รับวัคซีนควรที่จะไปฉีดโดยด่วน และ องค์การอนามัยโลก (WHO) แนะนำให้ยึดถือและปฏิบัติตามมาตรการครอบจักรวาลอย่างเข้มข้นต่อไป 

 

นายแพทย์ศุภกิจ ระบุว่า วัคซีนไข้หวัดใหญ่แนะนำให้ฉีดในกลุ่มเปราะบาง ได้แก่ ผู้สูงอายุ กลุ่มผู้ป่วย 7 โรคเรื้อรัง ขณะนี้ สปสช.ได้เตรียมวัคซีนไข้หวัดใหญ่ประมาณ 6 ล้านโดส ให้กลุ่มเหล่านี้ 

 

ส่วนการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ควรเว้นระยะจากวัคซีนโควิด 19 ห่างกัน 1-2 สัปดาห์ เพราะหากฉีดพร้อมกันสองอย่างอาจจะทำให้มีไข้ ปวดเมื่อยมากเกินไปและเมื่อเกิดอาการข้างเคียง