GPSC หนุน Future Energy ทุ่มงบ ปั้นโมเดล "นวัตกรรมโซลาร์ชุมชน"

13 ม.ค. 2565 | 08:09 น.
อัปเดตล่าสุด :13 ม.ค. 2565 | 16:14 น.

GPSC กลุ่ม ปตท. ทุ่มงบกว่า 9 แสน หนุนโซล่าเซลล์ เพื่อการเกษตรยั่งยืน ปั้นโมเดลร่วม สวทช. นำร่อง ทดลองนวัตกรรมสารเคลือบนาโน กันฝุ่น - กันน้ำ เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้า ณ วิทยาลัยเกษตรฯ จ.สระแก้ว เข็นชุมชนเดินหน้าสู่ Future Energy ลดค่าไฟได้กว่าปีละ 1.7 แสนบาท

13 ม.ค.2565 - พลังงานไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ หรือ ระบบโซล่าร์เซลล์ เป็นอีกเทคโนโลยีทางเลือกของชุมชนและเกษตรกรไทย ที่เข้ามามีบทบาทมากขึ้น ในยุคปัจจุบัน เพื่อแสวงหาความมั่นคง ลดต้นทุนด้านไฟฟ้า เพิ่มรายได้อย่างยั่งยืนในยุคที่การแข่งขันมีมากขึ้น

GPSC หนุน Future Energy ทุ่มงบ ปั้นโมเดล \"นวัตกรรมโซลาร์ชุมชน\"
 
โดยโครงการ Light for a Better Life ของ บริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน)  หรือ GPSC ผู้เชี่ยวชาญด้านนวัตกรรมพลังงานของไทย เป็นอีกหนึ่งแรงผลัก สร้างมิติประโยชน์ทางสังคมอย่างน่าสนใจ หลังล่าสุด นำสื่อมวลชน ลงพื้นที่ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีสระแก้ว เดินหน้าโครงการ แก้ปัญหาทางด้านไฟฟ้าให้กับชุมชนและสังคม เป้าหมายเพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายด้านไฟฟ้า และนำผลลัพธ์ค่าไฟฟ้าที่ลดลง ไปใช้ต่อยอดให้เกิดผลลัพธ์อื่นๆ ขยายผลต่อไปในวงกว้าง

ทุ่มกว่า 9 แสนจับมือ สวทช. ต่อยอดนวัตกรรมให้ชุมชน

GPSC หนุน Future Energy ทุ่มงบ ปั้นโมเดล \"นวัตกรรมโซลาร์ชุมชน\"
นายณรงค์ชัย วิสูตรชัย ผู้จัดการฝ่ายอาวุโสรัฐกิจสัมพันธ์และกิจการสาธารณะ GPSC ระบุว่า การติดตั้งระบบไฟฟ้าพลังงานทดแทนในพื้นที่ขาดแคลนไฟฟ้า เพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตของชุมชน สังคมให้มีความเท่าถึงและเท่าเทียม นับเป็นอีกภารกิจที่บริษัทให้ความสำคัญ ล่าสุด ได้พูดคุยถึงแนวทางดังกล่าว กับวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีสระแก้ว ซึ่งมีความเห็นชอบไปในการเดียวกัน จึงเกิด " โครงการความร่วมมือติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคาขนาด 30 กิโลวัตต์" ร่วมกันขึ้น

โดยโครงการนี้ จะติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ชนิด Monocrystalline จำนวน 66 แผง  และอินเวอร์เตอร์ที่มีระบบ Optimizer สามารถตรวจเช็คการผลิตของแผงโซล่าร์เซลล์แต่ละแผงผ่านแอพลิเคชั่นได้ตลอดเวลา ที่สำคัญยังเป็นงานวิจัยร่วมกับ สวทช. ในการทดสอบประสิทธิภาพของนวัตกรรมเคลือบนาโน เพิ่มประสิทธิภาพของแผงช่วยไม่ให้เกิดฝุ่นเกาะ ยืดอายุของแผงโซล่าร์เซลล์และได้กำลังผลิตไฟฟ้าที่มากขึ้น

GPSC หนุน Future Energy ทุ่มงบ ปั้นโมเดล \"นวัตกรรมโซลาร์ชุมชน\"
 
สำหรับงบประมาณติดตั้ง รวมทั้งสิ้น 913,000 บาท ติดตั้งแล้วเสร็จเมื่อปลายเดือนธันวาคม 2564 ที่ผ่านมา โดยคาดจะสามารถประหยัดค่าไฟฟ้าได้ปีละ 175,000 บาท
 

ตั้งกองทุนอุดหนุนนักศึกษาเอื้อประโยชน์ชุมชน

ทั้งนี้ นอกจากโครงการดังกล่าว จะถูกออกแบบโดยวิศวกรที่มีความเชี่ยวชาญ และมีส่วนสร้างการเปลี่ยนแปลงด้านการใช้พลังงานทดแทน ส่งต่อเทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมให้กับพื้นที่ที่มีความพร้อมอย่างวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีสระแก้วแล้ว บริษัทฯ ยังจะสนับสนุนให้ความช่วยเหลือนักศึกษาที่ขาดแคลน ตลอดระยะเวลาโครงการที่ ทั้งสองหน่วยงานจะดำเนินการร่วมกันจนครบมูลค่าการติดตั้ง ไม่เกิน 7 ปี
 
 

"โครงการนี้เป็นความร่วมมือของ GPSC และ สวทช. ร่วมเจ้าของพื้นที่ ภายใต้ข้อตกลง ค่าใช้จ่ายที่ลดลง จากการผลิตกระแสไฟฟ้าใช้เองภายในวิทยาลัย จะเปลี่ยนเป็นกองทุน เพื่อช่วยเหลือนักศึกษา ที่ขาดแคลนเท่ากับมูลค่าของโครงการ เพื่อนำไปศึกษา ต่อยอดโครงการที่มีเป้าหมาย เพื่อพัฒนาด้านการเกษตร ปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร เป็นค่าอุปกรณ์เครื่องมือ เมล็ดพันธุ์ ปุ๋ย เวชภัณฑ์ และอื่นๆ  ก่อนนำผลผลิตมาส่งขายต่อให้กับโรงอาหาร และร้านค้าสวัสดิการของวิทยาลัย นับเป็นประโยชน์หมุนเวียน ต่อยอดความยั่งยืนด้านความรู้ ที่วิทยาลัยจะส่งต่อให้ชุมชนและภาคการเกษตรโดยรอบด้วย "
  GPSC หนุน Future Energy ทุ่มงบ ปั้นโมเดล \"นวัตกรรมโซลาร์ชุมชน\"
นายณรงค์ชัย ยังกล่าวว่า ในอนาคตหากการทดลองประสบความสำเร็จ บริษัทฯ ยังจะเดินหน้าต่อยอดไปยังพื้นที่ทางการเกษตรอื่นๆ หรือ วิทยาลัยที่ให้ความสำคัญกับการเกษตรในรูปแบบเดียวกัน เพราะนอกจากจะสร้างความเปลี่ยนแปลง ผลักดันการใช้พลังงานทางเลือกแล้ว GPSC เอง เป็นผู้นำด้านธุรกิจพลังงาน นวัตกรรมใหม่ๆ ที่ได้ทดลองร่วมกับพันธมิตร จะช่วยต่อยอดแผนงานในอนาคต และเป็นอีกภารกิจหลักที่สานต่อความยั่งยืนให้ชุมชนอีกด้วย 
 

สารเคลือบนาโนกันน้ำ-กันฝุ่น เพิ่มการผลิตไฟ

GPSC หนุน Future Energy ทุ่มงบ ปั้นโมเดล \"นวัตกรรมโซลาร์ชุมชน\"
ด้าน ดร.ธันยกร เมืองนาโพธิ์ นักวิจัยจากทีมวิจัยนวัตกรรมเคลือบนาโน ( NANOTEC ) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวว่า ที่ผ่านมา สวทช. ออกแบบโครงการที่ส่งต่อนวัตกรรมด้านพลังงานให้ชุมชนร่วมกับ GPSC มาแล้วหลายโครงการ
 
ขณะการทดลองล่าสุด ในโครงการ "นวัตกรรมเคลือบแผงโซล่าร์ สร้างอาชีพเกษตรกรยุคดิจิทัล" ณ พื้นที่อาคารแผนกวิชาช่างกลเกษตร วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี สระแก้ว นั้น ได้นำนวัตกรรมเคลือบนาโน กันน้ำ - กันฝุ่น ที่ใช้เวลาในการวิจัยกับแผงโซลาร์เซลล์นานถึง 3 ปีมาใช้ หลังจากเล็งเห็นถึงปัญหาและความต้องการ ในกลุ่มผู้ติดตั้งแผงโซล่าร์เซลล์จำนวนมาก ที่ต้องการยืดอายุการใช้งาน ลดภาระในการทำความสะอาดและบำรุงรักษา ไม่ให้เกิดฝุ่นเกาะได้ง่าย อันจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตกระแสไฟฟ้า และลดค่าใช้จ่ายในการทำความสะอาดแผงโซลาร์เป็นจำนวนมากอีกด้วย
  GPSC หนุน Future Energy ทุ่มงบ ปั้นโมเดล \"นวัตกรรมโซลาร์ชุมชน\"
โดยสูตรสารเคลือบดังกล่าว พัฒนาขึ้นจากการสังเคราะห์อนุภาคนาโน และออกแบบให้โมเลกุลของสารมีการจัดเรียงตัวตามแบบที่กำหนดอย่างเป็นระเบียบ ยึดเกาะ พื้นผิวได้ดี มีทั้งสูตร สะท้อนน้ำ และ กันฝุ่น ในรูปแบบการใช้ง่ายที่สะดวก ผ่านสารเคลือบเหลว นำไปใช้ด้วยการพ่นหรือจุ่มเคลือบทั้งก่อนติดตั้ง หรือหลังติดตั้งแผง เซลล์แสงอาทิตย์ โดยไม่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม และทนทานสภาพอากาศเมืองไทยได้ดี

GPSC หนุน Future Energy ทุ่มงบ ปั้นโมเดล \"นวัตกรรมโซลาร์ชุมชน\"
 
ในขั้นตอน ทีมวิจัยจะใช้สารเคลือบนาโน เคลือบแผงโซล่าเซลล์สูตรกันฝุ่น (อายุใช้งานนาน 5 ปี)  จำนวน 33 แผง (จากจำนวนแผงทั้งหมด 66 แผง) เพื่อทดสอบผลลัพธ์ และประสิทธิภาพในระยะเวลา 2 ปี  เปรียบเทียบส่วนที่เคลือบสารและไม่เคลือบสาร ผ่านการบันทึกข้อมูลและติดตามการใช้ไฟฟ้าจากแอพพลิเคชั่น แบบ real time และคำนวณผลลดค่าไฟนำมาใช้ทำโครงการได้ภายในปี 2565  พร้อมคำนวณผลตอบแทนทางสังคม และการลดปริมาณก๊าซเรือนกระจก ตลอดอายุโครงการ (6 ปี)

GPSC หนุน Future Energy ทุ่มงบ ปั้นโมเดล \"นวัตกรรมโซลาร์ชุมชน\"
 
"จะพบว่าปัญหาของโซลาร์เซลล์ ทุกๆการใช้งาน 2 เดือน ประสิทธิภาพในการผลิตไฟจะตกไป 7-8% ยิ่งในโรงงานขนาดใหญ่หายไปมากถึง 9-10% โดยสารเคลือบนวัตกรรมนาโน จะทำหน้าที่เข้าไปเคลือบพื้นผิวโซลาร์บางๆ ไม่ให้ฝุ่นเกาะ ลดความบกพร่องของการใช้งานในระยะนานๆ ยืดประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้าเพิ่มขึ้นได้ 5-10% เหมาะสำหรับพื้นที่เกษตรของชุมชน หรือ โรงงานขนาดใหญ่ที่ใช้ไฟฟ้าจำนวนมาก จะช่วยประหยัดต้นทุนในการดูแลรักษาน้อยครั้งในอายุใช้งาน 25 ปีของโซลาร์เซลล์ อีกทั้งช่วยลดความเสี่ยง อันตรายของการทำงานบนที่สูง อีกด้วย"

GPSC หนุน Future Energy ทุ่มงบ ปั้นโมเดล \"นวัตกรรมโซลาร์ชุมชน\"
 
สำหรับในอนาคต นอกจาก สวทช.จะส่งต่อนวัตกรรมนี้ให้ชุมชน และฝึกสอนให้บุคลากร นักเรียน นักศึกษา เรียนรู้ ใช้งานสารเคลือบโซลาร์ได้เองแล้ว ทีมวิจัยยังอยู่ระหว่างพัฒนา หุ่นยนต์ (Robot) ที่ใช้ในการฉีดพ่นสารเคลือบบนแผงโซลาร์บนที่สูง เพื่อควบคุมความแม่นยำ ความหนาของการเคลือบ และลดอันตรายของคนทำงานอีกด้วย
 

เปิดพื้นที่ 1,250 ไร่พัฒนาเพื่อภาคเกษตรชุมชน

สำหรับพื้นที่ทดลอง วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว นั้น ปัจจุบันมีพื้นที่รวม 1,250 ไร่ ติดหมู่บ้านนักเรียนเกษตรสงเคราะห์ ,นิคมสงเคราะห์ทหารผ่านศึกและ นิคมสงเคราะห์คลองน้ำใส จำนวนนักศึกษา 715 คน และบุคลากร 40 คน ครอบคลุมหลักสูตรการเรียนการสอน ระดับ ป.ว.ช และ ป.ว.ส  

GPSC หนุน Future Energy ทุ่มงบ ปั้นโมเดล \"นวัตกรรมโซลาร์ชุมชน\"

 

โดยนักศึกษาส่วนใหญ่ สนใจศึกษาในแผนกการเกษตร ได้แก่ สัตวศาสตร์, พืชศาสตร์, ประมง, อุตสาหกรรม และ ช่างกลเกษตร ทำให้พื้นที่ส่วนใหญ่ ถูกจัดสรรเป็นพื้นที่ทดลองการเกษตร ทั้งการเพาะปลูกพืช-ไร่, เพาะพันธุ์สัตว์เศรษฐกิจ เช่น บ่อเลี้ยงปลานิล - ปลาดุก, การวิเคราะห์คุณภาพน้ำเพื่อเกษตรชุมชน, โรงเรือนเลี้ยงไก่ไข-ไก่เนื้อ 200 ตัว, ฟาร์มเลี้ยงหมู, โคนม, โคเนื้อ และ อาคารแปรรูปสินค้าทางการเกษตร ซึ่งมีต้นทุนจากการใช้ไฟฟ้าต่อเดือนเป็นจำนวนมาก

GPSC หนุน Future Energy ทุ่มงบ ปั้นโมเดล \"นวัตกรรมโซลาร์ชุมชน\" GPSC หนุน Future Energy ทุ่มงบ ปั้นโมเดล \"นวัตกรรมโซลาร์ชุมชน\"