8 ก.พ. 2565 นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า การไปทำงาน หมายถึง การเดินทางจากบ้านไปยังที่ทำงาน ต้องมีปฏิสัมพันธ์กับคนในที่ทำงาน ใช้ชีวิตในสถานที่ทำงาน จึงมีคำแนะนำในช่วงโรคระบาดให้อยู่บ้าน หรือทำงานจากบ้าน (Work from home) แต่ถ้าจำเป็นต้องออกไปทำงาน สิ่งที่ทุกคนต้องทำเป็นสิ่งแรก คือ ไปฉีดวัคซีน
"ตอนนี้มีการจัดสรรวัคซีนให้ฉีดจนถึงเข็มที่ 3 คือ เข็มกระตุ้นภูมิหลังฉีดครบ 2 เข็ม แล้ว ถือเป็นหน้าที่สำคัญ แต่สิ่งที่ต้องระลึกถึงเสมอคือ วัคซีนไม่ได้ป้องกันการติดเชื้อ แต่สามารถลดความรุนแรงของเชื้อได้ คนทำงานอยู่ในช่วงวัยหนุ่มวัยฉกรรจ์ จะได้ข่าวมาว่าเชื้อโควิด-19 ตัวใหม่คือ โอมิครอน นั้นมีอาการไม่รุนแรงมาก จึงไม่ค่อยกลัวกัน แต่อย่าลืมว่าท่านเองเป็นแหล่งแพร่เชื้อได้ เมื่อกลับไปบ้านอาจนำเชื้อไปติดคนในครอบครัวของเราซึ่งยังไม่ได้ฉีดวัคซีน และอาจมีกลุ่มเสี่ยงสูงที่เมื่อเป็นแล้วอาการอาจจะรุนแรงกว่าในวัยเรา" นพ.สมศักดิ์ กล่าวและว่า
นอกจากนี้ ยังมีอาการซึ่งเรียกว่า POST COVID คือ อาการที่เป็นหลังติดเชื้อโควิด-19 ซึ่งอาจจะรุนแรงถึงขนาดทำงานไม่ได้ ปัจจุบันพบมากขึ้นเรื่อย ๆ
อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า การมีผู้ป่วยโควิดหลายๆ คนในประเทศ มีผลกับระบบสุขภาพ ผู้ที่ป่วยจะไปพบแพทย์จำนวนมาก ทำให้ระบบสาธารณสุขตึงตัวขึ้นมาอีก การติดเชื้อจำนวนมากทำให้เกิดการกลายพันธ์ สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินชีวิตของเราเอง และประชาชนอื่น ๆ ทำให้งานต้องติดขัด ถ้ามีคนติดเชื้อจำนวนมาก
ปัจจุบันยังไม่มียารักษาโรคนี้เด็ดขาดหรือวัคซีนที่ป้องกันโรคได้ 100% เราควรป้องกันตนเองและป้องกันผู้อื่น เมื่อต้องออกไปทำงาน ต้องไม่ลืมมาตรการ DMHTT คือ
ด้าน นพ.เกรียงไกร นามไธสง ผู้อำนวยการ รพ.นพรัตนราชธานี กล่าวว่า เมื่ออยู่ในสถานที่ทำงานให้สวมหน้ากาก และควรเหลื่อมเวลาทำงานกันหรือเหลื่อมเวลาการพักรับประทานอาหารเพื่อลดความแออัด นอกจากนี้ ควรต้องมีมาตรการป้องกัน เช่น การเว้นระยะห่างเก้าอี้ เนื่องจากเชื้อโอมิครอน มักไม่มีอาการในคนแข็งแรง จึงอาจจะต้องมีการตรวจ ATK ในหน่วยงานเป็นประจำ เมื่อมีอาการจะต้องพักอยู่ที่บ้าน และตรวจ ATK ด้วยตนเองด้วย เพื่อไม่ให้แพร่เชื้อไปยังผู้อื่น
นอกจากนี้ สธ.ยังให้ใช้ มาตรการ VUCA คือ