เปิดขั้นตอน “บริจาคร่างกายออนไลน์” เป็น “อาจารย์ใหญ่” ง่ายนิดเดียว

27 ก.พ. 2565 | 10:00 น.
อัปเดตล่าสุด :27 ก.พ. 2565 | 16:00 น.

วาระสุดท้ายของ "เเตงโม นิดา" ต้องการบริจาคร่างกายเพื่อเป็นประโยชน์ ซึ่งใครที่ต้องการบริจาค เช็คขั้นตอน “บริจาคร่างกายออนไลน์” เป็น “อาจารย์ใหญ่” ของสภากาชาดไทย ต้องทำอย่างไร

"บริจาคร่างกาย" คือความประสงค์ของ “แตงโม นิดา” นักแสดงมากฝีมือ ที่เกิดเหตุพลัดตกเรือ หายกลางแม่น้ำเจ้าพระยา เมื่อคืนวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2565 กระทั่งพบร่างวันที่ 26 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา และส่งสถาบันนิติเวชวิทยา รพ.ตำรวจ เพื่อชันสูตรอย่างละเอียด

โดย “คุณเบิร์ด” แฟนหนุ่มบอกว่า “แตงโม” ประสงค์ที่จะบริจาคร่างกาย และได้ทำเรื่องบริจาคร่างกาย เพื่อนำร่างเมื่อเธอได้เสียชีวิต ไปเป็น “อาจารย์ใหญ่” เพราะคือความตั้งใจที่เธอเคยพูดไว้ เพื่อเป็นข้อมูล “ฐานเศรษฐกิจ” ได้รวบรวมขั้นตอนการ “บริจาคร่างกายออนไลน์” มาไว้ที่นี่ 

ร่างกายของผู้บริจาค สร้างประโยชน์เพื่อการศึกษา การวิจัย และการรักษาทางการแพทย์ 

  • เพื่อการศึกษาของนิสิตแพทย์ และแพทย์ประจำบ้าน
  • เพื่อการฝึกอบรมหัตถการต่างๆ และงานวิจัยทางการแพทย์
  • เพื่อการศึกษาของนักศึกษาด้านการแพทย์และสาธารณสุขอื่นๆ
  • เพื่อเก็บเนื้อเยื่อบางส่วนสำหรับการรักษาทางการแพทย์
  • เพื่อให้แพทย์เฉพาะทางฝึกผ่าตัด
  • เพื่อเก็บโครงกระดูกเพื่อการศึกษาตลอดไป

ขั้นตอนการบริจาคร่างกายเพื่อการศึกษา

ผู้มีความประสงค์อุทิศร่างกายสามารถยื่นความจำนงได้ 3 วิธี 

 

ยื่นความจำนงผ่านช่องทางออนไลน์ที่นี่ https://anatomydonate.kcmh.or.th/

 

  1. เมื่อผู้อุทิศร่างกายฯ ถึงแก่กรรม ทายาทมีสิทธิ์ไม่มอบศพให้กับโรงพยาบาลได้โดยไม่ต้องแจ้งศูนย์รับร่างฯ โดยไม่มีความผิดทางกฎหมาย
  2. ติดต่อศูนย์รับร่างฯ โทร. 02 256 4281, 02 256 4737 (เวลาราชการ) หรือ โทร. 083 829 9917 (ตลอด 24 ขั่วโมง)
  3. โรงพยาบาลจะรับร่างของผู้อุทิศร่างกายฯ ได้ ก็ต่อเมื่อมีหลักฐานบันทึกประจำวันแจ้งการเสียชีวิตจากสถานีตำรวจ หรือใบมรณบัตรซึ่งออกให้โดยสำนักงานเขตแล้วเท่านั้น
  4. เอกสารที่ต้องเตรียมให้กับเจ้าหน้าที่ศูนย์รับร่างฯ มีดังนี้ สำเนาบัตรประชาชนผู้มอบร่าง 1 ฉบับ สำเนาใบมรณบัตรหรือหนังสือรับรองการตาย (ลงนามสำเนาถูกต้อง) 3 ฉบับ
  5. โรงพยาบาลสามารถรับร่างผู้อุทิศร่างกายฯ ที่เสียชีวิตอยู่ในเขตกรุงเทพฯ และเขตปริมณฑล คือ สมุทรปราการ นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรสาคร เท่านั้น หรือหากอยู่ใกล้โรงพยาบาลที่เป็นศูนย์เครือข่ายรับร่างของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ท่านสามารถนำส่งได้ที่โรงพยาบาลศูนย์ราชบุรี จังหวัดราชบุรี
    • โรงพยาบาลพุทธโสธร จังหวัดฉะเชิงเทรา
    • โรงพยาบาลสมเด็จพระนารายณ์ จังหวัดลพบุรี
    • โรงพยาบาลศูนย์ชลบุรี จังหวัดชลบุรี
  6. ผู้อุทิศร่างกายฯ ที่อยู่ต่างจังหวัด ขอให้ญาตินำส่งโดยบรรจุใส่หีบเย็นหรือใช้ถุงน้ำแข็งอย่างน้อย 2 ถุง วางบนหน้าท้อง คลุมด้วยผ้าห่ม แล้วส่งที่ฝ่ายกายวิภาคศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ภายใน 20 ชั่วโมง

2. ยื่นความจำนงโดยตรงที่ ศาลาทินฑัต โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โดยกรอกข้อความลงในแบบฟอร์มของโรงพยาลบาล 1 ฉบับ เจ้าหน้าที่จะออกบัตรประจำตัวผู้อุทิศร่างกายให้ไว้เป็นหลักฐาน

3. ยื่นความจำนงทางไปรษณีย์ โดยกรอกข้อความลงในแบบฟอร์ม แล้วส่งมาทางไปรษณีย์ 1 ฉบับ เจ้าหน้าที่จะส่งบัตรประจำตัวผู้อุทิศร่างกายให้ภายหลังเมื่อผู้อุทิศร่างกายถึงแก่กรรม ทายาท มีสิทธิ์คัดค้านไม่มอบศพให้กับโรงพยาบาลได้โดยต้องแจ้งการคัดค้านไม่มอบศพกับโรงพยาบาลฯภายใน 24 ชั่วโมง

 

ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการอุทิศร่างกายได้

  1. ระเบียบการอุทิศร่างกายให้โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์เพื่อการศึกษา การวิจัย และการ รักษาการแพทย์ฉบับเต็ม (คลิก)
  2. ขั้นตอนและวิธีการดำเนินการอุทิศร่างกายเพื่อการศึกษา (คลิก)
  3. แบบฟอร์มแจ้งความจำนงอุทิศร่างกาย (คลิก)
  4. แบบฟอร์มยินยอมมอบศพ (คลิก)

 

สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมการอุทิศร่างกาย

ศาลาทินทัต โทรศัพท์ 02  256 5079

ฝ่ายกายวิภาคศาสตร์ ศูนย์ฝึกผ่าตัด โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

โทรศัพท์  02  256 4281 , 02  256 4737

ที่มา : สภากาชาดไทย