ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล โพสต์เฟซบุ๊ก Center for Medical Genomics ตอบคำถามที่ว่า เรามีโอกาสติดเชื้อโอมิครอน“BA.2” (โอมิครอน สายพันธุ์ย่อย) ซ้ำ หลังติดเชื้อ “BA.1” (โอมิครอน สายพันธุ์หลัก) มาก่อนไหม คำตอบคือ เกิดขึ้นได้ แต่พบไม่บ่อย เพียงร้อยละ 1 เท่านั้น
โดยมีรายงานจากหลายประเทศในยุโรบถึงการติดเชื้อซ้ำในลักษณะนี้ ไม่พบอาการรุนแรง ที่จำเป็นต้องเข้ารักษาตัวใน รพ. หรือเสียชีวิต สาเหตุที่มีการติดเชื้อซ้ำได้เพราะทั้ง BA.1 และ BA.2 ไม่เหมือนกันเสียทีเดียว บริเวณหนามบางส่วนจะมีลักษณะเฉพาะตัวไม่เหมือนกัน
ทำให้ภูมิคุ้มกันแอนติบอดีที่ได้จากการติดเชื้อ BA.1 ไม่อาจปกป้องการติดเชื้อจาก BA.2 ได้ 100 %
ทางศูนย์จีโนมทางการแพทย์ฯตรวจหาสายพันธุ์ของไวรัสโคโรนา 2019 ด้วยเทคโนโลยี “Mass Array” ภายใน 24-48 ชั่วโมง ยังพบสัดส่วนของโอมิครอนสายพันธุ์ย่อย BA.1 และ BA.2 ใกล้เคียงกัน
ข้อมูลจากทั่วโลกในประเทศที่มีการติดเชื้อ BA.1 และตามด้วย BA.2 เช่นในแอฟริกาใต้ สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา นอร์เวย์ อินเดีย ฟิลิปปินส์ มีลักษณะเช่นเดียวกับที่เดนมาร์ก จึงเป็นเหตุผลว่าทำไม WHO ไม่จัดให้ “BA.2” เป็นสายพันธุ์ใหม่แยกจาก “BA.1”