เดือนเมษายนเป็นอีกหนึ่งเดือนที่มีวันสำคัญของไทย ซึ่งก็คือ "เทศกาลสงกรานต์" หรือ "วันปีใหม่ไทย" ซึ่งตรงกับวันที่ 13 – 15 เมษยนของทุกปี โดยการประกาศสงกรานต์อย่างเป็นทางการจะคำนวณตามหลักเกณฑ์ในคัมภีร์สุริยยาตร์
โบราณกำหนดให้วันแรกของเทศกาลเป็นวันที่พระอาทิตย์ย้ายออกจากราศีมีนเข้าสู่ราศีเมษ เรียกว่า "วันมหาสงกรานต์" ในปีนี้ตรงกับวันพฤหัสบดีที่ 14 เมษายน 2565 เวลา 9 นาฬิกา 52 นาที 12 วินาที จันทรคติ ตรงกับ วันพฤหัสบดี ขึ้น 13ค่ำ เดือนห้า(5) ปีขาล และในทุกปีจะมีการเปิดคำทำนายจาก "นางสงกรานต์ประจำปี" และ "คำทำนายดวงเมืองประจำปี" ซึ่งเป็นการกล่าวถึงคำทำนายทางความเชื่อที่อยู่คู่กับคนไทย
"เทศกาลสงกรานต์" หรือ "วันปีใหม่ไทย" ในทุกปีจะมีการเปิดคำทำนายจาก "นางสงกรานต์ประจำปี" และ "คำทำนายดวงเมืองประจำปี" ซึ่งเป็นการกล่าวถึงคำทำนายทางความเชื่อที่อยู่คู่กับคนไทยมาช้านาน
ในปี 2565 นี้ วันมหาสงกรานต์ ตรงกับวันพฤหัสบดีที่ 14 เมษายน 2565 ซึ่งเป็นวันแรกของเทศกาล เป็นวันที่พระอาทิตย์ย้ายออกจากราศีมีน เข้าสู่ราศีเมษ
นางสงกรานต์ประจำ2565 มีชื่อว่า "นางกิริณีเทวี" หรือ "นางกาฬกิณีเทวี" ทรงพาหุรัด ทัดดอกมณฑา อาภรณ์แก้วมรกต ภักษาหารถั่วงา พระหัตถ์ขวาทรงขอช้าง พระหัตถ์ซ้ายทรงปืน เสด็จยืนมาเหนือหลังกุญชร (ช้าง) เป็นพาหนะ
การเปลี่ยนจุลศักราชใหม่เป็น 1384 ปีนี้ ตรงกับ วันที่ 16 เมษายน เวลา 13 นาฬิกา 49 นาที 48 วินาที ซึ่งในปี 2565 นี้ วันอาทิตย์ เป็นอธิบดีฝน บันดาลให้ฝนตก 400 ห่า ตกในเขาจักรวาล 160 ห่า ตกในป่าหิมพานต์ 120 ห่า ตกในมหาสมุทร 80 ห่า ตกในโลกมนุษย์ 40 ห่า
เกณฑ์นาคราชให้น้ำ นาคราชให้น้ำ 4 ตัว ทำนายว่า ฝนดีตลอดปี
ส่วนเกณฑ์ธาราธิคุณ ตกราศีธนู ชื่อ เตโช (ธาตุไฟ) น้ำน้อย อากาศยังร้อน
ขณะที่เกณฑ์ธัญญาหารชื่อ วิบัติ ข้าวกล้าในไร่นา จะเกิดกิมิชาติ คือ มีด้วงแมลงรบกวน ข้าวกล้า จะได้ผล 1 ส่วน เสีย 5 ส่วน บ้านเมืองจะเกิดยุทธสงคราม จะฆ่าฟันกัน จะนิราชจากกัน จะเสียหายเป็นอันมาก
วันดีปีนี้
ความเชื่อและตำนาน ของนางสงกรานต์ทั้ง 7
โดยนางสงกรานต์นั้นเป็นธิดาของท้าวกบิลพรหม หรือท้าวมหาสงกรานต์ และเป็นนางฟ้าอยู่บนสรวงสวรรค์ชั้นจาตุมหาราช (สวรรค์ชั้นที่ 1 ในทั้งหมด 6 ชั้น) ซึ่งมีหน้าที่ในการรับศีรษะของท้าวกบิลพรหมแห่รอบเขาพระสุเมรุในแต่ละรอบปี หรือในวันสงกรานต์นั้นเอง โดยมีเกณฑ์กำหนดที่ว่าวันสงกรานต์ คือวันที่ 13 เมษายน ตรงกับวันใดก็ให้นางสงกรานต์ประจำวันนั้นเป็นผู้แห่ นางสงกรานต์มีทั้งหมด 7 องค์ ได้แก่