วันที่ 22 เมษายนของทุกปี คือ วันคุ้มครองโลก หรือ เอิร์ธเดย์ (Earth Day) นั่นเอง วันคุ้มครองโลก หรือ Earth Day ตรงกับวันที่ 22 เมษายนของทุกปี โดย เกย์ลอร์ด เนลสัน สมาชิกวุฒิสภาสหรัฐอเมริกา ที่ผลักดันให้เกิดการรวมตัวกันของชาวอเมริกันกว่า 20 ล้านคนทั่วประเทศ
เพื่อร่วมกันปกป้องสิ่งแวดล้อม ในวันที่ 22 เมษายน 1970 จนมีการตั้งองค์การพิทักษ์สิ่งแวดล้อมแห่งสหรัฐอเมริกาขึ้น นำไปสู่การออกกฎหมายเพื่อสิ่งแวดล้อมจำนวนมาก และกลายเป็นที่มาของวันคุ้มครองโลก ที่ประกาศโดยโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ เพราะนับวันยิ่งถูกมนุษย์ทำลาย โดยปรากฏขึ้นตามเมืองใหญ่ ๆ เกือบทั่วสหรัฐฯ
ผลจากความห่วงใยวิกฤตสิ่งแวดล้อมในสังคมขณะนั้น ทำให้กลุ่มคนจำนวนมากเข้าร่วมการชุมนุม ปรากฏชัดว่า กิจกรรมชุมนุมดังกล่าวเป็นการนำไปสู่ความสำเร็จของการก่อตั้งวันคุ้มครองโลกขึ้น วันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2513 “วันคุ้มครองโลก” ก็ถือกำเนิดขึ้นเป็นครั้งแรกของโลก
เป้าหมายของวันคุ้มครองโลก
- เพื่อลดอัตราการเกิดคาร์บอนไดออกไซด์ที่มีอยู่อย่างหนาแน่นในบรรยากาศ
- เพื่อกำจัดคลอโรฟลูออโรคาร์บอน ซึ่งเป็นตัวทำลายสภาพโอโซนและก่อให้เกิดการสะสมความร้อนให้หมดสิ้นไป
- เพื่ออนุรักษ์สภาพป่าที่เหลืออยู่ ทั้งที่เป็นป่าเบญจพรรณและป่าดงดิบ
- เพื่อห้ามการซื้อ-ขายสิ่งมีชีวิต ที่อาจทำให้ภาวะการเจริญพันธุ์ลดลงหรือหมดสิ้นไป
- เพื่อคงสภาพระดับประชากรไว้ ให้อยู่ในสภาพที่สมดุลกับทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่
- เพื่อสร้างพลังอำนาจจากองค์กรต่าง ๆ ทั่วโลกให้ร่วมกันปกป้องบรรยากาศ น้ำ และสภาพอื่น ๆ ให้พ้นจากการกระทำที่มิชอบของมนุษย์
- เพื่อสร้างสำนึกที่จะรักษาโลกไว้ทั้งบุคคล ชุมชน และชาติ
กิจกรรมที่ปฏิบัติในวันคุ้มครองโลก
- ส่งเสริมการปลูกต้นไม้ทั่วทุกหนทุกแห่ง โดยเฉพาะแถบแอฟริกา เคนยา ไนจีเรีย และนามิเบีย เป็นต้น
- อนุรักษ์ต้นไม้ใหญ่ที่เหลืออยู่ในเมือง หมู่บ้าน และภูเขา
- รณรงค์ให้มีการอนุรักษ์ป่าธรรมชาติ เพื่อเป็นแหล่งต้นน้ำลำธารและที่อยู่ อาศัยของสัตว์ป่า
- เน้นการคุมกำเนิด เพื่อให้จำนวนประชากรได้คงอยู่ในระดับคงเดิม
- ให้การศึกษาแก่เยาวชน และประชาชนทั่วไปได้ตระหนักถึงปัญหาเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น
- ร่วมกันรักษาความสะอาดตามถนนหนทาง ชายหาด อุทยาน และสถานที่สาธารณะต่าง ๆ
- รณรงค์ให้มีการคัดแยกขยะในแต่ละครัวเรือน เพื่อนำไปรีไซเคิล หรือนำกลับมาใช้ซ้ำ เป็นการลดปริมาณขยะ
- หนึ่งในกิจกรรมที่น่าสนใจมากๆ คือ การถ่ายเซลฟีเพื่อสร้างโลก ที่เกิดขึ้นครั้งแรกในปี 2014 เมื่อองค์การ NASA ชวนให้คนทั่วโลกออกจากบ้านและหยิบกล้องหรือสมาร์ทโฟนคู่ใจของตัวเองขึ้นมาถ่ายเซลฟีแล้วโพสต์ลงโซเชียลมีเดียพร้อมติดแฮชแท็ก #GlobalSelfie
- ปี 2014 มีคนจากทุกทวีปกว่า 113 ประเทศที่ร่วมกิจกรรมนี้ และภาพโมเสกโลกในปีนั้นถูกสร้างขึ้นจากรูปถ่ายเซลฟีมากกว่า 36,000 รูป
เกย์ลอร์ด เนลสัน เป็นใครกัน
- เกย์ลอร์ด เนลสัน (Gaylord Nelson) ผู้ก่อตั้ง Earth Day เป็นนักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
- เนลสันมีครอบครัวเป็นชนชั้นกลาง เป็นที่รู้จักในระดับภูมิภาค
- ปู่ของเนลสันเป็นผู้ก่อตั้งพรรคริพับลิกันของรัฐวิสคอนซิน และการอภิปรายทางการเมืองเป็นเรื่องปกติของการพบปะของครอบครัว
อาชีพทางการเมืองของเนลสัน
- หลังจากสำเร็จการศึกษาจาก San Jose State University ในรัฐแคลิฟอร์เนีย
- ได้รับปริญญาทางกฎหมายจากมหาวิทยาลัยวิสคอนซินในปี 2485 สงครามโลกครั้งที่ 2 กำลังเกิดขึ้นทั่วยุโรปและแปซิฟิก เนลสันจึงเข้าร่วมกองทัพสหรัฐฯ และได้รับยศร้อยโท หน่วยของเขาประกอบด้วยทหารแอฟริกันอเมริกันที่แบ่งแยกให้เห็นการกระทำในศึกรอบโอกินาวา
- ปี 2491 ได้รับเลือกเข้าสู่วุฒิสภารัฐวิสคอนซิน จนกระทั่งปี 2501 เขาได้รับเลือกตั้งเป็นผู้ว่าการรัฐวิสคอนซิน รับราชการเป็นเวลา 4 ปีในฐานะผู้ว่าการรัฐในระยะเวลาสองปีสองครั้งก่อนที่จะได้รับเลือกเข้าสู่วุฒิสภา
- ปี 2505 ทำหน้าที่สามวาระติดต่อกันในฐานะสมาชิกวุฒิสภาจากปี 2506-2524
- ปี 2506 พูดคุยเพื่อหารือเกี่ยวกับปัญหาการอนุรักษ์ วุฒิสมาชิกเนลสันก่อตั้งวันคุ้มครองโลกซึ่งเริ่มสอนเรื่องสิ่งแวดล้อมในวันที่ 22 เมษายน 2513
- หลังจากเรียนรู้ว่าวิสคอนซินเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่เป็นที่นิยมสำหรับชาวชิคาโก เขาจึงได้พัฒนาโครงการพระราชบัญญัติการสันทนาการกลางแจ้ง (Outdoor Recreation Act Program) โดยกำหนดให้มีการเก็บภาษี 1 เหรียญสำหรับบุหรี่เพื่อซื้อที่ดินเพื่อการอนุรักษ์มากกว่าหนึ่งล้านเอเคอร์ของพื้นที่ที่รกร้างว่างเปล่า
- เขายังได้ดำเนินการอย่างเข้มข้นเพื่อลดมลพิษทางน้ำที่เกิดจากผงซักฟอก
ชีวิตหลังการเมือง
- หลังจากความพ่ายแพ้ของเขาในปี 2523 สำหรับการเลือกตั้งใหม่เขากลายเป็นที่ปรึกษาให้กับ The Wilderness Society
- ในเดือนมกราคมปี 2524 เขาได้รับเหรียญแห่งอิสรภาพของประธานาธิบดีในเดือนกันยายนปี 2538 เพื่อเป็นเกียรติแก่งานสิ่งแวดล้อม
- เนลสันเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจ และหลอดเลือดเมื่ออายุ 89 ปี วันที่ 3 กรกฎาคม 2548
แม้จะมีการรณรงค์เรื่องสิ่งแวดล้อมในหลายประเด็นมาตั้งแต่ พ.ศ. 2513 จนถึงปัจจุบัน แต่ปัจจุบันนี้โลกยังคงถูกทำลายลงไปทีละน้อยโดยน้ำมือมนุษย์ โดยเฉพาะ ภาวะโลกร้อน
ภาวะโลกร้อน คือ การที่ อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกเพิ่มขึ้นจากภาวะเรือนกระจก หรือที่เรารู้จักกันดีในชื่อว่า Green house effect ซึ่งมีต้นเหตุจากการที่มนุษย์ ได้เพิ่มปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ จากการเผาไหม้เชื้อเพลิงต่างๆ การขนส่ง และการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรม
นอกจากนั้น มนุษย์เรายังได้เพิ่มก๊าซกลุ่มไนตรัสออกไซด์ และคลอโรฟลูโรคาร์บอน (CFC) เข้าไปอีกด้วย พร้อมๆกับการที่เราตัดและทำลาย ป่าไม้จำนวนมหาศาลเพื่อสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกให้แก่มนุษย์ ทำให้กลไกในการดึงเอาก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกไปจากระบบบรรยากาศถูกลดทอนประสิทธิภาพลง และในที่สุดสิ่งต่างๆที่เราได้กระทำต่อโลกได้หวนกลับมาสู่เราในลักษณะของภาวะโลกร้อน ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดสภาวะโลกร้อน
ซี่งปรากฏการณ์ทั้งหลายเกิดจากภาวะโลกร้อนขึ้นที่มีมูลเหตุมาจากการปล่อยก๊าซพิษต่างๆ จากโรงงานอุตสาหกรรม ทำให้แสงอาทิตย์ส่องทะลุผ่านชั้นบรรยากาศมาสู่พื้นโลกได้มากขึ้น ซึ่งนั่นเป็นที่รู้จักกันโดยเรียกว่า สภาวะเรือนกระจก
นอกจากนี้ยังมีปัญหาสิ่งแวดล้อมอื่นๆ ที่เรายังพบเจอ ไม่ว่าจะเป็น ฝุ่น PM 2.5 ที่เกิดขึ้นทุกปี, พื้นที่ไร้ออกซิเจนใต้ทะเลที่เพิ่มขึ้น, พื้นที่ป่าที่ค่อย ๆ ลดน้อยลง, ไมโครพลาสติก และ ขยะอิเล็กทรอนิกส์
ข้อมูลอ้างอิง : greenpeace กรมอุตุนิยมวิทยา