กำลังขึ้นเทรนด์ ใน Netflix ประเทศไทย สำหรับภาพยนตร์ Gangubai Kathiawadi คังคุไบ และขึ้นอันดับ 1 ใน Netflix จากการที่มีผู้ชมทั่วโลกชมไปแล้ว ได้รับความนิยมติด 10 อันดับแรกใน 25 ประเทศ อาทิ แคนาดา สหราชอาณาจักร แอฟริกาใต้ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
จากฝีมือการกำกับของ Sanjay Leela Bhansali โดยมี "อาเลีย บาตต์" (Alia Bhatt) นางเอกบอลลีวูด ผู้รับบท "คังคุไบ" นี่อาจเรียกได้ว่าถือเป็นตัวอย่างหนังอินเดีย ที่เปิดมุมมองใหม่ๆ ให้เห็นได้การเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมภาพยนต์อินเดียเเละศิลปะภาพยนตร์ของอินเดียได้ดีทีเดียว
“คังคุไบ” ฝันจะเป็นนักแสดงชื่อดัง แต่กลับถูกคนรักหลอกมาขายตัว ทำให้ต้องใช้ชีวิตแบบ Sex Worker เธอไม่เคยนั่งโศกเศร้ากับชีวิต เเต่กลับฮึดสู้ ผลักดันตัวเองจนกลายเป็นคนที่น่าเคารพนับถือ เรียกร้องสิทธิสตรีและอาชีพ Sex Worker ให้ถูกกฎหมาย
นี่เป็นการฉายภาพประเด็นสังคม ผ่านตัวละครผู้หญิงขายบริการทางเพศ Sex Workers ในอินเดียในอดีต โดยสิ่งที่เรียกร้องก็คือ หญิงทุกคน และทุกอาชีพ มีศักดิ์ศรีทั้งนั้น และทุกคนควรได้รับสิทธิที่เท่าเทียมกันทางกฎหมาย
“ไม่ว่าใครจะโผล่มาหน้าประตูเรา เราก็ไม่ตัดสินพวกเขา มันเป็นหลักการของเรา เราจะไม่ถามถึงศาสนา วรรณะ จะผิวเข้มหรือขาว จะรวยหรือจน ทุกคนจ่ายเท่ากัน พวกเราไม่ได้เลือกปฏิบัติกับคนอื่น แต่ทำไมผู้คนถึงเลือกปฏิบัติกับเรา”
นี่คือประโยคพูดของตัวเอกในเรื่องนี้ เด็ดขาดเเละตรงไปตรงมา สะท้อนให้เห็นถึงความต้องการให้ใคร ๆ รู้ว่าผู้หญิงทุกคนและทุกอาชีพมีศักดิ์ศรีในตัวเอง
ตลอดระยะเวลา 2 ชั่วโมง 33 นาที "คังคุไบ” สะท้อนภาพการสู้ชีวิตของ “โสเภณี” คนหนึ่งก้าวขึ้นมาเป็น “ราชินีมาเฟียแห่งมุมไบ (The Mafia Queen of Mumbai)” ได้รับการยอมรับจากคนในพื้นที่ เพราะต่อสู้เพื่อสิทธิสตรี ผู้ขายบริการทางเพศ หรือ Sex Worker
อาจไม่สามารถบอกได้ว่าการเป็น sex worker เหมาะสมหรือไม่ หากแต่ถ้ามอง sex worker เป็นมนุษย์คนหนึ่ง นั่นหมายความว่า "กฎหมาย" ก็ควรคำนึงถึงพวกเขาด้วยหรือไม่
สำหรับประเทศไทยการค้าบริการทางเพศ มีกฎหมายป้องกันและปราบปรามการค้าบริการทางเพศ และมีการกำหนดโทษทางอาญา จาก พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ.2539
แต่ก็คงพูดไม่ได้เต็มปากว่าทำให้การค้าบริการทางเพศลดลง กลับเป็นการผลักผู้บริการทางเพศต้องทำอย่างหลบๆ ซ่อนๆ ตัวเลขผู้เยาว์เข้าสู่การค้าบริการมากขึ้น มากกว่านั้นยังไม่มีกฎหมายรับรองสถานะ ทำให้พวกเขาไม่ได้รับสิทธิ ความคุ้มครอง และสวัสดิการตามกฎหมายเท่าที่ควรจะเป็น
ที่ผ่านมา "ภาคประชาชน" พยายามเคลื่อนไหว เสนอ "ร่างพระราชบัญญัติยกเลิกพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ.2539" เพื่อให้การค้าบริการทางเพศโดยสมัครใจไม่เป็นความผิดอาญา (Decriminalization) และผู้ให้บริการทางเพศซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเศรษฐกิจในฐานะแรงงานเข้าถึงสิทธิและได้รับการเคารพในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์เช่นเดียวกับอาชีพอื่นๆ
สำหรับต่างประเทศ มีการออกกฎหมายอย่างไรบ้างไปดูกัน
นิวซีแลนด์
เนเธอร์แลนด์
เยอรมนี
เดนมาร์ก
ตุรกี
อ้างอิง : Netflix Empower Foundation sexualrightsdatabase.org