ทำความรู้จัก "วัคซีนฝีดาษลิง" ชนิดใหม่ชื่ออะไร เป็นแบบไหน ฉีดยังไง อ่านเลย

02 มิ.ย. 2565 | 01:40 น.
อัปเดตล่าสุด :02 มิ.ย. 2565 | 08:40 น.

ทำความรู้จัก "วัคซีนฝีดาษลิง" ชนิดใหม่ชื่ออะไร เป็นแบบไหน ฉีดยังไง อ่านเลยที่นี่มีคำตอบ หมอยงเผยข้อมูลวัคซีนเจเนอร์เรชั่นที่ 3

วัคซีนฝีดาษลิงปัจจุบันมีกี่ชนิด ประสิทธิภาพดีแค่ไหน เป็นคำถามที่กำลังได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก หลังจากที่โรคฝีดาษลิงเริ่มแพร่กระจายไปหลายประเทศ

 

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิยาลัย โพสต์ข้อความว่า

 

ฝีดาษวานร  วัคซีน 3rd generation

 

ใช้สายพันธุ์ Vaccinia มาดัดแปลงพันธุกรรม (Modified Vaccinia Ankara) ผลิตโดย Bavarian Nordic 

 

ใช้ชื่อ MVA-BN เป็นไวรัสมีชีวิต ทำให้อ่อนฤทธิ์ ไม่สามารถแบ่งตัวได้ 

 

ฉีดเข้าใต้ผิวหนัง สร้างภูมิต้านทาน ไม่เกิดตุ่มหนอง
 

ประสิทธิภาพ เท่าเทียมกับวัคซีนในอดีต

 

ให้ได้ในผู้ที่มีภูมิต้านทานต่ำ ไม่เป็นข้อห้ามเด็ดขาดในสตรีตั้งครรภ์ (ไวรัสไม่สามารถแบ่งตัวได้) ให้ได้ในแม่ที่กำลังให้นมบุตร 

 

ต่างกับวัคซีนใน Generation ที่ 1 และ 2 ที่ใช้ปลูก วัคซีนนี้ใช้ฉีดใต้ผิวหนัง 2 ครั้งห่างกัน 4 สัปดาห์  

 

"วัคซีนฝีดาษลิง" ชนิดใหม่ชื่ออะไร เป็นแบบไหน ฉีดยังไง

 

ผู้ที่ปลูกฝีมาแล้ว ให้ครั้งเดียว

 

ผู้สัมผัสโรค ให้ภายใน 4 วัน ป้องกันการติดเชื้อได้ หรือลดอาการโรคลง 
ในยุโรป (Imvanex)  ในอเมริกา (Jynneos) 

 

ยังไม่ได้มีการขึ้นทะเบียน มาใช้ในประเทศไทย

หมอยงยังโพสต์ด้วยว่า

 

ฝีดาษวานร  2022   ความยุ่งยากในการควบคุมโรค

 

ฝีดาษวานรที่ระบาดในปีนี้ ในยุโรปและอเมริกา มีผู้ป่วยร่วม 500 ราย ส่วนใหญ่ เพศชายถึง 98%  และอยู่ในวัยเจริญพันธุ์ อายุ 20 ถึง 50 ปี 


ความยุ่งยากในการควบคุมโรค คือ 

 

  • อาการของโรคไม่ได้รุนแรงแบบไข้ทรพิษ ยังไม่มีใครเสียชีวิตเลย เมื่อมีอาการน้อยบางรายก็ไม่ได้รับการวินิจฉัย 
     
  • ตุ่มที่ขึ้นก็ไม่ได้มาก  30% เกิดในที่ลับ  บริเวณอวัยวะเพศ และถ้าไม่มีอาการมาก หรือตุ่มขึ้นน้อยก็จะไม่ได้พบแพทย์
     
  • โรคนี้ติดต่อ เกี่ยวข้องกับเพศสัมพันธ์ เพราะมีการสัมผัสกันอย่างใกล้ชิด
     
  • ไม่มีหลักฐานในการติดต่อจากสัตว์ หรือเดินทางมาจากแอฟริกา เป็นการติดต่อระหว่างคนสู่คน 
     
  • ถ้าเชื้อฝีดาษวานร ที่ระบาดอยู่ขณะนี้ เข้าไปติดยังสัตว์เลี้ยง โดยเฉพาะสัตว์ฟันแทะ ในตระกูล หนู กระต่าย กระรอก สัตว์เหล่านี้จะมีอาการน้อยมาก และเป็นพาหะ ที่จะกระจายโรคได้ จะยากต่อการควบคุมขึ้นอีก นำไปสู่การเกิดโรคประจำถิ่น ขณะนี้โรคประจำถิ่นอยู่แอฟริกา มีความกังวลว่า ถ้าติดในสัตว์เลี้ยง ที่กำลังระบาดอยู่นี้ ก็อาจประจำถิ่นอยู่ยุโรปต่อไป