ฝีดาษลิงล่าสุดเป็นอย่างไร ผู้ที่เคยฉีดวัคซีนไข้ทรพิษยังมีถูมิคุ้มกันอยู่หรือไม่ เป็นคำถามที่ได้รับความสนใจ และต้องการคำตอบ
ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา (หมอธีระวัฒน์) ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว (ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha)โดยมีข้อความว่า
ฝีดาษลิง
เกิดอะไรขั้น ในปี 2022?
คนสู่ตน โดยหาความเชื่อมโยง ไม่ได้
ลักษณะของโรคคล้ายปรับเปลี่ยน ให้สังเกตุ ยากขึ้น ผื่น ตุ่ม มีหลายระยะ พร้อมกัน ขนาดเล็ก
แต่อาการไม่รุนแรงมากถึงชีวิต
(Richard Neher, a computational evolutionary biologist at the University of Basel) รูปจาก Neher twitter และการให้ความเห็นใน STAT news
นักวิทยาศาสตร์จากสถาบัน
ปาสเตอร์ได้ทำแบบจำลองคณิตศาสตร์ รายงานใน bulletin ของ องค์การอนามัยโลกในปี 2020
และได้ข้อสรุป รวมทั้งตั้งข้อสังเกตว่าฝีดาษลิงจะมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นตามลำดับ แปรตาม สัดส่วนของภาวะภูมิคุ้มกันหมู่ ที่เริ่มลดลงในประชากรในประเทศแอฟริกา เช่น คองโก หลังจากที่หยุดการฉีดวัคซีนไข้ทรพิษ ซึ่งสามารถป้องกันข้ามไปยังฝีดาษลิงได้ และเริ่มเห็นการระบาด หนาตาขึ้นเรื่อยๆ
ทั้งนี้ไวรัสสามารถตรวจพบจากตุ่ม ผื่น จากจมูกและลำคอ ปัสสาวะ และในเลือด โดยที่ ไวรัสมีการปะทุขึ้นอีกหลังจากที่ตรวจไม่เจอ ทำให้ต้องกักตัวนานถึงมากกว่าหนึ่งเดือน
อย่างไรก็ตาม การสังเกตตนเองเมื่อเริ่มไม่สบาย มีไข้ปวดเมื่อยไม่ว่าจะมีผื่นหรือตุ่มหรือไม่ต้องแยกตัวกักตัวเองรวมทั้งใส่หน้ากากล้างมือเพื่อไม่เอาไวรัสไปปล่อยที่พื้นผิว และมีคนสัมผัสต่อ
จากที่มีการระบาดในสหรัฐฯในปี 2003 จากการนำสัตว์ฟันแทะ เข้ามาในประเทศและมีการแพร่ไปยังกระรอกดิน ที่เอาไปขายเป็นสัตว์เลี้ยงและแพร่มาคน หลังจากนั้นมีการติดตามในหลายมลรัฐ ว่าไวรัสจะมีการตั้งตัวในสัตว์หรือไม่แต่ไม่พบและรายงานในปี 2007
ลักษณะการติดตามเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่องเช่นนี้ในประเทศไทยมีรายงานเผยแพร่จากสถาบันสุขภาพสัตว์ และยังไม่พบลักษณะดังกล่าว รวมทั้งมีการควบคุมระวังการนำสัตว์ป่าเข้ามาในประเทศไทย