เรื่องต้องรู้ ความร้อนกับการปรุง “กัญชาในอาหาร” สำคัญยังไง ?

16 มิ.ย. 2565 | 03:00 น.
อัปเดตล่าสุด :16 มิ.ย. 2565 | 09:50 น.

กัญชาถูกกฎหมาย สามารถนำมาปรุงอาหารได้ เเต่มีเรื่องที่ต้องรู้ก็คือ ความร้อนกับการปรุง “กัญชาในอาหาร” สำคัญยังไง ?

“กัญชา” ถูกกฎหมาย ให้สามารถนำ กัญชาปรุงอาหารได้อย่างถูกกฎหมาย ทำให้ร้านชื่อดังต่าง ๆ เริ่มปล่อยเมนูเอาใจสายเขียวกัน  ส่วนที่นิยมนำมาปรุงใส่อาหารมากที่สุดคือ ใบกัญชา

ใบสดที่เพิ่งเก็บจากต้นไม่มีสารเมา แต่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ลดการอักเสบ อาจนำมากินคู่กับน้ำพริก หรือผสมกับผีกอื่นๆ กินเบบสลัด แต่เมื่อผ่านมาความร้อนหรือเก็บไว้นานๆ จะมีสารเมา THC และ สารต้านเมา CBD ขึ้น

และหากนำใบกัญชา มาผัดน้ำมันอาจจะเพิ่มความอันตราย เพราะทั้งผ่านความร้อนและน้ำมัน ที่จะทำให้สกัดสาร THC ออกมาได้มาก อาจมีผลให้ได้สาร THC ปริมาณมากขึ้นอีก

 

โดยใบอ่อนมีปริมาณสารข้างต้นมากกว่าใบแก่ สารสองชนิดนี้ พบปริมาณสูงสุดเมื่อพืชมีอายุ 2 เดือน  หมายความว่า การปรุงใบกัญชา ด้วยการนำมาผ่านความร้อน จึงต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ

 

ปริมาณใบกัญชาที่แนะนำต่อเมนู 

  • ทอด น้ำหนักรวมของอาหารต่อเมนูเสิร์ฟ 51 กรัม  ปริมาณใบกัญชาที่แนะนำต่อเมนู  1-2 ใบสด(ไข่เจียว ½ - 1 ใบสด)
  • ผัด น้ำหนักรวมของอาหารต่อเมนูเสิร์ฟ 74 กรัม ปริมาณใบกัญชาที่แนะนำต่อเมนู  1 ใบสด
  • แกง น้ำหนักรวมของอาหารต่อเมนูเสิร์ฟ 614 กรัม  ปริมาณใบกัญชาที่แนะนำต่อเมนู  1 ใบสด
  • ต้ม น้ำหนักรวมของอาหารต่อเมนูเสิร์ฟ 614 กรัม  ปริมาณใบกัญชาที่แนะนำต่อเมนู  1 ใบสด
  • ผสมในเครื่องดื่ม น้ำหนักรวมของอาหารต่อเมนูเสิร์ฟ 200 กรัม  ปริมาณใบกัญชาที่แนะนำต่อเมนู  1 ใบสด

 

6 เรื่องที่ร้านอาหารต้องรู้

  1. จัดทำข้อความที่แสดงข้อมูลเป็นสถานประกอบกิจการอาหารที่มีการใช้กัญชา
  2. แสดงรายการอาหารที่มีการใช้ใบกัญชาทั้งหมด
  3. แสดงข้อมูลปริมาณการใช้ใบกัญชาเป็นส่วนประกอบต่อรายการอาหารตามประเภทการทำ ประกอบหรือปรุงอาหาร เช่น อาหารทอด แนะนำการใช้ใบกัญชาสด 1-2 ใบสดต่อเมนู สำหรับอาหารประเภทผัด แกง ต้ม ผสมในเครื่องดื่มแนะนำการใช้ใบกัญชาสด 1 ใบสดต่อเมนู
  4. แสดงข้อแนะนำเพื่อความปลอดภัยในการบริโภคอาหารหรือเครื่องดื่มที่มีใบกัญชาเป็นส่วนประกอบ
  5. แสดงคำเตือนรายการอาหารที่มีการใช้ใบกัญชาให้แก่ผู้บริโภคที่มีความเสี่ยง หากรับประทานอาหารที่ใช้ใบกัญชาทราบ ด้วยการระบุข้อความ “เด็กและวัยรุ่นช่วงอายุน้อยกว่า 18 ปี ควรหลีกเลี่ยงการบริโภคอาหารที่มีส่วนผสมของกัญชา เช่น ขนม อาหารและเครื่องดื่ม สตรีมีครรภ์ และสตรีให้นมบุตร ไม่ควรรับประทาน” / “หากมีอาการผิดปกติ ควรหยุดรับประทานทันที” / “ผู้ที่แพ้หรือไวต่อสารเตตราไฮโดรแคนนาบินอล (Tetrahydrocannabinol, THC) หรือสารแคนนาบิไดออล (Cannabidiol, CBD) ควรระวังในการรับประทาน” / “อาจทำให้ง่วงซึมได้ ควรหลีกเลี่ยงการขับขี่ยานพาหนะ หรือทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักรกล” 
  6. ห้ามแสดงข้อความหรือโฆษณาสรรพคุณในการป้องกันหรือรักษาโรค 

เรื่องต้องรู้ ความร้อนกับการปรุง “กัญชาในอาหาร” สำคัญยังไง ?