วันครีษมายัน 2565 ตรงกับวันไหน คือวันอะไร อ่านรายละเอียดที่นี่มีคำตอบ

17 มิ.ย. 2565 | 20:03 น.
อัปเดตล่าสุด :17 มิ.ย. 2565 | 20:24 น.

วันครีษมายัน 2565 ตรงกับวันไหนของประเทศไทยในปีนี้ เป็นวันสำคัญและมีนัยยะอย่างไร อ่านรายละเอียดครบทั้งหมดได้ที่นี่

วันครีษมายัน 2565 ตรงกับวันไหน แล้วคือวันอะไร ทางเพจ NARIT สถาบันวิจัยดาราคาศาสตร์แห่ชาติ ได้ชี้แจงว่า วันครีษมายัน 2565 ตรงกับวันที่  21 มิถุนายน 2565 ที่จะถึงนี้ เป็นวัน “ครีษมายัน” (ครีด-สะ-มา-ยัน) (Summer Solstice) ช่วงเวลากลางวันยาวนานที่สุดในรอบปี “Solstice” เป็นภาษาอินโดยูโรเปียน คำว่า “Stice” หมายถึง สถิต หรือ หยุด ดังนั้น Summer Solstice จึงหมายถึงวันที่ดวงอาทิตย์โคจรไปถึงจุดหยุด หรือจุดสุดทางเหนือ

แต่ละวันดวงอาทิตย์จะปรากฏในตำแหน่งต่างกัน เปลี่ยนตำแหน่งไปประมาณวันละ 1 องศา ตั้งแต่เดือนมีนาคมเป็นต้นมา ดวงอาทิตย์เคลื่อนที่ไปทางเหนือเรื่อยๆ และจะหยุดที่จุดเหนือสุดในวันที่ 21 มิถุนายน จากนั้นจะค่อยๆ เคลื่อนลงมาทางใต้ ในวันดังกล่าวดวงอาทิตย์จะขึ้นจากขอบฟ้าทางทิศตะวันออกเฉียงไปทางเหนือมากที่สุด และตกลับขอบฟ้าทางทิศตะวันตกเฉียงไปทางเหนือมากที่สุด จึงทำให้มีช่วงเวลากลางวันยาวนานที่สุดในรอบปี นับเป็นวันเริ่มต้นฤดูร้อนของประเทศทางซีกโลกเหนือ และเข้าสู่ฤดูหนาวของประเทศทางซีกโลกใต้

วันครีษมายัน 2565

 

วันคริษมายัน 2565

 

 

วันคริษมายัน 2565

 

สำหรับประเทศไทย ในวันที่ 21 มิถุนายน 2565

  • ดวงอาทิตย์ขึ้นเวลาประมาณ 05:51 น.
  • และจะตกลับขอบฟ้า เวลาประมาณ 18:47 น.
  • รวมเวลาที่ดวงอาทิตย์ปรากฏอยู่บนท้องฟ้าประมาณ 12 ชั่วโมง 56 นาที

 

ใน 1 ปี ที่โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ จะเกิดปรากฏการณ์สำคัญที่เกี่ยวข้องกับการขึ้น - ตก ของดวงอาทิตย์ทั้งหมด 4 ครั้ง ได้แก่ วันครีษมายัน - วันที่กลางวันยาวนานที่สุด วันเหมายัน - วันที่กลางคืนยาวนานที่สุด วันวสันตวิษุวัตและวันศารทวิษุวัต - วันที่มีช่วงเวลากลางวันและกลางคืนยาวนานเท่ากัน

 

ปรากฏการณ์ถัดไปที่เกี่ยวข้องกับการขึ้น - ตกของดวงอาทิตย์ ได้แก่ “วันศารทวิษุวัต” (สาด-ทะ-วิ-สุ-วัด) (Autumnal Equinox) ตรงกับวันที่ 23 กันยายน 2565 เป็นวันที่ดวงอาทิตย์ขึ้นจากขอบฟ้าทางทิศตะวันออกและตกลับขอบฟ้าทางทิศตะวันตกพอดี ส่งผลให้ช่วงเวลากลางวันยาวนานเท่ากับกลางคืน สำหรับประเทศทางซีกโลกเหนือ ถือเป็นวันเปลี่ยนฤดูกาลเข้าสู่ฤดูใบไม้ร่วง ส่วนประเทศทางซีกโลกใต้เปลี่ยนสู่ฤดูใบไม้ผลิ.

 

ที่มา: NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ