“กัญชา" มาใช้ในการทำอาหารได้ แม้ว่าห้ามนำเอาส่วนของกัญชาที่มีสาร THC มาก (เช่น ที่ช่อดอก) มาใส่ในอาหาร ควรใช้แค่บริเวณใบ ซึ่งมีสาร THC น้อยกว่า แต่ทั้งผู้ประกอบอาหารและผู้ที่กินอาหารนั้น จะต้องระมัดระวังอย่าให้อาหารนั้นมีปริมาณของใบกัญชาอยู่มากเกินไป เพราะอาจทำให้สาร THC มีความเข้มข้นสูงตามไปด้วย
สารออกฤทธิ์ที่สำคัญ ได้แก่ Delta-9-Tetra-Hydrocannabinol (THC) ซึ่งมีฤทธิ์ต่อจิตและประสาท ซึ่งเรียกภาษาชาวบ้านว่า “สารเมา” และสาร Canabidiol (CBD) ซึ่งไม่มีฤทธิ์ต่อจิตและประสาท และในต่างประเทศนิยมใช้ในการเมนูอาหาร
ในกัญชาไทย จะมีสาร THC มากกว่า CBD โดยใบกัญชาแห้งสายพันธ์ไทย จะมีปริมาณสาร THC เฉลี่ย 1-2 มิลลิกรัมต่อใบ ขณะที่ใบสดของกัญชา มีสาร Tetrahydrocannabinolic Acid (THCA) ซึ่งไม่มีฤทธิ์ต่ดจิตและประสาท แต่หากถูกแสงหรือความร้อนจะทำให้เกิดกระบวนการเปลี่ยนแปลงจากสาร THCA เป็น THC ได้
อย่างไรก็ตาม กัญชาก็ถือเป็นสมุนไพรชนิดหนึ่งซึ่งมีไฟเบอร์และสารต้านอนุมูลอิสระ ถ้ากินอย่างถูกวิธีก็จะได้ประโยชน์ต่อสุขภาพ
การทำ ประกอบหรือปรุงอหาร และปริมาณใบกัญชาที่แนะนำต่อเมนู