จับตาแผ่นดินไหวข้ามวันข้ามคืนหมู่เกาะอันดามัน ห่างพังงา 506 กม.

06 ก.ค. 2565 | 03:56 น.
อัปเดตล่าสุด :06 ก.ค. 2565 | 21:04 น.

จับตาแผ่นดินไหวข้ามวันข้ามคืนหมู่เกาะอันดามัน อินเดีย ห่างพังงา 506 กม. ระหว่างวันที่ 4-6 ก.ค.นี้ร่วม 32 ครั้งแล้ว มีโอกาสเกิดสึนามิหรือไม่ ศูนย์เฝ้าระวังติดตามเหตุการณ์แผ่นดินไหว จ.ภูเก็ต ประกาศขออาสาสมัครรายงานเสียงหอสัญญาณเตือนภัยตลอดแนวชายฝั่งอันดามัน

แผ่นดินไหวต่อเนื่อง บริเวณหมู่เกาะอันดามัน ประเทศอินเดีย ตั้งแต่วันที่ 4 ก.ค. 2565 เวลา 06.00 . จนถึงเช้าวันนี้ (6 .. 2565) ความรุนแรงอยู่ที่ขนาด 4.0 - 4.9 จำนวนกว่า 32 ครั้ง เป็นแผ่นดินไหวที่เกิดในทะเลห่างจากประเทศไทยประมาณ 500 กิโลเมตร

 

จับตาแผ่นดินไหวข้ามวันข้ามคืนหมู่เกาะอันดามัน  ห่างพังงา 506 กม.

 

กองเฝ้าระวังแผ่นดินไหว กรมอุตุนิยมวิทยา ให้ข้อมูลว่า แผ่นดินไหวดังกล่าวเป็นการขยับตัวของรอยเลื่อนมีพลังแนวเฉือน แรงสั่นสะเทือนขนาด 4.9 ลึกประมาณ 10 กิโลเมตร ถือว่าไม่ลึกมาก ประกอบกับอยู่กลางทะเล จึงไม่อาจทำให้เกิดสึนามิได้ แผ่นดินไหวลักษณะนี้เกิดขึ้นเป็นประจำ ยืนยันว่าไม่ส่งผลกระทบกับไทยและไม่ทำให้เกิดสึนามิแน่นอน

 

ศ.ดร.สันติ ภัยหลบลี้ อาจารย์ประจำภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และผู้เชี่ยวชาญสมาคมธรณีวิทยาแห่งประเทศไทย เปิดเผยกับศูนย์พัฒนาการสื่อสารด้านภัยพิบัติว่า การวิเคราะห์กลไกการเกิดแผ่นดินไหว พบว่า ในช่วง 2 วันนี้ เกิดจากลอยเลื่อน

ตัวของรอยเลื่อนแบบปกติ ทำให้โอกาสเกิดสึนามินั้นต่ำมาก หรือหากเกิดก็จะไม่รุนแรงเท่ากับเหตุการณ์สึนามิที่เคยเกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2547 อย่างแน่นอน

 


แต่การเกิดแผ่นดินไหวต่อเนื่องกันใน 2 วัน เป็นสิ่งที่ควรเฝ้าระวัง เนื่องจากยังไม่สามารถสรุปได้ชัดเจนว่าเป็นเพียงกลุ่มแผ่นดินไหว (earthquake cluster) ขนาดปานกลาง หรือเป็นชุดแผ่นดินไหวนำ (foreshock) ที่มักเกิดก่อน แผ่นดินไหวหลัก (mainshock) ที่มีขนาดใหญ่กว่านี้

 

ล่าสุดศูนย์เฝ้าระวังและติดตามเหตุการณ์แผ่นดินไหว .ภูเก็ต (ภาคประชาชน) ประกาศขออาสาสมัครรายงานเสียงหอสัญญาณเตือนภัยตลอดแนวชายฝั่งอันดามัน เพื่อเตรียมความพร้อมรับมือหากเกิดสถานการณ์ฉุกเฉิน พร้อมกับให้ความรู้ประชาชนถึงการเกิดคลื่นยักษ์สึนามิ

 

ทั้งนี้การเกิดแผ่นดินไหวที่จะทำให้เกิดสึนามิ ได้จะต้องประกอบด้วย 3 ปัจจัย คือ 1.ความรุนแรงระดับ 6.5 ขึ้นไป 2.เกิดจากการงัด/มุดของแผ่นเปลือกโลก 3. ความลึกสู่ผิวน้ำ

 

ขณะที่แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นบริเวณนอกชายฝั่งนิโคบาร์ช่วงวันที่ 4 - 5 ก.ค. 2565 เป็นการเกิดในช่วงความรุนแรงที่ 4.0 - 5.6 ในโซนแผ่นเปลือกโลกเคลื่อนที่แบบแนวระนาบ และความลึกที่ 10-250+ กม. จึงสรุปได้ว่า แผ่นดินไหวชุดนี้ไม่อาจก่อให้เกิดสึนามิได้ แม้จะมีการเชื่อมโยงถึงแรงลมและระดับน้ำที่ท่วมล้นหาดทรายแก้ว จ.ภูเก็ตก็ตาม

 

ขณะที่ทัพเรือภาคที่ 3 โดยหน่วยเฝ้าตรวจและรายงานการเคลื่อนตัวของคลื่น เกาะเมียง กองทัพเรือ (นตค. เกาะเมียง) ซึ่งตั้งอยู่บนเกาะเมียง อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน ในทะเลด้านทิศตะวันตกสุดของประเทศไทย ได้ทำการตรวจสอบความพร้อมของเครื่องมือและอุปกรณ์ในการวัดระดับน้ำ และทำการฝึกซ้อมการแจ้งเตือนภัยสึนามิอย่างสม่ำเสมอ

 

สำหรับเครื่องตรวจวัดระดับน้ำที่เกาะเมียง เป็นแบบเรดาร์ยิงความถี่ลงสู่พื้นน้ำทะเล โดยใช้แรงดันของน้ำสะท้อนคลื่นกลับมายังเรดาร์ แล้วส่งคลื่นความถี่ไปยังระบบประมวลผลเพื่อแปลงเป็นค่าของระดับน้ำ พร้อมส่งค่าดังกล่าวผ่านเครื่องส่งสัญญาณดาวเทียมแบบ REAL TIME ไปยังศูนย์ปฏิบัติการกรมอุทกศาสตร์ ซึ่งสามารถแสดงผลของระดับน้ำที่หน้าจอคอมพิวเตอร์ได้เป็น 3 ระดับ คือ 5, 60 และ 120 วินาที ทั้งนี้ได้มีการจัดจนท. คอยเฝ้าระวังตลอด 24 ชม.

 

ขอให้ความมั่นใจแก่ประชาชนในพื้นที่ฝั่งอันดามันว่า ทุกระบบเตือนภัยสึนามิที่เกาะเมียง มีความพร้อม 100%