ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา (หมอธีระวัฒน์) ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว (ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha)โดยมีข้อความว่า
ความยากของฝีดาษลิง
การป้องกันการแพร่ และเพื่อการประเมินความรุนแรงที่ดีที่สุด คือสามารถรู้เร็ว ตั้งแต่ต้น ที่คนติดเริ่มมีการแพร่ของไวรัสแล้ว
ทั้งนี้สามารถดูได้จากข้อมูล อาการทางร่างกายและทางผิวหนัง
แต่เริ่มมีข้อจำกัดคือ:
14% มีแต่ผื่น แผล ตุ่มที่ผิวหนังไม่มีอาการทางร่างกาย
และอาการที่ผิวหนังอาจมีจุดเดียวหรือตำแหน่งเดียว และอาจเป็นที่ซ่อนเร้น
(ดังนั้นตนเองอาจไม่รู้ และไม่มีอาการเตือนว่าติดแล้ว)
86% มีอาการทางร่างกายและที่ผิวหนัง
และในกลุ่มที่มีอาการทางร่างกายนี้
39% อาการที่ผิวหนังเกิดก่อน
ลักษณะของผื่น แผล ตุ่มที่ผิวหนังไม่เป็นไปตามตำรา ที่เรียงจากผื่นราบ นูนขึ้น ตุ่มน้ำใส ตุ่มหนองแตกเป็นแผล ตกสะเก็ด เช่นเกิดเป็นตุ่มก่อน ก็ได้
นอกจากนั้นมีลักษณะ ผื่น แผล ตุ่ม หลายระยะนี้ เกิดขึ้นได้พร้อมกัน polystage polymorphic ก็ได้
ลักษณะอาการทางร่างกายอาจ ไม่ได้มีครบทุกอย่าง
และไม่ได้มีพร้อมๆกัน ได้แก่ ไข้ ปวดเมื่อย ปวดหัว ปวดหลัง เหนื่อยล้า ต่อมน้ำเหลืองโต
ดังนั้น การวินิจฉัยได้เร็ว ต้องใช้ทุกอย่างประกอบกัน และมีความจริงใจในการให้ประวัติ
และรวมทั้ง ความเสี่ยงในการมีกิจกรรมต่างๆเพื่อตนเอง
และคนที่เกี่ยวข้องและกันไม่ให้โรคลุกลามระบาดเป็นวงกว้าง
ไม่ใช่เป็นโรคที่ต้องกลัวคนรังเกียจ