ติดเชื้อโควิดจริงกว่า 2.3 แสนรายสัปดาห์ก่อน ชี้ศึก BA.4 / BA.5 ยืดเยื้อ

08 ส.ค. 2565 | 02:54 น.
อัปเดตล่าสุด :08 ส.ค. 2565 | 09:54 น.

ติดเชื้อโควิดจริงกว่า 2.3 แสนราย หมอนิธิพัฒน์ชี้ศึก BA.4 / BA.5 ยืดเยื้อ ระบุการ์ดยังคงต้องสูงไว้ห้ามตก เผยผู้ป่วยอาการรุนแรงใกล้ 1,000 ราย

รศ.นพ.นิธิพัฒน์ เจียรกุล (หมอนิธิพัฒน์) หัวหน้าสาขาวิชาโรคระบบการหายใจและวัณโรค ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว (นิธิพัฒน์ เจียรกุล) โดยมีข้อความระบุว่า 

 

ท่าทางการศึก BA.4/BA.5 จะยืดเยื้อ การ์ดยังคงต้องสูงไว้ห้ามตกและห้ามหายใจแรง 

 

เพราะตัวเลขผู้ติดเชื้อสัปดาห์ก่อนพุ่งไป 2.3 แสน++ 

 

และผู้ป่วยอาการรุนแรงที่ใกล้ 1,000 เข้าไปแล้ว 

 

ผ่านศึกโควิดกันมาแล้วก็หลายระลอก ทั้งหมอเด็กและหมอผู้ใหญ่หลายคน คงได้พบผู้ป่วยหลายรายที่ไม่เคยรู้ตัวว่าเป็นเบาหวานมาก่อน 

 

แต่โรคร้ายและโรคเรื้อรังนี้ก็มาโผล่เอาในช่วงที่ป่วยด้วยโรคโควิด-19 

 

และบางรายก็ส่งผลให้โควิดเกิดความรุนแรงและมีภาวะแทรกซ้อนหลายอย่างจนถึงขั้นคุกคามชีวิต 

คำถามคือว่า แล้วโควิดมันไปเกี่ยวอะไรไหมกับการกระตุ้นให้เกิดโรคเบาหวานในคนที่อาจจะมีความเสี่ยงหรือไม่มีอยู่เดิมก็แล้วแต่ โดยเฉพาะโรคเบาหวานในช่วงเด็กและวัยรุ่น

 

ทีมนักวิจัยจากอเมริกาและเยอรมัน ได้ทำการศึกษาในคนอายุ 1-18 ปี จำนวนกว่าห้าหมื่นคน 

 

ติดเชื้อโควิดจริงกว่า 2.3 แสนรายสัปดาห์ก่อน

 

โดยทำการตรวจเลือดหาร่องรอยของภูมิคุ้มกันที่เป็นผลจากการเกิดโรคโควิด-19 (antibodies to both SARS-CoV-2 receptor binding domain and nucleocapsid proteins) 

 

และภูมิคุ้มกันต่อการทำลายเซลล์ตับอ่อนของตัวเอง (autoantibodies to insulin, glutamic acid decarboxylase, islet antigen 2, and zinc transporter ที่เป็นบ่อเกิดของโรคเบาหวานช่องทางหนึ่งในอนาคต 

โชคดีว่าไม่พบความสัมพันธ์กัน นั่นหมายความว่า การเกิดโรคโควิด-19 ในเด็กและวัยรุ่น ไม่ได้มีส่วนกระตุ้นให้เกิดโรคเบาหวานในอนาคต 

 

แต่ผู้วิจัยก็ได้ออกตัวไว้ก่อนว่า จำนวนผู้เข้ารับการศึกษาอาจจะยังไม่มากพอ และการตรวจเลือดเป็นการตรวจภาคตัดขวางเพียงครั้งเดียว 

 

ดังนั้นในรายที่ตรวจพบภูมิคุ้มกันทั้งสองอย่างพร้อมกันตามที่ว่ามา 

 

ก็ไม่รู้ว่าเกิดโรคโควิด-19 มาก่อนหรือหลังการสร้างภูมิคุ้มกันทำลายตับอ่อนตัวเองกันแน่