thansettakij
เฝ้าระวังน้ำท่วมภาคใต้ เตือนยะลา นราธิวาส น้ำหลาก ดินถล่ม

เฝ้าระวังน้ำท่วมภาคใต้ เตือนยะลา นราธิวาส น้ำหลาก ดินถล่ม

15 ม.ค. 2568 | 14:34 น.
อัปเดตล่าสุด :15 ม.ค. 2568 | 14:52 น.

เฝ้าระวังน้ำท่วมภาคใต้ ล่าสุด 15 ม.ค.68 พื้นที่บ้านทำเนียบยะลา เตือนภัยวิกฤตสีแดง ด้านชลประทานนราธิวาส แจ้งประชาชนริมคลองตันหยงมัส เฝ้าระวังระดับน้ำลุ่มน้ำบางนรา

วันที่ 15 มกราคม 2568 เวลา 20:20 น.ห้องปฏิบัติการเฝ้าระวังและเตือนภัยน้ำหลาก-ดินถล่ม กองวิจัย พัฒนาและอุทกวิทยา (กวพ.) กรมทรัพยากรน้ำ (ทน.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) ได้แจ้งข้อมูลการเตือนภัยในระดับ วิกฤติ (สีแดง) ในพื้นที่ บ้านทำเนียบ ตำบลลำพะยา อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา ทั้งนี้เนื่องจากปริมาณฝนสะสม 12 ชั่วโมง 144.5 มิลลิเมตร ปริมาณฝนสะสม 15 นาที 2.5 มิลลิเมตร โดยหลายจุดได้เริ่มมีน้ำท่วมขัง 

 


ขณะเดียวกันโครงการชลประทานนราธิวาส ฝ่ายจัดสรรน้ำและปรับปรุงระบบชลประทาน ได้ออกมาประกาศแจ้งเตือน สถานการณ์น้ำลุ่มน้ำบางนรา โดยระบุว่าจังหวัดนราธิวาสได้เกิดฝนตกหนักต่อเนื่องในพื้นที่ลุ่มแม่น้ำบางนรา ตั้งแต่วันที่ 12-14 มกราคม 2568 เวลา 07.00 น.มีปริมาณน้ำฝนสะสม 3 วัน ที่อำเภอจะแนะ 29.0  มิลลิเมตร อำเภอเจาะไอร้อง อำเภอระแงะ 49.6   มิลลิเมตร อำเภอยิ่งอ 32.6 มิลลิเมตรและอำเภอเมืองนราธิวาส 26.8  มิลลิเมตร  และจากการพยากรณ์อากาศของกรมอุตนิยมวิทยาในระหว่างวันที่ 16-18 มกราคม 2568 จะมีปริมาณน้ำฝนเพิ่มมากขึ้น ปริมาณน้ำฝนดังกล่าวอาจทำให้เกิดน้ำป่าไหลหลากในพื้นที่ราบเชิงเขาและน้ำท่วมขังในพื้นที่ลุ่มต่ำ น้ำล้นตลิ่งคลองตันหยงมัสและระดับน้ำในแม่น้ำบางนราอาจสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

 

ทั้งนี้โครงการชลประทานนราธิวาส ขอแจ้งให้จังหวัดนราธิวาสแจ้งเตือนประชาชนที่อาศัยอยู่ริมคลองต้นหยงมัส บริเวณบ้านต้นหยงมัส บ้านไท บ้านแกแม ตำบลต้นหยงมัส อำเภอระแงะ บ้านมะนังกาหยี ตำบลมะนังตายอ ตำบลลำภู ตำบลบลบางปอ อำเภอเมือง และบ้านทุ่งคา บ้านโต๊ะแม บ้านปูตะ ตำบลละหาร อำเภอยิ่งอ รับสถานการณ์น้ำเฝ้าระวัง ทั้งนี้ ขอให้ติดตามสถานการณ์น้ำและข่าวสารจากทางราชการอย่างใกล้ชิด

 

เฝ้าระวังน้ำท่วมภาคใต้ ล่าสุด 15 ม.ค.68 พื้นที่บ้านทำเนียบยะลา เตือนภัยวิกฤตสีแดง ด้านชลประทานนราธิวาส แจ้งประชาชนริมคลองตันหยงมัส เฝ้าระวังระดับน้ำลุ่มน้ำบางนรา เฝ้าระวังน้ำท่วมภาคใต้ ล่าสุด 15 ม.ค.68 พื้นที่บ้านทำเนียบยะลา เตือนภัยวิกฤตสีแดง ด้านชลประทานนราธิวาส แจ้งประชาชนริมคลองตันหยงมัส เฝ้าระวังระดับน้ำลุ่มน้ำบางนรา

อนึ่งศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคใต้ฝั่งตะวันออก ได้ประกาศฉบับ 2 เรื่องฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณภาคใต้ตอนล่างและคลื่นลมแรงบริเวณอ่าวไทย ในช่วงวันที่ 15-18 มกราคม 2568  โดยบริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังค่อนข้างแรงปกคลุมประเทศไทยและทะเลจีนใต้ ประกอบกับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามันมีกำลังค่อนข้างแรง

 

ลักษณะเช่นนี้ทำให้ช่วงวันที่ 15-17 มกราคม 2568 บริเวณภาคใต้ฝั่งตะวันออกมีฝนเพิ่มขึ้นหลายพื้นที่และมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่งบริเวณจังหวัดสุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส จึงขอให้ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยระวังอันตรายจากฝนหนักถึงหนักมากและลมกระโชกแรง ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลาก

ศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคใต้ฝั่งตะวันออก ได้ประกาศฉบับ 2 เรื่องฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณภาคใต้ตอนล่างและคลื่นลมแรงบริเวณอ่าวไทย ศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคใต้ฝั่งตะวันออก ได้ประกาศฉบับ 2 เรื่องฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณภาคใต้ตอนล่างและคลื่นลมแรงบริเวณอ่าวไทย

สำหรับคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยมีกำลังค่อนข้างแรง ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ขอให้ประชาชนที่อาศัยบริเวณชายฝั่งระวังอันตรายจากคลื่นที่ชัดเข้าหาฝัง ชาวเรือควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือและหล็กเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง เรือเล็กควรงดออกจากฝั่งในช่วงวันที่ 16-18 มกราคม2568 นี้ จึงขอให้ประชาชนติดตามข่าวพยากรณ์อากาศจากศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคใต้ฝั่งตะวันออก อย่างใกล้ชิด
 

อัปเดตข้อมูลจากศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคใต้ฝั่งตะวันออก รายงานปริมาณฝนสถานี 12 ชม. บริเวณภาคใต้ฝั่งตะวันออก ประจำวันที่ 15 มกราคม 2568 ตั้งแต่เวลา 07.00 -19.00 น.

รายงานปริมาณฝนสถานี 12 ชม. บริเวณภาคใต้ฝั่งตะวันออก รายงานปริมาณฝนสถานี 12 ชม. บริเวณภาคใต้ฝั่งตะวันออก

 

 

อนึ่งกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย หรือ ปภ.ได้แจ้งเตือนพื้นที่เสี่ยง เฝ้าระวังสถานการณ์น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำท่วมขัง รวมไปถึง พื้นที่เฝ้าระวังคลื่นลมแรง ระหว่างวันที่ 15 - 18 มกราคม 2568 โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

พื้นที่เฝ้าระวังสถานการณ์น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำท่วมขัง ภาคใต้ 8 จังหวัด

  1. จังหวัดนครศรีธรรมราช 3 อำเภอ (อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช อำเภอท่าศาลา และอำเภอลานสกา) 
  2. จังหวัดพัทลุง 3 อำเภอ (อำเภอป่าบอน อำเภอศรีนครินทร์ และอำเภอกงหรา) 
  3. จังหวัดสงขลา 6 อำเภอ (อำเภอระโนด อำเภอควนเนียง อำเภอจะนะ อำเภอนาทวี อำเภอสะเดา และอำเภอสะบ้าย้อย) 
  4. จังหวัดปัตตานี 10 อำเภอ (อำเภอเมืองปัตตานี อำเภอไม้แก่น อำเภอกะพ้อ อำเภอยะรัง อำเภอสายบุรี อำเภอยะหริ่ง อำเภอทุ่งยางแดง อำเภอปะนาเระ อำเภอหนองจิก และอำเภอมายอ) 
  5. จังหวัดยะลา 6 อำเภอ (อำเภอเมืองยะลา อำเภอกรงปินัง อำเภอธารโต อำเภอบันนังสตา อำเภอยะหา และอำเภอรามัน) 
  6. จังหวัดนราธิวาส 11 อำเภอ (อำเภอเมืองนราธิวาส อำเภอบาเจาะ อำเภอศรีสาคร อำเภอเจาะไอร้อง อำเภอยี่งอ อำเภอระแงะ อำเภอรือเสาะ อำเภอจะแนะ อำเภอสุไหงโก-ลก อำเภอสุไหงปาดี และอำเภอตากใบ) 
  7. จังหวัดตรัง 6 อำเภอ (อำเภอเมืองตรัง อำเภอวังวิเศษ อำเภอย่านตาขาว อำเภอห้วยยอด อำเภอนาโยง และอำเภอปะเหลียน) 
  8. จังหวัดสตูล 5 อำเภอ (อำเภอเมืองสตูล อำเภอทุ่งหว้า อำเภอมะนัง อำเภอควนกาหลง และอำเภอควนโดน)

พื้นที่เฝ้าระวังคลื่นลมแรง

ภาคกลาง 1 จังหวัด

  1. จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (ทุกอำเภอ)

ภาคใต้ 6 จังหวัด 

  1. จังหวัดชุมพร 6 อำเภอ (อำเภอเมืองชุมพร อำเภอปะทิว อำเภอสวี อำเภอทุ่งตะโก อำเภอหลังสวน และอำเภอละแม) 
  2. จังหวัดสุราษฎร์ธานี 8 อำเภอ (อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี อำเภอไชยา อำเภอท่าชนะ อำเภอท่าฉาง อำเภอพุนพิน อำเภอดอนสัก อำเภอกาญจนดิษฐ์ อำเภอเกาะสมุย และอำเภอเกาะพะงัน) 
  3. จังหวัดนครศรีธรรมราช 6 อำเภอ (อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช อำเภอขนอม อำเภอสิชล อำเภอท่าศาลา อำเภอปากพนัง และอำเภอหัวไทร) 
  4. จังหวัดสงขลา 7 อำเภอ (อำเภอเมืองสงขลา อำเภอระโนด อำเภอกระแสสินธุ์ อำเภอสทิงพระ อำเภอสิงหนคร อำเภอจะนะ และอำเภอเทพา) 
  5. จังหวัดปัตตานี 6 อำเภอ (อำเภอเมืองปัตตานี อำเภอหนองจิก อำเภอยะหริ่ง อำเภอปะนาเระ อำเภอสายบุรี และอำเภอไม้แก่น) 
  6. จังหวัดนราธิวาส 2 อำเภอ (อำเภอเมืองนราธิวาส และอำเภอตากใบ)