ข้อมูลจากกรมอุตุนิยมวิทยา ระบุไว้ว่า สาเหตุที่ประเทศไทยมีอากาศร้อนจัดในช่วงสงกรานต์ หรือในช่วงประมาณวันที่ 13–15 เมษายน ของทุกปี มีปัจจัยทางวิทยาศาสตร์และภูมิอากาศหลายประการ คือ
1. ดวงอาทิตย์ตั้งฉากกับประเทศไทย โดยช่วงกลางเดือนเมษายนของทุกปี ดวงอาทิตย์จะโคจรมาตั้งฉากกับประเทศไทย (บริเวณละติจูด 13–15 องศาเหนือ) ส่งผลให้ปริมาณรังสีดวงอาทิตย์ที่ส่องลงมาถึงพื้นดินมีความเข้มข้นสูงที่สุดในรอบปี และทำให้อุณหภูมิพุ่งสูงในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะภาคเหนือและภาคกลาง
2. อากาศแห้ง – ความชื้นสัมพัทธ์ต่ำ ในช่วงเมษายนของประเทศไทยมักเป็นช่วงปลายของฤดูแล้ง อากาศแห้ง ความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศต่ำ ไม่มีเมฆปกคลุม รังสีดวงอาทิตย์จึงสามารถแผ่ลงมาถึงได้เต็มที่ ทำให้อากาศร้อนขึ้น
3. ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ซึ่งนำความชื้นจากทะเลเข้าประเทศไทยจะเริ่มต้นฤดูฝน ยังไม่มาในช่วงสงกรานต์ ทำให้ช่วงสงกรานต์ไม่มีฝนตกหรือเมฆมากมาช่วยลดอุณหภูมิ
4. ภาวะ Climate Change (ภาวะโลกร้อน) เป็นหนึ่งปัจจัยที่ส่งผลให้ฤดูร้อนของประเทศไทยยาวนานขึ้น และอุณหภูมิเฉลี่ยสูงขึ้น
โดยช่วงสงกราต์ในปี 2567 ที่ผ่านมา กรมอุตุนิยมวิทยารายงานว่าอุณหภูมิเฉลี่ยช่วงสงกรานต์สูงกว่าค่าปกติ 1.5–2.0°C ประเทศไทยเผชิญกับสภาพอากาศร้อนจัด
สำหรับเดือนเมษายน 2568 กรมอุตุนิยมวิทยาได้คาดการณ์ลักษณะอากาศ ดังนี้
คาดการณ์ว่าช่วงสงกรานต์ปี 2568 อุณหภูมิจะไม่ร้อนจัดเท่าปี 2567 โดยอุณหภูมิสูงสุดอาจอยู่ที่ประมาณ 43–44 องศาเซลเซียส ซึ่งต่ำกว่าปี 2567 ที่มีอุณหภูมิสูงสุดถึง 46 องศาเซลเซียส