ภาวะ MIS-C หลังเด็กโควิด-19 น่ากังวลแค่ไหน พร้อมวิธีสังเกตอาการ

21 ก.ค. 2565 | 03:37 น.
อัปเดตล่าสุด :21 ก.ค. 2565 | 10:48 น.

ภาวะ MIS-C หลังเด็กโควิด-19 เป็นสิ่งที่พ่อเเม่ผู้ปกครองต้องให้สำคัญ ภาวะนี้น่ากังวลแค่ไหน เเละมีวิธีสังเกตอาการอย่างไร เช็คเลย

กรณี มีข่าวเด็กนักเรียนชั้นปฐมศึกษาปีที่ 2 อายุ 6 ปี ติดเชื้อโควิด 19 และป่วยหนักและเสียชีวิตจากภาวะMIS-C หรือการอักเสบหลายอวัยวะ เบื้องต้นพบว่าไม่ได้ฉีดวัคซีนป้องกันโควิด

ภาวะ MIS-C คืออะไร 

ภาวะ MIS-C (มิสซี) Multisystem Inflammatory Syndrome in Children คือ กลุ่มอาการอักเสบหลายระบบ ซึ่งเป็นภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงที่พบหลังเด็กหายจากการติดเชื้อโควิด-19 โดยจะมีการอักเสบของอวัยวะหลายระบบในร่างกายพร้อมๆ กัน โดยเฉพาะอาการในระบบหัวใจ ปอด ตับ ไต สมอง ผิวหนัง ตา ระบบทางเดินหายใจ หรือระบบทางเดินอาหาร

 

ภาวะนี้ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อไวรัสโดยตรง แต่เป็นภาวะที่เกิดจากภูมิคุ้มกันของร่างกายที่ตอบสนองต่อการติดเชื้อผิดปกติไป โดยเริ่มมีอาการตั้งแต่ระยะหายจากโรค จนถึงหลังติดเชื้อ 2 – 6 สัปดาห์ มักเกิดในเด็กอายุเฉลี่ย 6 – 10 ขวบขึ้นไป พบได้เท่าๆ กัน ทั้งในเด็กผู้ชายและเด็กผู้หญิง

ภาวะ MIS-C เกิดจากอะไร

  • เกิดภาวะการอักเสบในหลายอวัยวะ
  • ผู้ป่วยในกลุ่มนี้มีโอกาสเสียชีวิตได้สูง
  • อักเสบที่อวัยวะสำคัญ เช่น กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ปอดอักเสบ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ หรือ ช็อค 

 

ภาวะ MIS-C มีอาการที่ต้องสังเกต  

  • หายใจเร็ว
  • เหนื่อย
  • ซึม
  • ตัวเย็น เรียกไม่รู้สึกตัว
  • หลังมีการติดเชื้อโควิด 19 แนะนำให้ผู้ปกครองรีบพาเด็กไปพบแพทย์โดยเร็ว เพื่อรับการวินิจฉัยและการรักษาที่เหมาะสม

 

คำแนะนำ ภาวะ MIS-C 

  • อาการของภาวะ MIS-C อาจมีอาการคล้ายกับโรคคาวาซากิ (Kawasaki Disease)
  • แต่ภาวะ MIS-C มักพบในผู้ป่วยเด็กโต แตกต่างจากโรคคาวาซากิที่มักพบในผู้ป่วยเด็กเล็ก ซึ่ง MIS-C อาจมีอาการรุนแรง
  • เกิดภาวะแทรกซ้อนจนถึงขั้นเสียชีวิตได้ โดยคุณพ่อคุณแม่ควรสังเกตอาการของเด็กๆ ที่หายจากการติดเชื้อโควิด-19 อย่างใกล้ชิด
  • หากพบอาการผิดปกติดังกล่าว ควรรีบพามาพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยและรับการรักษาทันที
  • การรับวัคซีนโควิด จะสามารถช่วยลดความเสี่ยงการติดเชื้อรุนแรง ช่วยลดความเสี่ยงและความรุนแรงของการเกิดภาวะ mis-c
  • สามารถป้องกันได้โดยการฉีดวัคซีน
  • หากเด็กได้รับการฉีดวัคซีนครบจะทำให้มีโอกาสติดเชื้อและป่วยน้อยลง
  • กรณีที่ป่วยอาการจะไม่รุนแรง ให้นำบุตรหลานไปฉีดวัคซีน ที่มีทั้งไฟเซอร์ และ ซิโนแวค

 

ข้อมูล : กรมควบคุมโรค , โรงพยาบาลศิครินทร์