นายแพทย์ ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย โพสต์ข้อความผ่าน เฟซบุ๊ก วันนี้ (26 ก.ค.) ระบุถึง การติดเชื้อโควิด-19 ซ้ำ แม้จะได้รับ ยาต้านไวรัส ไปแล้วก็ตาม อ้างอิงรายงานจากสหรัฐ (preprint) โดยวิเคราะห์ข้อมูลระหว่างวันที่ 1 ม.ค. ถึงวันที่ 8 มิ.ย. 2022 ซึ่งเป็นช่วงของไวรัสโควิดสายพันธุ์โอไมครอน เนื้อหาระบุว่า
รักษาด้วย paxlovid 11,270 รายหรือรักษาด้วย molnupiravir 2,374 ราย ภายในระยะเวลาห้าวันหลังจากมีการติดเชื้อ การกลับมาใหม่ หรือ rebound มีสามลักษณะคือ
ลักษณะที่กลับมาใหม่ไม่แตกต่างกันของการใช้ยา paxlovid หรือ molnupiravir คนที่มีโรคประจำตัวจะมีการกลับมาใหม่มากกว่า
สำหรับ paxlovid
ที่ 7 วัน และ 30 วัน
ลักษณะที่หนึ่ง 3.53% และ 5.4%
ลักษณะที่สอง 2.31 % และ 5.87%
ลักษณะ ที่ สาม 0.44% และ 0.77%
สำหรับ molnupiravir
ที่ 7 และ 30 วัน
ลักษณะที่หนึ่ง 5.86% และ 8.59%
ลักษณะที่สอง 3.75% และ 8.21%
ลักษณะที่สาม 0.84% และ 1.39%
เมื่อดูผิวเผิน คล้ายกับการใช้ molnupiravir จะมีการกลับมาใหม่มากกว่า แต่เมื่อวิเคราะห์ propensity score matching ซึ่งเป็นวิธีจัดการกับ ตัวแปรและปัจจัยต่าง ๆ เพื่อให้มีความน่าเชื่อถือแม่นยำมากขึ้นในการระบุความเสี่ยง จะพบว่า ความเสี่ยงระหว่างการใช้ยาทั้งสองชนิดนี้ไม่แตกต่างกัน แต่ขึ้นกับภาวะหรือโรคประจำตัวของผู้ติดเชื้อ
มีโรคหัวใจ ความดันสูง มะเร็งโรคอัมพฤกษ์ โรคปอด โรคไตโรคตับ อ้วน เบาหวาน โรคทางระบบภูมิคุ้มกัน การได้รับการเปลี่ยนถ่ายอวัยวะ รวมถึงการให้ยาต้านภูมิคุ้มกัน และไม่เกี่ยวพันกับการได้รับวัคซีนหรือไม่
สาเหตุกลไกของการกลับมาใหม่ “ไม่ทราบแน่ชัด” แต่อาจเกี่ยวเนื่องกับการรักษาไม่สามารถกำจัดไวรัสไปได้อย่างหมดจด หรือไวรัสดื้อยา?
อย่างไรก็ตาม การให้ยาต้านไวรัสอย่างสมเหตุสมผลตามลักษณะของอาการที่เป็นมากขึ้น โดยในคนไทยที่ใช้ฟ้าทะลายโจรแล้วนั้น ไม่ดีขึ้นภายในระยะเวลาสองวัน มีความจำเป็นต้องใช้ยาต้านไวรัส เพื่อป้องกันไม่ให้อาการหนักมากขึ้นจนกระทั่งถึงต้องเข้าโรงพยาบาล