8 ใน 10 กำลังประสบปัญหาสุขภาพจิต Gen Z รู้สึกโดดเดี่ยวที่สุด

28 ก.ค. 2565 | 06:13 น.
อัปเดตล่าสุด :28 ก.ค. 2565 | 13:23 น.

Minte เผยผู้บริโภคชาวไทยประมาณ 8 ใน 10 กำลังประสบปัญหาสุขภาพจิต โดย Gen Z คือกลุ่มวัย ที่รู้สึกโดดเดี่ยวที่สุด

งานวิจัยฉบับใหม่ของบริษัทวิจัยด้านการตลาดระดับโลก Mintel (มินเทล) ชี้ ผู้บริโภคชาวไทยประมาณ 8 ใน 10 ราย ต่างประสบปัญหาสุขภาพจิตในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา สามอันดับแรก คือ ความเครียด (46%) นอนไม่หลับ (32%) และวิตกกังวล (28%)

8 ใน 10 กำลังประสบปัญหาสุขภาพจิต  Gen Z รู้สึกโดดเดี่ยวที่สุด

สภาพจิตใจของคนไทยถดถอยลงจากผลกระทบที่ยืดเยื้อของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID-19) ซึ่งส่งผลให้พวกเขาเกิดความหงุดหงิดและความรู้สึกท้อแท้ นอกจากนี้ ผลการวิจัยยังพบว่า ผู้บริโภคแต่ละเพศ     และ  แต่ละช่วงวัยต่างเผชิญกับความท้าทายด้านสุขภาพจิตที่แตกต่างกัน

 

Gen Z คือกลุ่มวัยที่รู้สึกโดดเดี่ยวที่สุด

การทำงาน/การเรียน (48%) ส่งผลกระทบต่อผู้บริโภค Gen-Z โดยเฉพาะอายุระหว่าง 18-24 ปี โดยพบว่า ผู้บริโภคในกลุ่มวัยนี้จะรู้สึกโดดเดี่ยวที่สุด (38%) เมื่อเทียบกับคนรุ่นอื่นๆ** อาทิ กลุ่ม Millennials (26%) และ Gen X (15%) ที่มีอายุมากกว่า ทั้งนี้ แรงกดดันจากเพื่อน (33%) และโซเชียลมีเดีย (25%) ต่างเป็นปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดความท้าทายด้านสุขภาพจิตของพวกเขา

 

8 ใน 10 กำลังประสบปัญหาสุขภาพจิต  Gen Z รู้สึกโดดเดี่ยวที่สุด

“ตามข้อมูลจากงานวิจัยของเรา มากกว่าหนึ่งในสามของผู้บริโภคชาวไทยที่มีอายุน้อยกล่าวว่า พวกเขาขาดความมั่นใจในตนเอง และมีสภาวะทางจิตใจบางอย่าง เช่น การนับถือตนเองต่ำ อาการซึมเศร้า และความวิตกกังวล สภาวะเหล่านี้เกิดจากการสร้างภาพชีวิตที่ “สมบูรณ์แบบ” บนโซเชียลมีเดีย จากการได้เห็นบุคคลที่พวกเขาชื่นชอบ อินฟลูเอนเซอร์ หรือคนที่พวกเขารู้จักมีในสิ่งที่พวกเขาไม่มี ก่อให้เกิดความกดดันที่จะต้องใช้ชีวิตให้ได้ตามมาตรฐานที่ผู้อื่นวางไว้      แบรนด์ต่าง ๆ สามารถช่วยเหลือประชากรกลุ่มที่มีอายุน้อยนี้ได้ ด้วยแคมเปญ     ที่ผลักดันและส่งเสริมให้ผู้บริโภคเกิดความรู้สึกพึงพอใจในตนเอง” วิลาสิณี (ไข่มุก) ศิริบูรณ์พิพัฒนา นักวิเคราะห์อาวุโสด้านการวิจัยไลฟ์สไตล์ ประจำ Mintel Reports Thailand กล่าว

 

ผู้หญิงเครียดกว่าผู้ชาย

 

เกือบหนึ่งในสาม (31%) ของหญิงไทยที่มีอายุ 18-34 ปี กล่าวว่า พวกเขารู้สึกหมดไฟ เมื่อเทียบกับชายในวัยเดียวกัน (17%) ผู้หญิงให้ความสำคัญกับงาน/การศึกษาความไม่แน่นอนในการวางแผนอนาคต และสถานการณ์/ความรับผิดชอบทางการเงิน  จึงเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อสุขภาพจิตของผู้บริโภคกลุ่มนี้

 

“ผู้หญิงอายุ 18-34 ปี มีแนวโน้มที่จะต้องรับมือและรับผิดชอบกับงานบ้าน สร้างความมั่นคงในหน้าที่การงาน และคำนึงถึงการแต่งงานใช้ชีวิตคู่ ตามที่ระบุไว้ในงานวิจัยฉบับใหม่ของเราเกี่ยวกับไลฟ์สไตล์ของผู้หญิง พวกเธอต้องการที่จะรักษาสมดุลในชีวิตและมีสุขภาพที่ดี ทั้งทางกายและทางใจ แบรนด์ต่าง ๆ สามารถวางผู้บริโภคกลุ่มนี้เป็นเป้าหมายได้ โดยเฉพาะกลุ่มผู้หญิงที่มีไลฟ์สไตล์ที่ยุ่งหรือวุ่นวายตลอดเวลา ด้วยการนำเสนอผลิตภัณฑ์และการบริการที่จะช่วยบรรเทาความเครียดทางด้านจิตใจ และช่วยให้พวกเธอสามารถทำกิจกรรมเพื่อให้มีสุขภาพที่ดีได้” วิลาสิณี  กล่าวต่อ

การอดนอนส่งผลกระทบต่อคนทุกรุ่น

 

การวิจัยของ Mintel เผยให้เห็นว่า การนอนหลับล้วนส่งผลต่อคนไทยไม่ว่าจะอยู่ในช่วงอายุใด ซึ่งอาจเชื่อมโยงกับเหตุการณ์ในชีวิตที่มีความตึงเครียดได้ โดยสำหรับในช่วงวัยต่าง ๆ แล้ว ประมาณ 35% ของ Gen Z และ Millennial จะมีอาการนอนไม่หลับ ในขณะที่ Gen X อยู่ที่ 28%

 

ตรงกันข้ามกับสิ่งที่ผู้คนมักเชื่อกันการนอนไม่หลับส่งผลกระทบต่อคนทุกวัย ไม่ใช่แค่ผู้สูงอายุเท่านั้น ปัจจัยเหล่านี้อาจเกิดจากมาตรการการอยู่บ้านทำให้ผู้คนไม่สามารถแยกชีวิตส่วนตัวกับชีวิตการทำงานหรือการเรียนออกจากกันได้อย่างชัดเจน จนทำให้เกิดความเครียดและนอนไม่หลับมากขึ้น เนื่องจากคนไทยมีปัญหาด้านการนอนหลับ แบรนด์ต่าง ๆ จึงสามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีใหม่ ๆ เพื่อนำเสนอผลิตภัณฑ์หรือบริการที่สามารถตรวจจับรูปแบบการนอนและให้ประโยชน์ด้านสุขภาพอื่น ๆ ได้

 

ผู้บริโภคมองหาแบรนด์ที่จะมาช่วยแก้ปัญหาด้านสุขภาพจิต

 

แม้คนไทยจำนวนมากขึ้นจะประสบปัญหาสุขภาพจิต แต่ผู้บริโภคยังคงไม่สามารถเข้าถึงบริการและข้อมูลด้านสุขภาพจิตได้ ซึ่งคนไทยกว่า 3 ใน 4 (76%) รู้สึกเห็นด้วยว่าควรจะมีการพูดคุยเรื่องสุขภาพจิตในพื้นที่สาธารณะให้มากขึ้นกว่าเมื่อก่อน

 

“เนื่องจากข้อจำกัดทางสังคมและความรู้สึกเชิงลบเกี่ยวกับสุขภาพจิต เราจึงเห็นได้ว่า ผู้บริโภคต่างมีความคาดหวังสูงจากแบรนด์ในแง่ของการที่แบรนด์เหล่านั้นจะเข้ามาช่วยเหลือในเรื่องของสุขภาพจิต เมื่อพิจารณาถึงความละเอียดอ่อนของภาวะสุขภาพจิต แบรนด์ต่าง ๆ จำเป็นต้องแสดงออกถึงความเห็นอกเห็นใจ และเข้าใจความเป็นไปทางด้านจิตใจของผู้บริโภคอย่างแท้จริง

 

ทั้งนี้ ด้วยความที่โซเชียลมีเดียมีความสำคัญมากขึ้นเรื่อย ๆ ผู้บริโภคกว่า 3 ใน 4 เห็นด้วยว่า ช่องทางดังกล่าวเป็นช่องทางที่เหมาะสมในการส่งเสริมผลิตภัณฑ์หรือบริการที่เล็งเห็นถึงคุณค่าทางด้านจิตใจ ด้วยเหตุนี้ แบรนด์ที่มุ่งเน้นการให้ความรู้ผู้บริโภค แบรนด์ที่เข้ามามีบทบาทในการช่วยขจัดปัญหาสุขภาพจิต และแบรนด์ที่ส่งเสริมให้ผู้คนเข้ารับความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญ จะสามารถชนะใจผู้บริโภคได้”