เมื่อร่างกายเริ่มเข้าสู่วัยสูงอายุ เซลล์ชราคือต้นเหตุของการเจ็บป่วย เมื่อไม่นานมานี้หลายคนคงเคยได้เห็นความก้าวหน้าทางการแพทย์ของไทยไปอีกก้าวหนึ่ง คือข่าวการค้นพบโมเลกุลที่จะมาต้านเซลล์ชราครั้งแรกของโลก โดยทีมนักวิจัยจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ร่วมวิจัยร่วมกับบริษัท ปตท. จำกัด และบริษัท อินโนบิก (เอเซีย) จำกัด ที่มีชื่อเรียกว่า “โมเลกุลมณีแดง” หรือ RED-GEMs (REjuvenating DNA by GEnomic Stability Molecules)
โมเลกุลมณีแดงคืออะไร
“โมเลกุลมณีแดง” หรือ RED-GEMs คือการต่อยอดการค้นพบ "กลไกต้นน้ำของความชรา" โดยทั่วไปในดีเอ็นเอจะมีรอยแยก (youth-DNA-gap) อยู่บริเวณที่มีดีเอ็นเอแมดทิเลชัน (DNA methylation) มณีแดงจะทำหน้าที่เป็นกรรไกรเพื่อสร้างรอยแยกดีเอ็นเอเป็นที่มาของโมเลกุลมณีแดง ซึ่งจะมีบทบาทในการช่วยปกป้องดีเอ็นเอและแก้ไขความเสื่อมป้องกันความแก่ชราในดีเอ็นเอ
สาเหตุความเสื่อมของดีเอ็นเอ
โดยปกติดีเอ็นเอจะเป็นสารพันธุกรรมคู่ที่ขดเป็นเกลียว เมื่อมนุษย์มีอายุมากขึ้น รอยแยกดีเอ็นเอจะลดลง ทำให้เกิดแรงตึงทั่วสายของดีเอ็นเอ ดีเอ็นเอจึงไม่สามารถหมุนตัวได้อย่างปกติ จึงทำให้ถูกทำลายได้ง่าย หากเทียบกับคนวัยหนุ่มสาวดีเอ็นเอจะมีข้อต่อหรือรอยแยก (youth-DNA-gap) ซึ่งจะช่วยให้ดีเอ็นเอ สามารถยืดหยุ่นการคลายตัวและขดตัวได้ดี และเมื่ออายุมากขึ้นดีเอ็นเอยืดหยุ่นได้น้อยลง ก็จะพบรอยโรคในดีเอ็นเอของเซลล์ที่แก่ชราเยอะขึ้น ซึ่งรอยโรคดีเอ็นเอนั้น จะส่งสัญญาณให้เซลล์หยุดการแบ่งตัวตามปกติและเข้าสู่ความแก่ชรา ส่งผลให้เกิดโรคและอาจนำไปสู่การกลายพันธุ์และมะเร็งได้
ความก้าวหน้าการวิจัยและพัฒนา
โมเลกุลมณีแดง อยู่ในระหว่างการทดสอบในสัตว์ ได้แก่ หนู หมู ลิง มีผลดังนี้
สรรพคุณของมณีแดง
การวิจัยและค้นพบมณีแดงในครั้งนี้ จะช่วยตอบโจทย์การก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุของประเทศไทย ยกระดับคุณภาพชีวิตของคนสูงวัย รวมถึงเป็นความก้าวหน้าการแพทย์ที่จะช่วยให้ประเทศไทยสามารถต่อยอดสู่การเป็นศูนย์กลางบริการทางการแพทย์ของโลกได้