น.พ.เฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ (หมอเฉลิมชัย) รองประธานกรรมาธิการการสาธารณสุข วุฒิสภา โพสต์ blockdit ส่วนตัว "ร้อยแปดพันเก้ากับหมอเฉลิมชัย" โดยมีข้อความว่า
ผิดหวัง !! วัคซีนใหม่ชนิด 2 สายพันธุ์ ทั้ง Pfizer และ Moderna ดีขึ้นกว่าเดิมไม่มาก อย่างที่คาดหวังเอาไว้
เป็นที่ทราบกันดีว่า ไวรัสโคโรนาก่อโรคโควิดได้มีการกลายพันธุ์มาเป็นลำดับ
โดยเริ่มต้นด้วยไวรัสสายพันธุ์อู่ฮั่น และใน 11 เดือนต่อมา หลากหลายประเทศก็สามารถพัฒนาวัคซีนป้องกันโควิดได้
โดยใช้ไวรัสสายพันธุ์อู่ฮั่นเป็นตัวตั้งต้น และได้ผลดีมากอยู่ในระดับ ประสิทธิผล 70 ถึง 95%
อย่างไรก็ตาม โดยธรรมชาติของไวรัสก่อโรคโควิดที่เป็นสารพันธุกรรมเดี่ยว จึงมีการกลายพันธุ์อย่างรวดเร็วเป็นจำนวนมาก
กล่าวเฉพาะสายพันธุ์หลัก VOC : Variant of Concern ก็จะมี อัลฟ่า เบต้า แกมมา เดลต้า และโอมิครอน
ในที่สุดวัคซีนนั้น ก็ไม่สามารถจะเร่งวิจัยพัฒนาให้ทันกับสายพันธุ์ดังกล่าวได้
จนกระทั่งในช่วงปี 2565 ไวรัสสายพันธุ์โอมิครอน ได้เป็นสายพันธุ์หลักยืนอยู่ได้นานครบหนึ่งปี
จึงทำให้นักวิทยาศาสตร์มีเวลานานมากพอ ที่จะพัฒนาวัคซีนรุ่นที่สองชนิด 2 สายพันธุ์ขึ้นมาสำเร็จ
โดยเป็นการรวมสายพันธุ์อู่ฮั่นกับสายพันธุ์โอมิครอน สายพันธุ์ย่อย BA.4/5
ซึ่งในสหรัฐอเมริกา ได้นำมาเริ่มฉีดเมื่อสองสามเดือนก่อน และทาง USCDC ได้ทำการเก็บข้อมูลในช่วง 14 กันยายนถึง 11 พฤศจิกายน 2565 ในผู้รับวัคซีนจำนวน 360,000 คน
โดยวัคซีนชนิด 2 สายพันธุ์ดังกล่าว เป็นเทคโนโลยีเอ็มอาร์เอ็นเอ (mRNA) ของไฟเซอร์หรือโมเดินน่า
และฉีดให้กับผู้ที่เคยฉีดวัคซีนรุ่นเก่าชนิดหนึ่งสายพันธุ์มาแล้ว ไม่ว่าจะเป็นสองเข็ม สามเข็ม หรือสี่เข็ม
พบตัวเลขที่น่าสนใจว่า ยิ่งฉีดห่างจากวัคซีนเดิมมากเท่าไหร่ จะได้ภูมิคุ้มกันมากขึ้นเท่านั้น
และฉีดในคนวัยหนุ่มสาว จะได้ภูมิคุ้มกันสูงกว่าฉีดในผู้สูงอายุ
ตัวเลขคือ
ถ้าฉีดห่างจากวัคซีนเดิม 2-3 เดือน จะมีประสิทธิผลเพิ่มขึ้น 28-31% เมื่อเทียบกับไม่ได้ฉีดวัคซีนรุ่นใหม่
แต่ถ้าฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นรุ่นใหม่ห่างมากกว่า 8 เดือน จะได้ประสิทธิผลเพิ่มขึ้นเป็น 43-56%
43% ในอายุมากกว่า 65 ปี
48% ในคนอายุ 50-64 ปี
56% ในอายุ 18-49 ปี
กล่าวโดยสรุป