หลังจากเกิดเหตุสลด พนักงานฝ่ายจัดทำผังรายการทีวี ( TNN) วัย 40 กว่า ทำงานหนักอย่างต่อเนื่องจนฟุบเสียชีวิตคาโต๊ะทำงาน เมื่อวันที่ 5 ก.พ. 2566 นำมาสู่การตั้งคำถามถึงสวัสดิภาพในการทำงาน ตามกฎหมายแรงงาน การอยู่โยงเข้าเวรติดต่อกันโดยที่ผู้ปฏิบัติงานไม่ได้พักผ่อนเพียงพอ การไม่ให้สิทธิ์พนักงานได้ใช้วันหยุดและวันลาตามสมควร
เมื่อ "งานหนักทำให้คนตาย" และกรณีล่าสุดไม่ใช่การเกิดเหตุการณ์เสียชีวิตจากการทำงานหนักเป็นครั้งแรก โดยก่อนหน้านี้ เคยมีกรณี พนักงานโรงงานของบริษัทแห่งหนึ่ง วัย 30ปี เสียชีวิตจากภาวะหัวใจวาย เพราะพักผ่อนน้อยจากการทำงานหนัก หรือเหตุ พยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ จ.เชียงราย ที่เกิดอาการวูบเนื่องจากการดูแลคนไข้ ในช่วง โควิด – 19 ระบาดหนัก จนเสียชีวิตในท้ายที่สุด
แม้ชีวิตต้องสู้เพียงใด แต่ทุกคนควรใส่ใจสุขภาพกันให้มาก ฐานเศรษฐกิจพามาเช็ครายชื่อโรคประจำตัว ที่ควรทำงานหนัก เพราะอาจเสี่ยงสูงต่อการเสียชีวิตได้
6 โรคไม่ควรทำงานหนัก
โรคหัวใจ มักเกิดขึ้นกับคนวัยทำงาน เพราะคนวัยทำงานมีการดำเนินชีวิตที่ต้องทำงานหนัก พักผ่อนน้อย เกิดจากปัจจัยต่างๆทั้ง อายุที่มากขึ้น การสูบบุหรี่ การพักผ่อนน้อย ความเครียด สามารถทำให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลว และหัวใจวายได้
ทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยอองเชร์ ร่วมกับสถาบันวิจัยสุขภาพและการแพทย์แห่งชาติฝรั่งเศสพบว่า การทำงานเกิน 10 ชม. อย่างน้อย 50 วันต่อปี ทำให้เพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งเป็นภาวะที่สมองขาดเลือด ส่งผลให้เนื้อเยื่อในสมองถูกทำลาย และทำให้การทำงานของสมองหยุดชะงัก
การที่พนักงานออฟฟิศส่วนใหญ่ต้องเผชิญกับความกดดันอยู่บ่อยครั้ง เป็นสาเหตุสำคัญของโรคหลอดเลือดสมอง อัมพฤกษ์ อัมพาต ไตวาย องค์การอนามัยโลกได้คาดการณ์ว่าในปี พ.ศ. 2568 จะมีผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงเพิ่มขึ้นเป็น 1.56 พันล้านคน
จากข้อมูลทางสถิติ โรคปลอกประสาทอักเสบเป็นโรคใกล้ตัวหญิงวัยทำงาน โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุ 20 – 40 ปี หากเป็นมากจะสูญเสียการเคลื่อนไหวของร่างกายจนอาจเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาตได้
โรคดังกล่าวเป็นภัยเงียบที่หนุ่มสาววัยทำงาน เกิดได้จากหลายสาเหตุ ทั้งจากความเครียด การรับประทานอาหารตอนดึกแล้วเข้านอน การทานอาหารรสจัด หรือทานอาหารไม่เป็นเวลา หากไม่ได้รับการรักษา จะทำให้กลายเป็น กรดไหลย้อนเรื้อรัง นำมาสู่ความเสี่ยงที่จะเกิด แผลในกระเพาะอาหาร การอักเสบและติดเชื้อ กลายเป็นมะเร็งกระเพาะอาหาร หรือ มะเร็งหลอดอาหารได้
เป็นโรคที่เมื่อเกิดภาวะติดเชื้อแล้วจะมีความเสี่ยงเสียชีวิตได้มากกว่าคนปกติ เนื่องจากผู้ป่วยโรคเบาหวาน มักจะมีโรคร่วมอื่นๆ เช่น โรคหัวใจ โรคไต โรคหลอดเลือด และโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) อัมพาต-อัมพฤกษ์ การทำงานหนัก จนไม่มีเวลาดูแลตนเอง โดยเฉพาะการรับประทานอาหาร จึงเพิ่มความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตจากโรคนี้