5 ข้อ ยุทธศาสตร์ฟ้าใส  แก้ปัญหา PM2.5 หมอกควันข้ามแดนของสามประเทศ

09 เม.ย. 2566 | 06:37 น.
อัปเดตล่าสุด :09 เม.ย. 2566 | 07:10 น.

5 ข้อ ยุทธศาสตร์ฟ้าใส  แก้ปัญหาหมอกควันข้ามแดนของสามประเทศ  บิ๊กตู่ นายกรัฐมนตรี เจ้าภาพชวนผู้นำ สปป.ลาว เมียนมา ถกปัญหาหมอกควันข้ามแดน - PM2.5

 

 

วิกฤตมลพิษจากหมอกควันและฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5  ลุกลามทั่วประเทศโดยเฉพาะพื้นที่จังหวัดภาคเหนือ  และ ไม่ใช่เพียงผลกระทบภายในประเทศ แต่ยังรวมถึง ประเทศเพื่อนบ้านที่ต้องเผชิญปัญหาดังกล่าวที่รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหาทางออกร่วมกันกับประเทศบ้านพี่เมืองดังกล่าว 

ล่าสุด พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นเจ้าภาพการประชุมระดับผู้นำ3ฝ่ายระหว่างไทย–สปป.ลาว–เมียนมา ผ่านระบบการประชุมทางไกล เพื่อหารือแนวทางการจัดการปัญหามลพิษจากหมอกควันข้ามแดนร่วมกัน โดยมีนายสอนไซ สีพันดอน นายกรัฐมนตรี สปป.ลาว และพลเอกอาวุโส มิน ออง ไลน์ 

 นายกรัฐมนตรีเมียนมา เข้าร่วมการประชุม ซึ่งที่ประชุมรับทราบสถานการณ์มลพิษจากหมอกควันข้ามแดนในภูมิภาค และแลกเปลี่ยนข้อมูลและประสบการณ์เกี่ยวกับการจัดการปัญหามลพิษจากหมอกควันข้ามแดน รวมถึงแนวทางแก้ปัญหาอย่างเร่งด่วนและยั่งยืน เมื่อไม่นานมานี้

 

 

นายกรัฐมนตรี ได้เสนอ “ยุทธศาสตร์ฟ้าใส (CLEAR Sky Strategy)” เพื่อแก้ไขปัญหามลพิษจากหมอกควันข้ามแดนที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ประกอบด้วย

1. C (Continued Commitment) มุ่งปฏิบัติตามเป้าหมายในการลดจุดความร้อนตามแผนปฏิบัติการเชียงราย ค.ศ. 2017

2. L (Leveraging Mechanisms) ไทยจะส่งเสริมความร่วมมือทุกระดับ ผ่านกลไกคณะกรรมการชายแดนที่เกี่ยวข้อง อีกทั้งจะหยิบยกประเด็นดังกล่าวในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 42 ในเดือนพฤษภาคม 2566 ที่อินโดนีเซียด้วย

3. E (Experience Sharing) การแลกเปลี่ยนข้อมูลและประสบการณ์ เพื่อควบคุมปัญหามลพิษหมอกควันข้ามแดน

4. A (Air Quality Network) ส่งเสริมความร่วมมือเครือข่ายการตรวจวัดคุณภาพอากาศของประเทศในอนุภูมิภาค

5. R (Effective Response) นายกรัฐมนตรี เสนอให้เจ้าหน้าที่อาวุโสของทั้งสามประเทศประชุมหารือในบ่ายวันเดียวกัน เพื่อต่อยอดผลของการประชุมระดับผู้นำ

 

โดยการประชุมผู้นำสามฝ่ายครั้งนี้ เป็นข้อริเริ่มของกระทรวงการต่างประเทศและกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของไทย ซึ่งเสนอให้ผู้นำทั้งสามประเทศหารือแนวทางแก้ไขปัญหามลพิษหมอกควันข้ามแดน เนื่องจากเป็นปัญหาเร่งด่วนที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพและความเป็นอยู่ของประชาชนในวงกว้างจำเป็นต้องได้รับการแก้ไขอย่างรวดเร็วด้วยความร่วมมือระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง

ขณะเดียวกัน  นายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มอบหมายให้ นางชญานันท์ ภักดีจิตต์ รองปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นประธานการประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสของทั้งสามประเทศ

โดยมีนายปิ่นสักก์ สุรัสวดี อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ นางสาวอุศณา พีรานนท์ อธิบดีกรมอาเซียน และผู้แทนจากกรมเอเชียตะวันออก เป็นผู้แทนประเทศไทย เข้าร่วมการประชุมฯ ณ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และการประชุมผ่านระบบออนไลน์ร่วมกับ ผู้แทน สปป.ลาว และเมียนมา

ทั้ง 3 ประเทศ ตกลงร่วมกันที่จะร่วมกันขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ฟ้าใส โดยจะจัดทำแผนปฏิบัติการร่วม ไทย ลาว เมียนร์มา เพื่อแก้ไขปัญหามลพิษจากหมอกควันข้ามแดน โดยประเทศไทยพร้อมจะให้การสนับสนุนองค์ความรู้ด้านวิชาการ ในการใช้เทคโนโลยีดาวเทียมติดตามตรวจวัดจุดความร้อน และการใช้ประโยชน์ที่ดิน รวมถึงถ่ายทอดประสบการณ์ในการบริหารจัดการเกษตรในพื้นที่สูง ต่อลาว เมียนร์มา ต่อไป

อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ(คพ.)