ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๗ เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่ ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการให้บริการรักษาพยาบาลเป็นเงินเชื่อ พ.ศ. ๒๕๖๗
โดยที่เป็นการสมควรกําหนดระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการให้บริการรักษาพยาบาล
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๔๙ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ ประกอบกับข้อ 5 และข้อ ๓๔ แห่งข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง วิธีการงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๓ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร จึงกําหนดระเบียบขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการให้บริการรักษาพยาบาล เป็นเงินเชื่อ พ.ศ. ๒๕๖๗”
ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ บรรดาข้อบังคับ ระเบียบ หรือคําสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้กําหนดไว้แล้วในระเบียบนี้หรือ ซึ่งขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน
ข้อ ๔ ในระเบียบนี้
“การรักษาพยาบาล” หมายความว่า การให้บริการด้านการแพทย์และสาธารณสุขแก่พนักงาน และบุคคลในครอบครัวของพนักงาน เพื่อการรักษาโรค การตรวจวินิจฉัย การฟื้นฟูสมรรถภาพที่จําเป็น ต่อสุขภาพและการดํารงชีวิต และให้หมายความรวมถึงการตรวจสุขภาพ การสร้างเสริมสุขภาพและ การป้องกันโรคเพื่อประโยชน์ด้านสาธารณสุข ภายใต้เงื่อนไขความคุ้มครองของผู้รับบริการ “ค่ารักษาพยาบาล” หมายความว่า เงินที่หน่วยบริการเรียกเก็บในการรักษาพยาบาล “หน่วยงาน” หมายความว่า สํานักการแพทย์หรือสํานักอนามัย
“หน่วยบริการ” หมายความว่า ส่วนราชการในสังกัดสํานักการแพทย์หรือสํานักอนามัย “หัวหน้าหน่วยงาน” หมายความว่า ผู้อํานวยการสํานักการแพทย์หรือผู้อํานวยการสํานักอนามัย
“หัวหน้าหน่วยบริการ” หมายความว่า หัวหน้าส่วนราชการในสังกัดสํานักการแพทย์หรือสํานักอนามัย
“ผู้รับบริการ” หมายความว่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกประเภทที่มีกฎหมายกําหนด องค์การของรัฐ รัฐวิสาหกิจ บริษัท หรือห้างหุ้นส่วนที่มีฐานะเป็นนิติบุคคลซึ่งได้จดทะเบียนก่อตั้งขึ้น ตามกฎหมายในประเทศไทย
“พนักงาน” หมายความว่า พนักงาน หรือลูกจ้าง หรือตําแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่นของ ผู้รับบริการ และให้หมายความรวมถึงบุคคลในครอบครัวด้วย
“ผู้เอาประกันภัย” หมายความว่า ผู้ซึ่งทําสัญญาประกันภัยกับบริษัทประกันภัย
“บุคคลในครอบครัว” หมายความว่า
(๑) บุตรชอบด้วยกฎหมายของพนักงานซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะ หรือบรรลุนิติภาวะแล้วแต่เป็น คนไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถซึ่งอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของพนักงาน แต่ทั้งนี้ ไม่รวมถึงบุตรบุญธรรมหรือบุตรซึ่งได้ยกให้เป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลอื่น
(๒) คู่สมรสที่ชอบด้วยกฎหมายของพนักงาน
(๓) บิดาหรือมารดาที่ชอบด้วยกฎหมายของพนักงาน
ข้อ ๕ ในกรณีที่ผู้รับบริการมีความประสงค์ให้หน่วยบริการให้การรักษาพยาบาลแก่พนักงานเป็นเงินเชื่อ โดยให้หน่วยบริการเรียกเก็บค่ารักษาพยาบาลจากผู้รับบริการโดยตรง ให้ผู้รับบริการยื่นคําขอ ต่อหัวหน้าหน่วยบริการนั้นตามแบบ รช. ๑ ท้ายระเบียบนี้ แต่ในกรณีที่ผู้รับบริการเป็นองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น องค์การของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ จะใช้หนังสือขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์การของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจนั้น เป็นคําขอรับบริการรักษาพยาบาลเป็นเงินเชื่อก็ได้
ในกรณีที่ผู้รับบริการเป็นบริษัทประกันภัยมีความประสงค์ให้หน่วยบริการให้การรักษาพยาบาล แก่ผู้เอาประกันภัยที่ทําสัญญาประกันภัยไว้กับบริษัทประกันภัยโดยผู้เอาประกันภัยไม่ต้องสํารองจ่ายค่ารักษาพยาบาล และให้หน่วยบริการเรียกเก็บค่ารักษาพยาบาลจากบริษัทประกันภัยโดยตรงให้ผู้รับบริการยื่นคําขอต่อหัวหน้าหน่วยบริการนั้นตามแบบ รช. ๑ ท้ายระเบียบนี้
ข้อ ๖ เมื่อหัวหน้าหน่วยบริการได้รับคําขอตามข้อ ๕ แล้ว ให้หัวหน้าหน่วยบริการเสนอ ความเห็นต่อผู้บังคับบัญชาตามลําดับชั้นจนถึงหัวหน้าหน่วยงานเพื่อพิจารณา
หัวหน้าหน่วยงานจะอนุญาตให้หน่วยบริการให้บริการรักษาพยาบาลเป็นเงินเชื่อได้ต่อเมื่อ ผู้รับบริการได้ทําสัญญาตามแบบ รช. ๒ ท้ายระเบียบนี้แล้ว
ข้อ ๗ เมื่อหัวหน้าหน่วยงานอนุญาตให้หน่วยบริการให้บริการรักษาพยาบาลแก่ผู้รับบริการ เป็นเงินเชื่อแล้ว ให้หัวหน้าหน่วยงานลงนามในสัญญาตามแบบ รช. ๒ ท้ายระเบียบนี้
ข้อ ๘ การให้บริการรักษาพยาบาลเป็นเงินเชื่อตามระเบียบนี้ ไม่ก่อให้เกิดสิทธิพิเศษ แก่ผู้รับบริการ รวมตลอดถึงพนักงานและผู้เอาประกันภัยแต่อย่างใด
ข้อ ๙ ให้หน่วยบริการให้บริการรักษาพยาบาลแก่พนักงานและผู้เอาประกันภัยเป็นเงินเชื่อ เมื่อผู้รับบริการมีหลักฐานยืนยันสิทธิความคุ้มครองของพนักงานหรือผู้เอาประกันภัยแล้ว
ข้อ ๑๐ ให้หน่วยบริการจัดทําทะเบียนควบคุมหนี้ค่ารักษาพยาบาลที่ให้เป็นเงินเชื่อแก่ผู้รับบริการ ไว้โดยเฉพาะ
ข้อ ๑๑ เมื่อหน่วยบริการให้บริการรักษาพยาบาลแก่พนักงาน หรือผู้เอาประกันภัยเป็นเงินเชื่อแล้ว ให้ผู้รับบริการชําระค่ารักษาพยาบาลให้แก่หน่วยบริการเป็นเงินสด หรือเช็ค หรือชําระผ่านธนาคาร สถาบันการเงิน นิติบุคคลอื่นที่ได้รับอนุญาต ให้ดําเนินการธุรกิจในลักษณะธุรกิจการบริการรับชําระหนี้แทน หรือด้วยเครื่องฝาก ถอนเงินสดอัตโนมัติ หรือชําระทางระบบอิเล็กทรอนิกส์หรืออินเทอร์เน็ต หรือระบบอื่น ๆ ตามที่กรุงเทพมหานครกําหนด
ข้อ ๑๒ การดําเนินการตามระเบียบนี้ หัวหน้าหน่วยงานจะมอบอํานาจให้แก่หัวหน้าหน่วยบริการเป็นผู้ทําการแทนก็ได้
ข้อ ๑๓ ให้หัวหน้าหน่วยบริการกําหนดวิธีปฏิบัติในการให้บริการรักษาพยาบาลเป็นเงินเชื่อได้ และให้แนบเป็นเอกสารแนบท้ายของสัญญาที่ได้ทําขึ้นด้วย โดยไม่ขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้
ข้อ ๑๔ ในกรณีที่มีเหตุพิเศษสมควรปฏิบัติเป็นอย่างอื่น หรือที่ไม่มีกําหนดไว้ในระเบียบนี้ ให้เสนอผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครพิจารณาสั่งการเป็นกรณี ๆ ไป
ข้อ ๑๕ ให้ปลัดกรุงเทพมหานครรักษาการตามระเบียบนี้
ประกาศ ณ วันที่ ๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๗
ชัชชาติ สิทธิพันธุ์
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
คลิกดูเพิ่มเติมจากราชกิจจานุเบกษา
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับโรงพยาบาล ในสังกัดสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย
1. โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์
2. โรงพยาบาลกลาง
3. โรงพยาบาลตากสิน
4. โรงพยาบาลสิรินธร
5. โรงพยาบาลราชพิพัฒน์
6. โรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ ชุตินฺธโร อุทิศ
7. โรงพยาบาลเวชการุณย์รัศมิ์
8. โรงพยาบาลลาดกระบังกรุงเทพมหานคร
9. โรงพยาบาลผู้สูงอายุบางขุนเทียน
10. โรงพยาบาลคลองสามวา
11. โรงพยาบาลบางนากรุงเทพมหานคร