วันที่ 15 มิถุนายน ของทุกปีถูกกำหนดให้วันเป็น "วันไข้เลือดออกอาเซียน" (ASEAN Dengue Day) เพื่อรณรงค์ให้ประชาชนในประเทศตระหนักในการป้องกันโรคและร่วมกันแก้ปัญหา ลดความเสี่ยงของการเกิดโรคนี้
1.ระบาดทุกที่ไม่ใช่แค่ในเมือง
เนื่องจากสาเหตุของไข้เลือดออก คือ ยุงลาย ดังนั้น การจำกัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายภายในบริเวณบ้าน เช่น แหล่งน้ำขัง หรือ บริเวณที่รก เป็นต้น
2.ไม่มียารักษาแบบเฉพาะเจาะจง
ปัจจุบันยังไม่มียาฆ่าเชื้อหรือยาต้านเชื้อ การรักษาเป็นการรักษาแบบประคับประคองตามอาการ
3.เป็นซ้ำได้และเสี่ยงที่จะรุนแรงขึ้น
ไข้เลือดออกมีทั้งหมด 4 สายพันธุ์ (DENV 1-4) เมื่อเป็นสายพันธุ์ใดแล้วก็จะมีภูมิคุ้มกันต่อสายพันธุ์นั้น ๆ ตลอดชีวิต แต่สามารถติดสายพันธุ์อื่น ๆ ได้อีก และเพิ่มความเสี่ยงในการทำให้โรคมีความรุนแรง
4.เป็นได้ทุกช่วงอายุ แข็งแรง หรือมีโรคประจำตัวก็เป็นได้
5.โรคไข้เลือดออกมี 3 ระยะ
ระยะไข้ :
ผู้ป่วยจะมีไข้สูงเกือบตลอดเวลา เด็กบางคนอาจชักเนื่องจากไข้สูง เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง มักมีหน้าแดง และอาจมีผื่นหรือจุดเลือดออกตามลำตัว แขน ขา ระยะนี้จะเป็นอยู่ราว 2-7 วัน
ระยะช็อค :
ระยะนี้ไข้จะเริ่มลดลง ผู้ป่วยจะซึม เหงื่อออก มือเท้าเย็น ชีพจรเต้นเบาแต่เร็ว ปวดท้อง อาจมีเลือดออกง่าย เช่น มีเลือดกำเดาไหล อาเจียนเป็นเดลือด อุจจาระมีสีดำ ในรายที่รุนแรงจะมีความดันโลหิตต่ำ ช็อค และอาจถึงเสียชีวิตได้ ระยะนี้กินเวลาประมาณ 1-2 วัน
ระยะฟื้นตัว :
อาการต่าง ๆ จะเริ่มดีขึ้น ผู้ป่วยรู้สึกอยากรับประทานอาหารได้ตามปกติ บางรายอาจมีผื่นแดงและมีจุดเลือดออกเล็ก ๆ ตามลำตัว
ปี 2562 พบผู้ป่วย จำนวน 33,263 ราย เสียชีวิต 55 ราย
ปี 2563 พบผู้ป่วย จำนวน 19,462 ราย เสียชีวิต 13 ราย
ปี 2564 พบผู้ป่วย จำนวน 4,299 ราย เสียชีวิต 3 ราย
ปี 2565 พบผู้ป่วย จำนวน 5,199 ราย เสียชีวิต 6 ราย
ปี 2566 พบผู้ป่วย จำนวน 156,097 ราย เสียชีวิต 175 ราย
ปี 2567 พบผู้ป่วย จำนวน 26,511 ราย ผู้เสียชีวิตจำนวน 29 ราย (ข้อมูล ณ วันที่ 1 พ.ค. 67) ทั้งนี้ หากดูจากตัวเลขปีนี้พบว่า สูงกว่าปีที่ผ่านมา ณ ช่วงเวลาเดียวกัน 1.6 เท่า
3 เก็บ ป้องกัน 3 โรค และ 7 ร.
-เก็บบ้าน ให้สะอาดไม่ให้ยุงลายเข้ามาเกาะพัก
-เก็บภาชนะ กักเก็บน้ำให้มิดชิดเพื่อป้องกันยุงลายลงไปวางไข่
-เก็บขยะ ภายในบริเวณบ้าน โรงเรียน และวัด เช่น ขวด กระป๋อง ให้เรียบร้อยไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายจะสามารถ "ป้องกัน" โรคติดต่อนำโดยยุงลาย ได้ ได้แก่
ปรับปรุงสิ่งแวดล้อม หรือ ทำกิจกรรม BIG CLEANING DAY เพื่อพัฒนาสิ่งแวดล้อม สถานที่ ให้ปลอดโปร่ง สะอาด ไม่ให้เป็นที่เกาะพักของยุง
ทั้งนี้ กรมควบคุมโรคได้กำหนดเป้าหมายในการดำเนินการป้องกันควบคุมโรคติดต่อนำโดยยุงลาย 7 สถานที่ หรือ 7ร. ได้แก่
ที่มา: กรมควบคุมโรค, รพ.เวชศาสตร์เขตร้อน คณะเวชศาสตร์เขตร้อนมหาวิทยาลัยมหิดล