ภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือ บัตรทอง 30 บาท ได้ให้ความสำคัญต่อบริการทันตกรรมในการดูแลสุขภาพช่องปากให้กับคนไทยทุกคนโดยครอบคลุมทั้งบริการป้องกัน การรักษาพยาบาลและการฟื้นฟูสุขภาพในช่องปากให้กับทุกกลุ่มวัย
ทพ.อรรถพร ลิ้มปัญญาเลิศ รองเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เปิดเผยว่า จากข้อมูลการรับบริการทันตกรรมปีงบประมาณ 2566 เมื่อเปรียบเทียบย้อนหลัง 4 ปี ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2562-2565 พบว่า
ทั้งนี้ ในช่วง 2 ปี คือปีงบประมาณ 2564-2565 ที่มีจำนวนการเข้ารับบริการทันตกรรมลดลง เนื่องจากเป็นผลจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 แต่ในปีถัดมาจำนวนการรับบริการได้เพิ่มสูงขึ้นถึงกว่า 4 ล้านครั้ง เพื่อให้คนไทยเข้าถึงบริการทันตกรรมโดยใช้สิทธิบัตรทองเพิ่มขึ้น
นอกจากการเข้าถึงบริการทันตกรรมที่โรงพยาบาลแล้ว ปี 2567 สปสช.ได้เพิ่มเติมการให้บริการที่คลินิกทันตกรรมเอกชน 1 ใน 7 หน่วยนวัตกรรมบริการสาธารณสุขในระบบบัตรทอง โดยร่วมมือกับทันตแพทยสภาและเป็นการดำเนินการตามนโยบาย "30 บาทรักษาทุกที่" ของรัฐบาล
ปัจจุบันมีคลินิกทันตกรรมเอกชนขึ้นทะเบียนกับ สปสช. เป็นหน่วยนวัตกรรมบริการจำนวน 1,248 แห่ง ที่ผ่านมาร่วมให้บริการประชาชนแล้วจำนวน 230,152 คน เป็นจำนวน 445,364 ครั้ง (ข้อมูล 30 ต.ค. 67)
สำหรับบริการทันตกรรมในระบบบัตรทองที่คลินิกทันตกรรม ให้บริการดูแลสุขภาพช่องปากเบื้องต้น 6 รายการ ได้แก่
1.ตรวจสุขภาพช่องปาก
2.ขูดหินปูน
3.อุดฟัน
4.ถอนฟัน
5.เคลือบหลุมร่องฟัน
6.เคลือบฟลูออไรด์
โดยผู้ป่วยสามารถเข้ารับบริการได้คนละ 3 ครั้งต่อปี เมื่อใช้สิทธิครบแล้วผู้ป่วยสามารถเข้ารับบริการเพิ่มเติมได้ที่โรงพยาบาลตามสิทธิ ส่วนผู้ป่วยที่มีความจำเป็นต้องรับบริการทันตกรรมที่อยู่นอก 6 รายการนี้ สามารถเข้ารับบริการที่หน่วยบริการตามสิทธิได้
ตรวจสอบรายชื่อหน่วยบริการเอกชนที่เข้าร่วม 30 รักษาทุกที่ คลิกที่ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ