รู้จัก "วัคซีนโควิดรุ่นใหม่ชนิด 2 สายพันธุ์" ก่อนเข้าไทยปลาย ก.พ.

13 ก.พ. 2566 | 04:37 น.
อัปเดตล่าสุด :13 ก.พ. 2566 | 04:38 น.

รู้จัก "วัคซีนโควิดรุ่นใหม่ชนิด 2 สายพันธุ์" ก่อนเข้าไทยปลาย ก.พ. หลัง ครม. เห็นชอบวัคซีนที่เกาหลีใต้บริจาครุ่นที่สองให้ไทยกลางเดือนม.ค. 66

"วัคซีนโควิด" รุ่นใหม่จะเป็นชนิด 2 สายพันธุ์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันเชื้อโควิดกลายพันธุ์

อย่างไรก็ดี ความรู้ความทเข้าในเรื่อวัคซีนชนิด 2 สายพันธุ์อาจจะยังมีไม่มากนักสำหรับประชาชนไทย

น.พ.เฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ (หมอเฉลิมชัย) รองประธานกรรมาธิการการสาธารณสุข วุฒิสภา โพสต์ blockdit ส่วนตัว "ร้อยแปดพันเก้ากับหมอเฉลิมชัย" โดยมีข้อความว่า

จากการให้สัมภาษณ์ของรองอธิบดีกรมควบคุมโรค ได้แจ้งให้สาธารณะทราบว่า

ไทยยังคงใช้วัคซีนรุ่นเดิมหรือชนิดหนึ่งสายพันธุ์เป็นวัคซีนหลักของประเทศในการฉีดเข็มกระตุ้น ซึ่งเป็นของ Pfizer และ Astra

ในขณะเดียวกัน คณะรัฐมนตรี (ครม.) ก็ได้เห็นชอบกับวัคซีนที่ทางเกาหลีใต้จะบริจาครุ่นที่สองหรือรุ่น 2 สายพันธุ์ให้กับประเทศไทยเมื่อกลางเดือนมกราคม 2566 

คาดว่า "วัคซีนชนิด 2 สายพันธุ์" ดังกล่าวจะเข้าสู่ประเทศไทยปลายเดือนกุมภาพันธ์ 2566 นี้

หมอเฉลิมชัย บอกอีกว่า ความรู้ความเข้าใจเรื่องวัคซีนโควิดรุ่น 2 สายพันธุ์ จึงมีความสำคัญสำหรับผู้ที่กำลังรอจะฉีดเข็มกระตุ้นกล่าวคือ


วัคซีนโควิดรุ่นใหม่ชนิด 2 สายพันธุ์เข้าไทยปลายเดือน ก.พ.

  • มีวัคซีนสองบริษัท ที่ได้รับการจดทะเบียนรุ่นที่สองหรือ 2 สายพันธุ์ คือ Pfizer และ Moderna
  • วัคซีนชนิด 2 สายพันธุ์ เป็นการรวมกันของสายพันธุ์อู่ฮั่นเดิม กับสายพันธุ์โอมิครอน
  • วัคซีนของ Moderna สายพันธุ์โอมิครอนที่ใช้เป็นสายพันธุ์ย่อย BA.1
  • วัคซีนของ Pfizer สายพันธุ์โอมิครอนสายพันธุ์ย่อยที่ใช้เป็น BA.5
  • ปัจจุบันนี้ไวรัส BA.1 และ BA.5 ไม่ใช่สายพันธุ์หลักของโลกอีกต่อไป ได้กลายไปเป็น BA.2.75 และ XBB.1.5 แล้ว
  • ทำให้วัคซีนชนิด 2 สายพันธุ์แม้จะมีความทันสมัยขึ้นมากกว่าวัคซีนชนิดหนึ่งสายพันธุ์ แต่ประสิทธิผลก็ดีขึ้นไม่มากนัก เพราะสายพันธุ์โอมิครอนที่ผสมอยู่ในวัคซีนไม่ตรงกับสายพันธุ์ที่กำลังเป็นหลักอยู่ในขณะนี้

ดังนั้นผู้ที่กำลังรอจะฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้น เมื่อครบกำหนดและมีความเสี่ยง ก็ให้สามารถฉีดวัคซีนในรุ่นเดิมหรือรุ่นหนึ่งสายพันธุ์ได้เลย โดยไม่ต้องรอวัคซีนรุ่นหนึ่งสายพันธุ์แต่อย่างใด