กรมอุตุนิยมวิทยา ประกาศประเทศไทยเข้าสู่ฤดูร้อนอย่างเป็นทางการแล้วทำให้ในช่วงกลางวันหลายจังหวัดมีสภาพอากาศร้อนจัดซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพประชาชนได้ โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง เช่น เด็ก ผู้สูงอายุ ผู้ที่มีโรคประจำตัว หรือผู้ที่ต้องทำงานกลางแจ้งเกิดอาการเพลียแดดหรืออาจรุนแรงถึงขั้นเป็น "โรคลมแดด" หรือ "ฮีทสโตรก" ได้
นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า การวินิจฉัยว่าเป็นโรคฮีทสโตรกนั้นสามารถสังเกตอาการได้ ดังนี้
1.มีอุณหภูมิร่างกายสูง 40.5 องศาเซลเซียสขึ้นไป
2.มีอาการผิดปกติทางสมอง เช่น สับสน เพ้อ เวียนศีรษะ ตอบสนองช้า หรือชัก
3.อยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีอากาศร้อน
ทั้งนี้ อาการดังกล่าวจะเกิดขึ้นแบบค่อยเป็นค่อยไปและใช้ระยะเวลาจนเกิดอาการผิดปกติและส่วนใหญ่การเสียชีวิตมักจะมีปัจจัยร่วมกับโรคอื่น ๆ ด้วย เช่น โรคหัวใจหรือภาวะความดันโลหิตสูง
ทั้งนี้ สำหรับสภาพอากาศที่ร้อนเกิน 41 องศาเซลเซียสจัดอยู่ในระดับอันตราย อาจทำให้มีอาการตะคริวที่น่อง ต้นขา หน้าท้อง หรือไหล่ ทำให้ปวดเกร็ง มีอาการเพลียแดด และอาจเกิดภาวะฮีทสโตรกได้ซึ่งจากข้อมูลพยากรณ์ค่าดัชนีความร้อนสูงสุด ของกรมอุตุนิยมวิทยา ระบุว่า
วันที่ 5 เมษายน 2566
วันที่ 6 เมษายน 2566
คำแนะนำในการดูแลสุขภาพ
ขอให้ดื่มน้ำสะอาดบ่อย ๆ ไม่ต้องรอให้กระหายน้ำ
หลีกเลี่ยงชา กาแฟ น้ำอัดลม และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
หลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมกลางแจ้ง
หากต้องทำงานกลางแจ้งควรทำงานเป็นกลุ่ม และเมื่อเกิดอาการผิดปกติ เช่น หน้ามืด เวียนศีรษะ ปวดศีรษะ คลื่นไส้ หายใจเร็ว ให้รีบแจ้งบุคคลที่อยู่ใกล้เพื่อช่วยปฐมพยาบาลทันที
นอกจากอุณหภูมิที่ร้อนจัดต้องระมัดระวังเรื่องของ รังสีอัลตราไวโอเลต (ยูวี) ด้วยซึ่งจากข้อมูลกรมอุตุนิยมวิทยา พบว่า ช่วงวันที่ 3-9 เมษายน 2566 กรณีท้องฟ้าโปร่งเวลา 12.00 น. มี 25 จังหวัดที่มีค่าดัชนียูวีอยู่ในระดับสูงจัด (มากกว่า 11 ขึ้นไป) ซึ่งจะทำให้เกิดผิวหนังเกรียมแดด (Sun Burn) ส่งผลเสียต่อดวงตาได้ในเวลาไม่กี่นาที และระยะยาวจะทำลาย DNA ได้แก่
จึงขอให้หลีกเลี่ยงการออกแดดโดยเฉพาะช่วงเวลา 09.00-15.00 น. หากจำเป็นควรใช้เวลาให้น้อยที่สุด สวมเสื้อผ้าสีอ่อน ระบายความร้อนได้ดี สวมหมวกปีกกว้าง แว่นกันแดด และทาครีมกันแดด