เพจเฟซบุ๊ก "Center for Medical Genomics" โดย ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ ร.พ.รามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล โพสต์ข้อมูลว่า แม้จำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 ทั่วโลกจะลดลงอย่างมีนัยสำคัญ แต่ตระกูลโอมิครอนยังมีการกลายพันธุ์แพร่ระบาดอย่างต่อเนื่อง
ทั้งนี้ ที่เด่นชัดมี 3 กลุ่ม ได้แก่
โดยกลุ่มโอมิครอน XBB.1.5 ลดจำนวนลงอย่างต่อเนื่อง ประเมินว่าจะถูกแทนที่โดย กลุ่ม XBB.1.16 และ XBB.1.9.1 ที่พบระบาดมากที่สุดในอินเดีย และมีการกระจายไปทั่วโลก ส่วนในอาเซียนพบในสิงคโปร์และไทย
ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ ติดตามการกลายพันธุ์ในระดับจีโนมของไวรัสโคโรนา 2019 ทั้งในไทยและทั่วโลกจากการถอดรหัสพันธุกรรมทั้งจีโนมของไวรัสโควิด โดยเก็บตัวอย่างจากผู้ติดเชื้อในประเทศและข้อมูลรหัสพันธุกรรมจากฐานข้อมูลโควิดโลก (GISAID) ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา ระหว่างวันที่ 15 เม.ย. - 15 พ.ค. 2566
พบโอมิครอนสายพันธุ์หลักในไทยเป็นกลุ่ม XBB ประมาณ 93.5% ประกอบด้วยสายพันธุ์ย่อยอันดับหนึ่ง คือ XBB.1.16 ประมาณ 19% อันดับสองเป็น XBB.1.5 ประมาณ 10% และอันดับสามเป็น XBB.1.9.1 ประมาณ 8.4%
สำหรับ XBB.1.16 พบการกลายพันธุ์ระบาดไปทั่วโลกถึง 3 รุ่น คือ รุ่นแรกทั่วโลกพบ 9,003 ราย ไทยพบ 139 ราย รุ่นลูก XBB.1.16.1 ทั่วโลกพบ 2,714 ราย ไทย 26 ราย XBB.1.16.2 ทั่วโลกพบ 666 ราย ไทยพบ 25 ราย XBB.1.16.3 ทั่วโลกพบ 175 ราย ไทยพบ 5 ราย XBB.1.16.4 ทั่วโลกพบ 177 ราย ไทยยังไม่พบ XBB.1.16.5 ทั่วโลกพบ 135 ราย ไทยยังไม่พบ XBB.1.16.6 ทั่วโลกพบ 23 ราย ไทยยังไม่พบ
อย่างไรก็ดี รุ่นหลาน XBB.1.16.1.1 นามแฝง FU.1 ทั่วโลกพบ 122 ราย ไทยพบ 1 ราย XBB.1.16.1.2 นามแฝง FU.2 ทั่วโลกพบ 149 ราย ไทยยังไม่พบ
สายพันธุ์ย่อย FU.1 หรือ ถือได้ว่าเป็นรุ่นหลานของ XBB.1.16 พบการระบาดมากในนครเซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน ผู้เชี่ยวชาญทั่วโลกได้ประสานความร่วมมือให้ช่วยกันเฝ้าติดตามเนื่องจากมีค่าความได้เปรียบในการเติบโตแพร่ระบาด สูงกว่า XBB.1.16 ถึง 50%
ในขณะที่รุ่นลูก คือ XBB.1.16.1 พบการแพร่ระบาดในสวีเดน โดยมีโอมิครอนกลุ่ม XBB.1.9.1 รุ่นลูกและรุ่นหลาน FL กลายพันธุ์แพร่ระบาดตามมาติดๆ คาดว่าอาจเข้ามาแทนที่กลุ่ม XBB.1.16 ในอนาคต