สมาพันธ์เบาหวานนานาชาติ (International Diabetes Federation: IDF) กำหนดให้วันที่ 14 พฤศจิกายนของทุกปี เป็น วันเบาหวานโลก ซึ่งข้อมูลจาก IDF Diabetes Atlas ระบุว่า ทั่วโลกมีผู้ป่วยโรคเบาหวานกว่า 537 ล้านคน ในจำนวนนี้มากกว่า 90% เป็น โรคเบาหวานชนิดที่ 2 เกือบครึ่งหนึ่งยังไม่ได้รับการวินิจฉัย โดยคาดว่า ภายในปี 2573 จะเพิ่มขึ้นเป็น 643 ล้านคน และภายในปี 2588 จะเพิ่มมากถึง 783 ล้านคน
ขณะที่สถานการณ์โรคเบาหวานในประเทศไทย ข้อมูลจากรายงานสถิติสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข ประเทศไทยพบอุบัติการณ์โรคเบาหวานมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยปี 2566 มีผู้ป่วยรายใหม่เพิ่มขึ้น 3 แสนคนต่อปี ในปี พ.ศ. 2565 มีผู้ป่วยโรคเบาหวานสะสมจำนวน 3.3 ล้านคนเพิ่มขึ้นจากปี พ.ศ. 2564 มากถึง 1.5 แสนคน โดยโรคเบาหวานที่พบได้บ่อยที่สุด คือ โรคเบาหวานชนิดที่ 2
มาถึงบรรทัดนี้ หลายคนอาจกำลังสงสัยว่า โรคเบาหวานชนิดที่ 2 คือ อะไร เรามีคำตอบให้ โดยนายแพทย์กฤษฎา หาญบรรเจิด ผู้อำนวยการกองโรคไม่ติดต่อ อธิบายว่า โรคเบาหวานเกิดจากการทํางานของฮอร์โมนผิดปกติส่งผลให้เกิดภาวะนํ้าตาลในเลือดสูง หากน้ำตาลในเลือดสูงเป็นระยะเวลานานจะส่งผลให้อวัยวะเสื่อมสภาพเป็นเหตุให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่ตา ไต หลอดเลือดหัวใจและหลอดเลือดสมอง
โรคเบาหวานชนิดที่ 2 คือ อะไร
โรคเบาหวานชนิดที่ 2 เกิดจากภาวะดื้ออินซูลิน ในระยะแรกอาจไม่มีอาการ มักตรวจพบเมื่อเช็คสุขภาพโดยบังเอิญในผู้ที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป มีน้ำหนักเกินหรืออ้วนร่วมด้วย
การดูแลป้องกันผู้ป่วยโรคเบาหวานไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนทำได้โดยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ดี ควบคุมอาหารลดอาหารหวาน มัน เค็ม พบแพทย์สม่ำเสมอ ใช้ยาตามแพทย์สั่ง หากมีอาการผิดปกติให้แจ้งแพทย์ที่รักษา ห้ามปรับยาเอง ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ หมั่นตรวจเท้าด้วยตัวเอง หากเป็นแผลควรรีบไปพบแพทย์ ไม่สูบบุหรี่และไม่ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
สัญญาณเตือนเสี่ยงเป็น "เบาหวานชนิดที่ 2"
โรคเบาหวาน นั้นบางทีเกิดขึ้นโดยไม่มีอาการอะไรบ่งบอก ค่อยๆ ก่อตัวขึ้นอย่างเงียบ ๆ หากไม่ได้รับการตรวจระดับน้ำตาลในเลือดก็จะไม่ทราบว่า เป็นเบาหวาน จนกระทั่งโรคดำเนินไปมากแล้วจึงจะรู้ตัว
ดังนั้น แนะนำให้สังเกตอาการต่าง ๆ เหล่านี้เพราะร่างกายอาจกำลังส่งสัญญาณว่า คุณกำลังเสี่ยงเป็น โรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้
กลุ่มเสี่ยงเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2
ข้อมูล กรมควบคุมโรค, โรงพยาบาลศิครินทร์ กรุงเทพ