นายเอ็นริโก้ คานัล บรูแลนด์ (Enrico Cañal Bruland) รองประธานกรรมการและผู้จัดการทั่วไป บริษัท โนโว นอร์ดิสค์ ฟาร์มา ประเทศไทย จำกัด กล่าวว่า สถานการณ์ของระบบสาธารณสุขในประเทศไทยในปัจจุบันถือเป็นเรื่องสำคัญ โนโว นอร์ดิส ที่เป็นบริษัทยาชั้นนำของโลกที่มุ่งเน้นพัฒนายาและบริการด้านการดูแลสุขภาพสำหรับผู้ป่วย โรคเบาหวาน โรคอ้วน และกลุ่ม NCDs (โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง) จึงให้ความสำคัญกับตลาดในประเทศไทยไม่ต่างจากตลาดในประเทศอื่นๆ ทั่วโลก โดยดำเนินธุรกิจในประเทศไทยย่างเข้าสู่ปีที่ 41 แล้ว ซึ่งประเทศไทยมีนโยบายเกี่ยวกับสุขภาพสามารถเบิกจ่ายยาได้ตามสิทธิการบริการด้านสาธารณสุข แต่มีตัวเลขผู้ป่วยเกี่ยวกับภาวะโรคอ้วนค่อนข้าสูง เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคต่าง ๆ ตามมา เพราะการเข้าถึงยาระหว่างคนเมืองกับคนชนบทก็ยังมีความแตกต่างกัน รวมทั้งการขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์ และความตระหนักรู้ในการดูแลผู้ป่วย
โนโว นอร์ดิส จึงมีโครงการที่ร่วมมือกับกรมการแพทย์เพื่อส่งเสริมการเข้าถึงยารักษาโรค ให้กับผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคเรื้อรังอื่นๆ ในอนาคต เพราะปัญหาเรื่องสุขภาพหรือระบบสาธารณะสุข ใหญ่เกินกว่าหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งจะแก้ไขได้ตามลำพัง ทุกฝ่ายต้องร่วมมือกัน โดยประเทศไทยมีผู้ป่วยโรคเบาหวานสูงประมาณ 6 ล้านคน และเกือบครึ่งจากประชากร 70 กว่าล้านคน อยู่ในภาวะน้ำหนักเกิน
สำหรับปี 2566 ถือว่าเป็นปีที่ดีและ โนโว นอร์ดิสค์ ประเทศไทย ส่งยาถึงมือผู้ป่วยผ่านช่องทางของโรงพยาบาลรัฐโรงพยาบาลเอกชน และสถานพยาบาลบางส่วน ทั้งยา Ozempic® ที่ใช้รักษาโรคเบาหวาน และ Saxanda รักษาผู้มีภาวะอ้วน
โดยยังคงรักษามาตรฐานการเติบโตให้ควบคู่ไปกับการลงทุนเพิ่มในทุกมิติ และมีปัจจัยที่ทำให้ประสบความสำเร็จ 3 อย่างคือ
ทั้งนี้ ตลาดยาและเวชภัณฑ์ในประเทศไทยมีมูลค่าประมาณ 2.5 แสนล้านบาท เติบโตเฉลี่ย 4-5% ต่อปี ซึ่ง โนโว นอร์ดิสค์ ถือเป็นผู้นำในตลาดยารักษาโรคเบาหวาน และเชื่อว่านวัตกรรมการเข้าถึงบริการสุขภาพและความรวดเร็ว เป็นหัวใจสำคัญในการยกระดับคุณภาพชีวิตผู้ป่วยโรคเรื้อรังได้ โดยบริษัทฯ จะไม่หยุดแสวงหาวิธีการใหม่ ๆ ในการเพิ่มโอกาสเข้าถึงการรักษา ไม่ว่าจะเป็นการนำเทคโนโลยีมาใช้ สร้างความร่วมมือกับองค์กรต่างๆ หรือพัฒนารูปแบบการให้บริการที่เหมาะสม และเปิดกว้างต่อการสร้างพันธมิตรในประเทศไทยเพื่อสนับสนุนด้านการศึกษาวิจัย องค์ความรู้ต่างๆ สำหรับแพทย์ บุคลากรทางการแพทย์ และผู้ป่วย เพื่อคืนกำไรสู่สังคม
ขณะที่ตลาดยาและเวชภัณฑ์ทั่วโลกมีมูลค่าประมาณ 1.2 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐและคาดว่าจะเติบโตเฉลี่ย 5-6% ต่อปี ด้วยปัจจัยหลักที่ขับเคลื่อนการเติบโต ได้แก่ ประชากรสูงวัยและโรคเรื้อรังที่เพิ่มขึ้น รวมทั้งเทคโนโลยีทางการแพทย์พัฒนาขึ้นด้วย โดยการเกิดโรคเบาหวานในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาเกิดจากพันธุกรรมมากขึ้น และมีความแตกต่างระหว่างคนไทยและคนยุโรป สัดส่วน 5% ของผู้ป่วยในยุโรปและอเมริกาเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 1 ซึ่งบริษัทมีความภาคภูมิใจในความร่วมมือกับ UNICEF ในการช่วยเหลือผู้ป่วยเบาหวานชนิดนี้
สำหรับโนโว นอร์ดิสค์ มีสำนักงานใหญ่อยู่ในประเทศเดนมาร์ก ในปี 2566 มีผลประกอบการ 232,261 ล้าน DKK หรือประมาณ 1,207 พันล้านบาท เติบโตสูงถึง 36% และมีกำไรจากการดำเนินงาน 102,574 ล้าน DKK หรือประมาณ 533 พันล้านบาท เติบโตขึ้น 44% เมื่อเทียบกับปี 2565 ประสบความสำเร็จในการขยายส่วนแบ่งการตลาดในกลุ่มโรคเบาหวาน 33.8% ของมูลค่าตลาดทั้งหมด และยอดขายเวชภัณฑ์ยาสำหรับโรคอ้วน สูงถึง 154% เป็น 41.6 พันล้าน DKK (ประมาณ 216 พันล้านบาท) และยังลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนากว่า 1 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อการทดลองทางคลินิก ที่เป็นกระบวนการสำคัญในการพัฒนาเวชภัณฑ์และวิธีการรักษาใหม่ๆ สามารถยกระดับสุขภาพของผู้คนทั่วโลก
ปัจจุบัน มีพนักงานทั่วโลกกว่า 64,319 คน กระจายอยู่ใน 80 ประเทศ ซึ่งเป็นบริษัทในเครือ มีศูนย์วิจัยและพัฒนาในอีก 5 ประเทศ สามารถส่งมอบการรักษาผู้ป่วยโรคเบาหวานกว่า 40.5 ล้านคน และช่วยเหลือเด็กผ่านโครงการ Changing Diabetes® in Children กว่า 52,000 คน นอกจากนี้ อินซูลินสำหรับมนุษย์ที่ไม่ต้องแช่เย็นยังได้รับอนุมัติใช้ใน 29 ประเทศ แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นในการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ป่วยเรื้อรังทั่วโลก
อย่างไรก็ตาม ผู้ที่มีน้ำหนักเกินและอ้วนยังมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวานเพิ่มสูงถึง 10% ทั่วโลก และสถานการณ์ในประเทศไทยก็ไม่ต่างกัน โชคดีที่ไทยมีระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า ช่วยให้เราสามารถรับมือกับปัญหาเหล่านี้ได้ในระดับหนึ่ง แม้จะมีความพยายามในการแก้ไขปัญหาภาวะอ้วน แต่ก็ยังมีอีกหลายด้านที่ต้องเร่งดำเนินการเพื่อป้องกันวิกฤตที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต และการมีภาวะอ้วนอาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพมากมาย เช่น โรคเบาหวานและโรคหัวใจ
นอกจากนี้ นายเอ็นริโก้ กล่าวว่า เทรนในภาพรวมของประเทศไทยปี 2567 เรื่องของ Healthcare น่าจะเป็นเรื่องที่ผู้คนให้ความสนใจมากขึ้น เพราะประเทศไทยได้ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุแล้ว และไม่ต้องคิดว่าจะแก่ไปอย่างไร แต่ต้องตระหนักว่าจะมีชีวิตที่ดีเมื่อมีอายุมากขึ้นได้อย่างไร และโรคอ้วนก็เป็นหนึ่งปัจจัยหลังที่ทำให้เกิดโรค NCDs รวมถึงการใช้ชีวิตของคนที่จะกลายเป็นเทรนต่อไป