"โรคซึมเศร้า" อาการป่วยทางจิตที่เพิ่มขึ้นของคนไทย จากปัจจัยทางสังคม

27 ส.ค. 2567 | 10:38 น.
อัปเดตล่าสุด :27 ส.ค. 2567 | 11:43 น.

ผู้ป่วย "โรคซึมเศร้า" มีแนวโน้มสูงขึ้น คนไทยป่วยราว 1.5 ล้านคนต่อปี นับเป็นโรคทางจิตเวชชนิดหนึ่งที่รักษาให้หายได้ ควรสังเกต 2 อาการ "อารมณ์ด้านลบ-ภาวะสิ้นยินดี" แต่หากปล่อยไว้อาจส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต

แพทย์หญิงณัฏฐพัชร์ ลำเลียงพล จิตแพทย์ โรงพยาบาล BMHH – Bangkok Mental Health Hospital กล่าวว่า จากสถิติของโลกในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา พบผู้ป่วยโรคซึมเศร้าเพิ่มกว่า 25% หรือมากถึง 1 ใน 4 ของประชากร ขณะเดียวกันสถานการณ์โรคซึมเศร้าในประเทศไทยก็มีแนวโน้มที่น่าเป็นห่วง โดยมีปัจจัยหลายอย่างส่งผลกระทบทำให้ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าเพิ่มขึ้นในทุกปี และส่งผลต่อความต้องการรักษาเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ 

จากข้อมูลของกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข พบว่าในแต่ละปีมีประชากรไทยราว 1.5 ล้านคนที่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้า คิดเป็น 2-3% ของประชากรทั้งหมด และจำนวนผู้ป่วยยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มวัยรุ่นและผู้สูงอายุ ซึ่งโรคซึมเศร้าไม่เพียงส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิตของผู้ป่วยเท่านั้น แต่ยังมีผลกระทบทางด้านสังคมและเศรษฐกิจ ในขณะที่ผู้ป่วยจำนวนไม่น้อยเข้าไม่ถึงการรักษา และผู้ป่วยบางรายไม่ยอมรับการรักษา เพราะกลัวการตีตรา หรือไม่เข้าใจถึงความสำคัญของการรักษา 

สำหรับโรคซึมเศร้าเป็นโรคทางจิตเวชชนิดหนึ่งที่สามารถรักษาให้หายได้ แต่หากปล่อยไว้ไม่รักษาอาจส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตและความสัมพันธ์ของผู้ป่วยได้อย่างมาก ซึ่งการตรวจหาโรคในระยะเริ่มต้นเป็นสิ่งสำคัญมาก ศูนย์โรคซึมเศร้าครบวงจรของ BMHH หรือศูนย์ Comprehensive Depression Center ได้ให้ความสำคัญเกี่ยวกับการประเมินอาการของผู้ป่วยอย่างละเอียด เพื่อให้สามารถวินิจฉัยโรคได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ พร้อมเริ่มต้นการรักษาได้ทันท่วงที โดยความร่วมมือของทีมสหสาขาวิชาชีพที่หลากหลาย ประกอบด้วย จิตแพทย์ นักจิตวิทยา เภสัชกร และพยาบาล เป็นต้น

\"โรคซึมเศร้า\" อาการป่วยทางจิตที่เพิ่มขึ้นของคนไทย จากปัจจัยทางสังคม แพทย์หญิงณัฏฐพัชร์ กล่าวว่า อาการของโรคซึมเศร้าสังเกตได้ 2 อารมณ์คือ 1.อารมณ์ด้านลบ 2.ภาวะสิ้นยินดี หากรู้สึกไม่มีความสุขจากกิจกรรมที่เคยทำแล้วมีความสุข ควรพบแพทย์ ซึ่ง Comprehensive Depression Center ของ BMHH สามารถรองรับผู้ป่วยได้ทุกช่วงวัยตั้งแต่วัยเด็ก-ผู้สูงอายุ โดยมีสิ่งที่ให้ความสำคัญที่สุดคือ

  1. ตรวจโรคให้เร็วที่สุด เพื่อทำการรักษาผู้ป่วยก่อนผู้ป่วยไปสู่จุดวิกฤต หรือ เริ่มทำร้ายตัวเองหรือคนรอบข้าง
  2. บุคลากรมีพร้อมทุกสหวิชาชีพ โดยเฉพาะจิตแพทย์และนักบำบัดจิตหลายแขนง
  3. ดูแลรักษาผู้ป่วยเฉพาะบุคคล ตามสภาพที่แตกต่างกันไป ทั้งการบำบัดและใช้ยา

การรักษาโรคซึมเศร้าไม่ใช่เพียงแค่การใช้ยารักษาเท่านั้น แต่จะต้องอาศัยการทำงานร่วมมือกันของทีมสหสาขาวิชาชีพที่หลากหลาย จึงจะช่วยให้สามารถดูแลผู้ป่วยได้อย่างครอบคลุม ทั้งในด้านร่างกาย จิตใจ และสังคม ยกระดับการรักษาให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น  BMHH เชื่อว่าการรักษาโรคซึมเศร้าที่ดีต้องเป็นการรักษาที่ปรับให้เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย เพราะแต่ละคนมีปัจจัยที่ส่งผลต่อโรคแตกต่างกันไป 

\"โรคซึมเศร้า\" อาการป่วยทางจิตที่เพิ่มขึ้นของคนไทย จากปัจจัยทางสังคม

"เราจึงให้ความสำคัญกับการประเมินและประวัติของผู้ป่วยแต่ละรายอย่างละเอียด เพื่อช่วยให้การประเมินและวางแผนการรักษามีความแม่นยำเหมาะสมที่สุด ซึ่งมีทั้งการใช้ยา การทำจิตบำบัด รวมถึงการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย เช่น dTMS หรือ Deep Transcranial Magnetic Stimulation เป็นการใช้สนามแม่เหล็กไฟฟ้ากระตุ้นเซลล์ประสาทในสมองส่วนลึก เพื่อช่วยลดอาการซึมเศร้า”

อย่างไรก็ตาม "โรคซึมเศร้า" มักเกิดจากความไม่สมดุลของสารสื่อประสาทในสมองหลายชนิด เช่น ซีโรโทนิน, นอร์เอพิเนฟริน และโดปามีน ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการเศร้าหมอง เบื่อหน่าย หมดความสนใจในสิ่งต่าง ๆ ในชีวิต รู้สึกสิ้นหวัง และอาจคิดฆ่าตัวตายได้ ซึ่งความเข้าใจผิดเกี่ยวกับโรคซึมเศร้างและการตีตราทางสังคมยังคงเป็นอุปสรรคในการเข้ารับการรักษา ทำให้ผู้ป่วยจำนวนไม่น้อยไม่กล้าไปพบแพทย์หรือเข้ารับการรักษาที่เหมาะสม ดังนั้น การตระหนักรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับโรคซึมเศร้าเป็นสิ่งสำคัญในการช่วยให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาและการสนับสนุนที่เหมาะสม เพื่อที่จะสามารถกลับมาใช้ชีวิตได้อย่างมีคุณภาพ