ดร. อาทิรัตน์ จารุกิจพิพัฒน์ Chief Executive Officer โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ และ Executive Director ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพไวทัลไลฟ์ กล่าวว่า จากข้อมูลการวิจัยของ New Global Wellness Institute ระบุว่า แนวโน้มของอุตสาหกรรมสุขภาพทั่วโลก (The Global Health and Wellness Industry) ในปี 2566 มีมูลค่า 5.6 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ และคาดว่าในอีก 5 ปีจะเติบโตขึ้นเป็น 8.5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยมีอัตราเติบโตเพิ่มสูงขึ้นถึง 40% สะท้อนให้เห็นถึงความต้องการโซลูชันและบริการด้านสุขภาพที่เพิ่มขึ้น
ปัจจัยสนับหนุนมีทั้งการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ผู้คนตระหนักถึงความสำคัญของการดูแลสุขภาพและป้องกันโรคมากขึ้น ซึ่งเกิดจากแรงขับเคลื่อนสำคัญทั้งของคนรุ่นใหม่ที่แสวงหาวิธีป้องกัน และคนรุ่นเก่าที่แสวงหาวิธีปรับปรุงให้มีอายุยืนยาวอย่างมีคุณภาพ รวมถึงเทคโนโลยีที่ก้าวหน้า ส่งผลให้อุตสาหกรรมสุขภาพมีศักยภาพในการเติบโตสูง
โดยศูนย์ส่งเสริมสุขภาพไวทัลไลฟ์ (VitalLife Scientific Wellness Center) นับเป็นผู้บุกเบิกการแพทย์ด้านเวชศาสตร์การมีอายุยืนยาวมากว่า 24 ปี ภายใต้การดำเนินงานของโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ และได้ประกาศถึงความมุ่งมั่นในการพัฒนาการแพทย์สู่การดูแลสุขภาพเชิงรุก ‘Unlocking the Secrets to a Longer, Healthier Life by VitalLife’ เน้นการป้องกันและส่งเสริมสุขภาพที่ดีในทุกช่วงอายุ ซึ่งไม่ใช่เพียงการรักษาโรคเมื่อเจ็บป่วยเท่านั้น แต่มุ่งเน้นการมีอายุยืนยาวอย่างแข็งแรงและมีคุณภาพชีวิตที่ดีตลอดอายุขัย
ทั้งนี้ ยังนำเสนอเทคโนโลยีและองค์ความรู้ทางการแพทย์ที่ทันสมัย เพื่อให้การดูแลสุขภาพเป็นแบบเฉพาะบุคคลมากยิ่งขึ้น ซึ่งนอกจากจะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้คนแล้ว ยังช่วยขับเคลื่อนวงการแพทย์ของประเทศไทยให้ก้าวหน้าไปอีกขั้น และในปี 2567 นับเป็นปีแห่งความท้าทายสู่การเปลี่ยนแปลงของไวทัลไลฟ์ เพื่อก้าวไปสู่ความสำเร็จอีกขั้นในหลายมิติ
ผศ.นพ. พลกฤต ทีฆคีรีกุล Chief Executive Officer ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพไวทัลไลฟ์และเอสเพอรานซ์ และ Chief Science Officer โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์และศูนย์ส่งเสริมสุขภาพไวทัลไลฟ์ กล่าวว่า การปฏิวัติวงการดูแลสุขภาพด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยี AI ที่ล้ำสมัย รวมถึงการปรับรูปโฉมใหม่ของไวทัลไลฟ์และการให้บริการแบบบูรณาการครอบคลุมทุกมิติ ทั้งมุ่งเน้นการสร้างการดูแลสุขภาพแบบเฉพาะบุคคล จะทำให้คนไข้มีอายุยืนยาวอย่างมีคุณภาพและยั่งยืนแบบ Health Span สอดรับการเติบโตด้านเวชศาสตร์การมีอายุยืนยาว ซึ่งเป็นเมกะเทรนด์ทางการแพทย์
ด้าน ผศ.นพ. พลกฤต ทีฆคีรีกุล กล่าวว่า ในปี 2567 นี้ ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพไวทัลไลฟ์ได้ก้าวสู่การดำเนินงานปีที่ 24 โดยมุ่งมั่นพัฒนาด้านการดูแลสุขภาพมาอย่างต่อเนื่อง รวมถึงทุ่มเทการทำวิจัยเพื่อออกแบบการดูแลสุขภาพแบบเฉพาะบุคคล เพื่อเป้าหมายในการมีอายุยืนยาวอย่างเยาว์วัยและแข็งแรง โดยหัวใจสำคัญของไวทัลไลฟ์ คือ การมุ่งเน้นพัฒนานวัตกรรมใน 3 ด้านหลัก ได้แก่
นพ. สุธี ศิริเวชฎารักษ์ Chief Administrative Officer ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพไวทัลไลฟ์และเอสเพอรานซ์ กล่าวว่า การมีอายุยืนยาวไม่ใช่เพียงแค่การมีชีวิตอยู่ให้นาน แต่หมายถึงการมีสุขภาพที่ดีและมีคุณภาพชีวิตที่ดีในทุกช่วงอายุ ไวทัลไลได้ฟ์ให้ความสำคัญกับการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับสาเหตุของความชรา เพื่อนำมาพัฒนาแนวทางการดูแลสุขภาพที่สามารถชะลอกระบวนการชรา และช่วยให้ทุกคนมีอายุยืนยาวอย่างมีสุขภาพที่ดี จากงานวิจัยและข้อมูลทางวิทยาศาสตร์บ่งชี้มี 12 สาเหตุสำคัญที่นำไปสู่วัยชรา
เช่น การกลายพันธุ์ของ DNA ซึ่งจะเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดเนื้องอกและโรคมะเร็งตามอายุ การสูญเสียความสมดุลของการควบคุมการผลิตและทำลายโปรตีนในเซลล์ ซึ่งจะส่งต่อความผิดปกติของระบบประสาทที่เกี่ยวข้องกับอายุ เช่น โรคอัลไซเมอร์ โรคพาร์กินสัน รวมถึงการตอบสนองต่อสารอาหารผิดปกติ นำไปสู่ภาวะผิดปกติของระบบเผาผลาญ ส่งผลต่อการเกิดโรคเรื้อรังต่าง ๆ เช่น โรคเบาหวาน โรคอ้วน โรคความดันโลหิตสูง และโรคหัวใจ เป็นต้น
พญ. สุวรรณา สุวรรณพงษ์ Program Director ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพไวทัลไลฟ์ กล่าวว่า ไวทัลไลฟ์ได้ออกแบบพัฒนาและกลั่นกรองมานานหลายปี จนเป็น ‘โปรแกรมการดูแลสุขภาพของไวทัลไลฟ์’ โดยได้นำเทคโนโลยีขั้นสูงและข้อมูลเชิงลึกทางวิทยาศาสตร์ เน้นการประเมินสุขภาพเชิงลึกแบบเฉพาะบุคคล ผ่านการตรวจสุขภาพที่ครอบคลุม รวมถึงการวิเคราะห์ข้อมูลทางพันธุกรรมและชีวภาพต่าง ๆ เพื่อสร้างแผนการดูแลสุขภาพที่ตรงกับความต้องการของแต่ละคน
ขณะที่ พญ. วรรณวิพุธ สรรพสิทธิ์วงศ์ Business Development Director ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพไวทัลไลฟ์ กล่าวว่า นอกจากไวทัลไลฟ์จะนำองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ในการพัฒนานวัตกรรมและโปรแกรมดูแลสุขภาพที่ตอบโจทย์ความต้องการของแต่ละบุคคลแล้ว ยังต้องการช่วยให้ทุกคนสามารถมีชีวิตที่ยืนยาวอย่างแข็งแรงในคอนเซ็ปต์ "เกิด แก่ ตาย" โดยให้มีความเจ็บป่วยน้อยที่สุด ผ่านแนวคิด ‘Ecosystem of Care’ ด้วยหลักการของสัดส่วนและความกลมกลืนของ Golden Ratio ระบบนิเวศด้านการดูแลสุขภาพ เน้นการสร้างประสบการณ์เชิงบวกโดยยึดหลักผู้มารับบริการเป็นศูนย์กลาง เช่น การอำนวยความสะดวกสบาย และการช่วยแก้ไขปัญหา (Pain Point) ให้กับผู้มารับบริการได้อย่างเหมาะสมในทุกจุดของการให้บริการ