30 บาทรักษาทุกที่ ถึง กทม. "แพทองธาร" คิกออฟอย่างเป็นทางการ 

27 ก.ย. 2567 | 05:25 น.
อัพเดตล่าสุด :27 ก.ย. 2567 | 07:51 น.

นายกฯ แพทองธาร นำทีมคิกออฟ 30 บาทรักษาทุกที่ กทม. ต่อยอดความสำเร็จจาก 45 จังหวัด เผยผลงาน 8 เดือนแรก ลดเวลารอตรวจ 50% ผู้ใช้บริการพอใจสูงถึง 98% มั่นใจขยายครบทุกจังหวัดภายในปี 2567

27 กันยายน 2567 นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กล่าวปาฐกถา " จาก 30 รักษาทุกโรคสู่ 30 รักษาทุกที่ เพื่อคนไทยสุขภาพดีถ้วนหน้า พร้อมเปิดงาน 30 รักษาทุกที่ เพื่อคนไทยสุขภาพดีถ้วนหน้า กรุงเทพมหานคร โดยมีนาย​ภูมิธรรม​ เวชย​ชัย​ รองนายก​รัฐมนตรี​และ​รัฐมนตรี​ว่าการ​กระทรวง​กลาโหม​ นายสมศักดิ์​ เทพสุทิน​ รัฐมนตรี​ว่าการ​กระทรวง​สาธารณสุข​ พล.อ.ณัฐพล​ นาค​พาณิชย์​ รัฐมนตรี​ช่วยว่าการกระทรวง และนาย​ชัชชาติ​ สิทธิ​พันธุ์​ ผู้​ว่าราชการ​กรุงเทพ​มหานคร​ ร่วมงาน 

นายกรัฐมนตรี กล่าวตอนหนึ่งว่า เมื่อพูดถึง 30 รักษาทุกโรค ได้ยินนโยบายนี้มาตั้งแต่ตนเองมีอายุประมาณ 8-9 ขวบ ผ่านมาแล้วเป็นสิบปีก็ยังมีคนพูดถึงนโยบายนี้มาเสมอซึ่งตนเองนั้นมีประสบการณ์ดี ๆ หลายอย่างกับนโยบายนี้ในวันหนึ่งที่คุณพ่อ (นายทักษิณ ชินวัตร) ซึ่งในขณะนั้นเป็นนายกฯ เล่าให้ฟังด้วยความภาคภูมิใจว่า ระหว่างไปต่างจังหวัดมีผู้ชายคนหนึ่งวิ่งมาหาแล้วเปิดเสื้อให้เห็นแผลยาวตั้งแต่ด้านบนถึงช่วงท้อง แล้วบอกว่า ผ่าตัดหัวใจมาด้วย โครงการ 30 บาทฯ 

อย่างไรก็ดี นโยบายนี้มีคนทำงานเบื้องหลังมากมายที่ทำให้นโยบายนี้สำเร็จลุล่วงไปได้และส่งถึงประชาชน ให้ประชาชนได้ใช้ 30 บาทฯ ไม่ต้องล้มละลาย

30 บาทรักษาทุกที่ ถึง กทม. \"แพทองธาร\" คิกออฟอย่างเป็นทางการ 

นับตั้งแต่วันที่พรรคไทยรักไทยเป็นรัฐบาลจนถึงรัฐบาลเพื่อไทยในวันนี้ เรามีความภูมิใจเป็นอย่างมาก เป็นนโยบายที่สร้างความภาคภูมิใจอย่างที่สุด วันนี้ถึงเวลาแล้วที่จะต่อยอดจาก "30 บาทรักษาทุกโรค" เป็น "30 บาทรักษาทุกที่" เวลาผ่านไปมีนวัตกรรมมากมาย มีการเก็บตัวอย่างทั้งข้อดีและข้อเสียพร้อมที่จะนำปรับปรุง จากวันนั้นถึงวันนี้เป็นเวลากว่า 23 ปี 30 บาทรักษาทุกที่มาถึงกรุงเทพฯแล้ว 

สำหรับผลการดำเนินงานมาตลอด 8 เดือนของ "30 บาทรักษาทุกที่" ถือว่าประสบความสำเร็จอย่างมาก ผู้ป่วย​ 1 ใน 4 ของ เลือกใช้บริการที่คลินิกเอกชนใกล้บ้านแทนการมาที่โรงพยาบาล ช่วยลดความแออัด ลดระยะเวลาการรอตรวจ ลดภาระของบุคลากรทางการแพทย์

ทั้งยังช่วยลดค่าใช้จ่ายในการเดินทางมาโรงพยาบาล โดยเฉลี่ย 160 บาท/ครั้ง ลดระยะเวลารอในโรงพยาบาลลงถึง 50% จากเฉลี่ย 2 ชั่วโมงเหลือประมาณ 1 ชั่วโมง ทั้งยังลดภาระการขาดงานของผู้ป่วยและญาติ​ ผู้รับบริการกว่า 98% พึงพอใจกับนโยบายนี้เป็นอย่างมาก

โครงการ "30 บาทรักษาทุกที่"  ได้เริ่มต้นครั้งแรก ในวันที่ 7 ม.ค. 67 นำร่องใน 4 จังหวัด และขยายครอบคลุมเพิ่มเติมใน 41 จังหวัด รวมทั้งสิ้น 45 จังหวัด

30 บาทรักษาทุกที่ ถึง กทม. \"แพทองธาร\" คิกออฟอย่างเป็นทางการ 

ในวันนี้วันที่ 27 ก.ย.67 เป็นอีกวันประวัติศาสตร์ด้านสาธารณสุขไทยที่ต้องบันทึกไว้ว่า ทุกภาคส่วนได้ร่วมมือกันทำให้กรุงเทพมหานคร อยู่ในโครงการ 30 บาทรักษาทุกที่ สุขภาพดีเริ่มที่ใกล้บ้านได้สำเร็จ ทำให้ "30 บาทรักษาทุกที่" ขยายสู่ 46 จังหวัดเป็นที่เรียบร้อย ขอให้ความมั่นใจว่า ภายในปี 2567 รัฐบาลจะสามารถขยายบริการครอบคลุมทุกจังหวัดโดยมีรัฐบาลเป็นผู้ดูแล  

ด้านนายสมศักดิ์ เทพสุทิน รมว.สาธารณสุข กล่าวว่า 30 บาทรักษาทุกที่ มีเป้าหมายเพื่อยกระดับบริการสุขภาพ ภายใต้หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เพื่อให้ประชาชนได้รับบริการที่ดี มีคุณภาพและมาตรฐานที่ดียิ่งขึ้นซึ่งการขับเคลื่อนนโยบายฯ ได้เริ่มตั้งแต่ต้นปี 2567 ที่ผ่านมา

แบ่งออกเป็น ระยะที่ 1 เดือนมกราคมที่นำร่องใน 4 จังหวัด ระยะที่ 2 เดือนมีนาคม และได้ดำเนินการเพิ่มเติมในอีก 8 จังหวัด ระยะที่ 3 เดือนพฤษภาคม ขยายในพื้นที่ 33 จังหวัด และวันนี้กรุงเทพมหานครเป็นจังหวัดที่ 46 และจะให้ครอบคลุมทั้งประเทศในปีนี้ 

30 บาทรักษาทุกที่ ถึง กทม. \"แพทองธาร\" คิกออฟอย่างเป็นทางการ 

สำหรับงาน 30 บาทรักษาทุกที่ฯ ในวันนี้ ประชาชนใน กทม. ไม่ว่าสิทธิบัตรทองท่านจะอยู่จังหวัดใดสามารถใช้บัตรประชาชนเข้ารับบริการสุขภาพระบบปฐมภูมิได้ตามนโยบายได้ ทั้งที่หน่วยบริการประจำ และหน่วยบริการปฐมภูมิ ได้แก่ ศูนย์บริการสาธารณสุข 69 แห่งคลินิกชุมชนอบอุ่น และหน่วยบริการนวัตกรรมที่มีตราสัญลักษณ์ 30 บาทรักษาทุกที่ติดแสดงไว้ 

นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า ในนามของกรุงเทพมหานครดีใจที่รัฐบาลมาสานต่อนโยบาย "30 บาทรักษาทุกที่" เพื่อคนไทยสุขภาพดีถ้วนหน้าในพื้นที่กรุงเทพฯ เพราะเรื่องสุขภาพเป็นหัวใจของการลดความเหลื่อมล้ำ

30 บาทรักษาทุกที่ ถึง กทม. \"แพทองธาร\" คิกออฟอย่างเป็นทางการ  เนื่องจากหากประชาชนเจ็บป่วยก็ไม่สามารถทำงานหารายได้ได้ก็จะเป็นวงจรให้เกิดความเหลื่อมล้ำ โดย กทม.มีโรงพยาบาลชั้นดีจำนวนมากแต่ก็มีประชากรแฝงสูงถึง 10 ล้านคน ขณะที่ปัญหาสาธารณสุขไม่ได้น้อยกว่าจังหวัดอื่นหรืออาจจะมากกว่าด้วยซ้ำ

โครงการนี้จึงสำคัญมากมี 3 ปัจจัยหลักที่สำคัญ คือ 1.การใช้เทคโนโลยีในการเชื่อมโยง 2.การเชื่อมโยงข้อมูลโรงพยาบาล และ 3.ระบบปฐมภูมิที่เข้มแข็ง อาทิ มีหน่วยสาธารณสุขนวัตกรรม ร้านขายยาที่ใกล้บ้าน ทำให้ประชาชนไม่ต้องตื่นมาตี 3 ตี 4 เพื่อไปรอคิวการรักษาพยาบาลที่โรงพยาบาลใหญ่ 

30 บาทรักษาทุกที่ ถึง กทม. \"แพทองธาร\" คิกออฟอย่างเป็นทางการ