ผลตรวจสุขภาพ "ข้าราชการ-บุคลากร" ในกรุงเทพมหานคร 1 ล้านคน เสี่ยงป่วยโรค NCDs

09 ม.ค. 2568 | 07:43 น.
อัปเดตล่าสุด :09 ม.ค. 2568 | 08:02 น.

รายงานผลการตรวจสุขภาพ วัยทำงานข้าราชการและบุคลากรของกรุงเทพมหานคร 1 ล้านคน เสี่ยงป่วยโรค NCDs ขณะที่ "เนสท์เล่" ต่อยอดความสำเร็จ “ภารกิจพิชิตสุขภาพดี” สนับสนุนกทม. สร้างความรอบรู้สู่การมีสุขภาพดี

แพทย์หญิงดวงพร ปิณจีเสคิกุล รองผู้อำนวยการสำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร กล่าวว่า จากรายงานผลการตรวจสุขภาพ 1 ล้านคน ตามนโยบายผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ปีงบประมาณ 2567 พบว่าข้าราชการและบุคลากรของกรุงเทพมหานคร มีภาวะเสี่ยงต่อโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) คิดเป็นร้อยละ 52.97 และป่วย 7.86 โดยเสี่ยงอ้วน คิดเป็นร้อยละ 41.28 เสี่ยงโรคเบาหวาน คิดเป็นร้อยละ 24.48 และโรคความดันโลหิตสูง คิดเป็นร้อยละ 20.14 

หากไม่ได้รับการแก้ไขหรือปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ จะนำไปสู่การเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง สำนักอนามัยจึงได้จัดทำโครงการสร้างความรอบรู้สู่สุขภาพดีวิถีวัยทำงาน ข้าราชการ และบุคลากรของกรุงเทพมหานคร โดยได้รับการสนับสนุนการดำเนินงานจากภาคีเครือข่ายภาคเอกชนเป็นอย่างดี อย่างเช่น บริษัทเนสท์เล่ (ไทย) จำกัด

นางสาวสลิลลา สีหพันธุ์ ผู้อำนวยการบริหารฝ่ายองค์กรสัมพันธ์ บริษัท เนสท์เล่ (ไทย) จำกัด กล่าวว่า เนสท์เล่เล็งเห็นความสำคัญของการสร้างเสริมสุขภาพที่ดีอย่างยั่งยืน ภายใต้แนวคิดการกินอยู่อย่างสมดุล (Balanced Diet) เพื่อลดความเสี่ยงโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โดยมี “โครงการภารกิจพิชิตสุขภาพดี” ที่เนสท์เล่ได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง

วัตถุประสงค์เพื่อสร้างนิสัยของการมีพฤติกรรมสุขภาพที่ดี ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญของการมีสุขภาพดีอย่างยั่งยืน สิ่งนี้จะนำไปสู่การลดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังอย่างเป็นรูปธรรม ส่งผลดีต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนคนไทยและเศรษฐกิจของประเทศ

ผลตรวจสุขภาพ \"ข้าราชการ-บุคลากร\" ในกรุงเทพมหานคร 1 ล้านคน เสี่ยงป่วยโรค NCDs

โดยโครงการสร้างความรอบรู้สู่สุขภาพดีวิถีวัยทำงาน ข้าราชการ และบุคลากรของกรุงเทพมหานคร จะจัดขึ้นตั้งแต่เดือนมกราคม - พฤษภาคม 2568 มีระยะเวลาโครงการ 90 วัน พร้อมเก็บข้อมูลและติดตามผลลัพธ์ผ่านแอปพลิเคชั่น Thai SOOK (ไทยสุข) เครื่องมือดิจิทัลที่ช่วยดูแลติดตามสุขภาพแบบองค์รวม

เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการฯ กลุ่มเป้าหมายเกิดความรู้และความตระหนักถึงความสำคัญในการดูแลสุขภาพตนเองอย่างยั่งยืน เพื่อขยายผลสู่สังคมต่อไปในอนาคต สิ่งนี้สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของเนสท์เล่ในการเปิดพลังแห่งอาหาร เพื่อเพิ่มพูนคุณภาพชีวิตที่ดี เพื่อทุกคนในวันนี้ และในอนาคต

สำหรับการดูแลสุขภาพของคนไทยนับว่าเป็นวาระแห่งชาติที่สำคัญ โดยเฉพาะการป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง หรือ NCDs (Non Communicable Diseases) ที่มักเกิดจากพฤติกรรมด้านสุขภาพที่ไม่เหมาะสม "เนสท์เล่" ในฐานะบริษัทด้านโภชนาการเพื่อสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดี ได้ส่งมอบผลิตภัณฑ์ที่อร่อยและมีโภชนาการที่เหมาะสม เพื่อส่งเสริมให้ผู้บริโภคมีสุขภาพแข็งแรง และส่งต่อความรู้เพิ่มพูนคุณภาพชีวิตให้กับคนไทยผ่านกิจกรรมต่าง ๆ มากมาย รวมถึง “ภารกิจพิชิตสุขภาพดี” ที่จัดให้แก่คนในชุมชนทั่วประเทศอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ พ.ศ. 2566 

ผลตรวจสุขภาพ \"ข้าราชการ-บุคลากร\" ในกรุงเทพมหานคร 1 ล้านคน เสี่ยงป่วยโรค NCDs

ในปี 2568 เนสท์เล่ได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของ “โครงการสร้างความรอบรู้สู่สุขภาพดีวิถีวัยทำงานข้าราชการและบุคลากรของกรุงเทพมหานคร” โดยสำนักอนามัย วัตถุประสงค์ของโครงการนี้คือ เพื่อให้ข้าราชการและบุคลากรของกรุงเทพมหานครที่เป็นกลุ่มเสี่ยงโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเกิดความรู้และลงมือปฏิบัติ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อให้มีสุขภาพแข็งแรง และมีการติดตามวัดผลอย่างเป็นรูปธรรม 

โครงการ “ภารกิจพิชิตสุขภาพดี” ของเนสท์เล่ ประกอบไปด้วยกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อสร้างความรอบรู้สู่สุขภาพดี (Health Literacy) และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ให้แก่ผู้สมัครเข้าร่วมโครงการจำนวน 250 คน ภารกิจ 13 สัปดาห์นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างนิสัยของการมีพฤติกรรมสุขภาพที่ดี ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญของการมีสุขภาพดีอย่างยั่งยืนตลอดทั้ง 13 สัปดาห์

ผลตรวจสุขภาพ \"ข้าราชการ-บุคลากร\" ในกรุงเทพมหานคร 1 ล้านคน เสี่ยงป่วยโรค NCDs

ผู้เข้าร่วมโครงการจะได้ลงมือทำภารกิจสุขภาพ ซึ่งครอบคลุม 4 พฤติกรรมสุขภาพสำคัญ 4 แกนคือ ลดหวาน มัน เค็ม เติมเต็มสารอาหาร แบ่งพลังงานพอดี และมีกิจกรรมทางกาย รวมถึงการวัดผลสุขภาพก่อนและหลังโครงการ ทำให้ผู้เข้าร่วมเริ่มปฏิบัติตามได้ง่าย รู้สึกท้าทาย และสนุกกับการทำภารกิจร่วมกับสมาชิกในทีม