จากกรณีที่วันนี้ (22 พ.ย.) คณะกรรมการ บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ไฟเขียวควบรวบกิจการใน บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค จัดตั้งบริษัทร่วมทุน พร้อมทำคำเสนอซื้อหุ้น โดยสมัครใจแบบมีเงื่อนไข จัดสรรหุ้นในอัตราส่วน 1 หุ้นเดิม ต่อ 2.40072 หุ้นในบริษัทใหม่ และ 1 หุ้นเดิมใน ดีแทค ต่อ 24.53775 หุ้นในบริษัทใหม่ พร้อมรับคำชื้อ ชิทริน เสนอซื้อ ทรู 5.09 บาทต่อหุ้น และ ดีแทค 47.76 บาทต่อหุ้น
ล่าสุด นายสืบศักดิ์ สืบภักดี นักวิจัยโทรคมนาคม สำนักวิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ เปิดเผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” เกี่ยวกับความเคลื่อนไหวของ ทรู และ ดีแทค ว่า ผมเชื่อว่าจากการเคลื่อนไหวหรือปรากฏการณ์นี้ เห็นได้ชัดว่าเป็นการเคลื่อนไหวของกลุ่มบริษัทโทรคมนาคมไทยที่ไม่ได้โฟกัสแค่ตลาดในประเทศ หรือ ตลาดมือถือเเล้ว แต่เราจะเห็นการบุกตลาดอย่างน้อยก็ในอาเซียน รวมถึงตลาดในกลุ่มเทคโนโลยีอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่องกัน เพราะคำว่า Tech Company นี่สามารถทำได้หลากหลาย
รวมถึงที่ผ่านมาการลงทุนด้านโทรคมนาคม ที่ผ่านมาอาจเห็นว่าจะเป็นทุนต่างชาติทั้งยุโรป ตะวันออกกลาง หรือ สหรัฐอเมริกา ที่เข้าไปลงทุนโครงสร้างพื้นฐานโทรคมในประเทศต่าง ๆ อาทิ เมียนมา เวียดนาม มาเลเซีย แต่ต่อไปคงเห็นภาพนักลงทุนไทยบุกตลาดแถบนี้บ้าง
ส่วนอีกด้านหนึ่ง คือ ต้องการความแข็งแกร่งจาก partner หรือ ต้องมี ecosystem ที่เกี่ยวเนื่องกันด้วย ไม่เช่นนั้นจะไม่สามารถยืนอยู่ได้บนการแข่งขันที่เปลี่ยนแปลงไป จะเห็นวได้ว่าผู้ประกอบการโทรคมนอกจากโครงขสร้างพื้นฐาน เเละ ฐานลูกค้าที่ต้องมีในมือแบบในอดีต ต้องมี บริการ หรือ services ที่รองรับความต้องการผู้ใช้ด้วย ขณะนี้ทุกคนกำลังพูดถึงทุกอย่างทั้ง โทรคมนาคม การสื่อสาร มีเดีย การเงิน บันเทิง เเละ เทคโนโลยี
“ซึ่งนิยามเหล่านี้อธิบายชัดว่าเป็น Tech Company นั่นเอง รวมถึงการจะปรับตัวหรือปรับโครงสร้าง อาทิ การ Transform จากบริษัทที่ทำแต่โทรคมนาคม มุ่งไปทำ Digital Service ที่หลากหลาย รวมถึงผลักดันนวัตกรรมใหม่ๆ ด้วย เป็นเรื่องที่ท้าทายมาก เราอาจเห็นบริษัทยักษ์ในโลก อาทิ Facebook เทสล่า speace X ต่างก็พูดเเละทำสิ่งเหล่านี้ แต่ตอนนี้เราเห็นผู้ประกอบการไทยขยับบ้าง” นายสืบศักดิ์ กล่าว.