หลังจากรัฐบาลมีนโยบายในการส่งเสริมการผลิตและการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า หรือ รถยนต์อีวี (Electric Vehicle : EV) โดยพยายามหาทางดึงดูดบริษัทขนาดใหญ่ที่เป็นผู้นำที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีรถยนต์อีวี เข้ามาตั้งฐานการผลิตในประเทศไทย
ควบคู่กับการจัดทำมาตรการ เพื่อสนับสนุนเป้าหมายในการผลิตรถอีวีให้ได้ 30% ของการผลิตรถยนต์ในประเทศไทยภายในปี 2573
สำหรับการจัดทำมาตรการดังกล่าวมีความคืบหน้ามาอย่างต่อเนื่อง ล่าสุด แหล่งข่าวจากทำเนียบรัฐบาล แจ้งว่า ในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) สัปดาห์หน้าวันอังคารที่ 8 ก.พ. 65 มีความเป็นไปได้สูงว่า ที่ประชุมจะมีการพิจารณามาตรการสนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า ครอบคลุมประเภทรถยนต์ รถจักรยานยนต์ และรถกระบะ หลังจากได้มีการจัดทำมาตรการเสร็จสิ้นแล้ว รอเพียงแค่การส่งหนังสือเวียนถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทำความเห็นประกอบการพิจารณา
“ตอนนี้หน่วยงานต่าง ๆ กำลังรับหนังสือเวียนและจัดทำความเห็นประกอบเพื่อนำเสนอครม. โดยเหลือเพียงแค่ 1-2หน่วยงานเท่านั้น หากทำเสร็จได้เร็ว ในสัปดาห์หน้าก็น่าจะเข้าครม.ได้ โดยจะออกมาเป็นแพ็คเกจ” แหล่งข่าวระบุ
แหล่งข่าว ยังระบุว่า เบื้องต้นมาตรการนี้ มีทั้งการลดอากรขาเข้า ลดภาษีสรรพสามิต และให้ เงินอุดหนุน โดยมีข้อผูกผันในการผลิต และการใช้ชิ้นส่วนสำคัญในประเทศ ซึ่งที่ผ่านมาคณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติได้เห็นชอบไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
ทั้งนี้ตามมาตรการดังกล่าว ได้กำหนดรูปแบบเอาไว้ 3 เรื่องหลัก คือ
โดย 2 รูปแบบแรกกำหนดระยะเวลาในปี 2565-2568 ส่วนรูปแบบที่ 3 กำหนดระยะเวลาในปี 2569-2578
สำหรับแนวทางการส่งเสริมตามมาตรการ แบ่งรถยนต์ออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้
1.รถยนต์
กรณีแรก รถยนต์ที่มีราคาขายปลีกแนะนำไม่เกิน 2 ล้านบาท สำหรับรถยนต์ที่ผลิตและประกอบในประเทศ มีสิทธิประโยชน์ คือ
สำหรับรถยนต์ที่มีราคาขายปลีกแนะนำไม่เกิน 2,000,000 บาท ในปี 2567 ต้องผลิตเพื่อชดเชยการนำเข้าในปี 2565-2566 โดยสามารถผลิตรถรุ่นใดก็ได้
กรณีที่สอง รถยนต์ที่มีราคาขายปลีกแนะนำมากกว่า 2 ล้านบาท แต่ไม่เกิน 7 ล้านบาท กำหนดสิทธิประโยชน์ คือ
ทั้งนี้ต้องเลือกผลิตรถยนต์จากรถรุ่นใดรุ่นหนึ่งที่ได้นำเข้ามา ในช่วงปี2565-2566 เท่านั้o ขณะเดียวกันยังกำหนดเงื่อนไขผู้ขอรับสิทธิตามมาตรการส่งเสริมทั้ง 2 กรณี ต้องเป็นผู้ประกอบอุตสาหกรรมภายในประเทศ, ผลิตรถยนต์ชดเชยในปี 2567 เท่ากับจำนวนที่นำเข้า CBU ในปี 2565-2566 หากจำเป็นต้องขยายเวลา การผลิตชดเชยได้ถึง 2568 และจะต้องผลิตในอัตราส่วน 1 ต่อ 1.5 เท่า (นำเข้า 1 คัน ผลิต 1.5 คัน)
2.รถจักรยานยนต์
กำหนดราคาขายปลีกแนะนำไม่เกิน 150,000 บาท มีสิทธิประโยชน์ผ่านเงินอุดหนุน 18,000 บาท/คัน ทั้ง CKD และ CBU (ปี 2565-2568)
ส่วนเงื่อนไขของผู้ขอรับสิทธิตามมาตรการส่งเสริมฯ ต้องเป็นผู้ประกอบอุตสาหกรรมภายในประเทศ, ผลิตรถยนต์ชดเชยในปี 2567 เท่ากับจำนวนที่นำเข้า CBU ในปี 2565 – 2566 หากจำเป็นต้องขยายเวลาการผลิตชดเชยได้ถึงปี 2568 โดยจะต้องผลิตในอัตราส่วน 1 ต่อ 1.5 และต้องเลือกผลิตรถยนต์จากรถรุ่นใดรุ่นหนึ่งที่ได้นำเข้ามาในช่วงปี 2565 – 2566 เท่านั้น
3.รถกระบะ
ราคาขายปลีกแนะนำไม่เกิน 2 ล้านบาท มีสิทธิประโยชน์ คือ ลดภาษีสรรพสามิตเป็น 0% ในปี 2565-2568 และเงินอุดหนุน (ปี 2565-2568) วงเงิน 150,000 บาท สำหรับรถยนต์กระบะประเภท BEV ที่มีแบตเตอรี่ขนาดตั้งแต่ 30 กิโลวัตต์ชั่วโมงขึ้นไป (เฉพาะรถยนต์กระบะที่ผลิตในประเทศ เท่านั้น)
ส่วนเงื่อนไขต้องทำสัญญากับกรมสรรพสามิตก่อนการขอใช้สิทธิผลิตรถยนต์กระบะประเภท BEV ทั้งนี้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข ที่กรมสรรพสามิตประกาศกำหนด, ผู้ขอรับสิทธิต้องเป็นผู้ประกอบอุตสาหกรรม, ผู้ขอรับสิทธิต้องยื่นโครงสร้างราคาขายปลีกแนะนำกับกรมสรรพสามิตเพื่อพิจารณา สำหรับรถยนต์กระบะประเภท BEV ที่มีราคาขายปลีกแนะนำไม่เกิน 2 ล้านบาท และผู้ขอรับสิทธิต้องผลิตหรือใช้แบตเตอรี่ที่ผลิตหรือประกอบใน ประเทศ โดยต้องเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง