จากกรณีที่สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาได้ดำเนินการเปิดรับสมัครบุคคลเพื่อเข้ารับการสรรหาเป็น กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ จำนวน 2 คน จากผู้มี คุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม และมีความรู้ความเชี่ยวชาญในด้านต่าง ๆ ตามพระราชบัญญัติ องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และ กิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2565 อันประกอบด้วย
- ด้านกิจการโทรคมนาคม จำนวน 1 คน
- และ ด้านอื่น 1 ที่จะยังประโยชน์ต่อการปฏิบัติหน้าที่ ของ กสทช. (ด้านกฎหมาย) จำนวน 1 คน
ซึ่งได้ปิดรับสมัครไปแล้วเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา
ล่าสุดพรุ่งนี้วันที่ 28 เมษายน คณะกรรมการสรรหากรรมการ กสทช. ได้กำหนดหลักเกณฑ์การแสดงวิสัยทัศน์และการสัมภาษณ์ ดังนี้
1. กำหนดให้ผู้สมัครแสดงวิสัยทัศน์ด้วยวาจาและเข้ารับการสัมภาษณ์ คนละไม่เกิน 10 นาที โดยแบ่งเป็นการแสดงวิสัยทัศน์ 5 นาที และการสัมภาษณ์ 5 นาที โดยให้แสดงถึงประสบการณ์หรือผลงานที่เป็นที่ประจักษ์ และวิเคราะห์สภาพปัญหาปัจจุบันที่จะยังประโยชน์ต่อการปฏิบัติหน้าที่กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติในด้านที่ตนสมัคร และการสัมภาษณ์ของคณะกรรมการสรรหา ทั้งนี้ โดยไม่อนุญาตให้ผู้สมัครใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ หรือเอกสารใด ๆ ในการแสดงวิสัยทัศน์ดังกล่าว
2. กำหนดการแสดงวิสัยทัศน์และการสัมภาษณ์ ในวันพฤหัสบดีที่ 28 เมษายน 2565 ณ ห้องประชุมคณะกรรมาธิการ หมายเลข CA 428 ชั้น 4 สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา อาคารรัฐสภาถนนสามเสน แขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร โดยเรียงตามด้านและรายชื่อผู้สมัคร
ตามลำดับที่สมัครในแต่ละด้านดังนี้
- ด้านอื่น ๆ ที่จะยังประโยชน์ ต่อการปฏิบัติหน้าที่ของ กสทช.
เวลา 09.00 - 12.00 นาฬิกา ด้านกฎหมาย (ผู้สมัครหมายเลข 1-13
- ด้านกิจการโทรคมนาคม ผู้สมัครหมายเลข 1 - 15
จำนวน 13 คน เวลา 13.00 – 16.30 นาฬิกา
สำหรับผู้สมัคร กรรมการ กสทช. จำนวนทั้งสิ้น 28 คน แบ่งเป็นแต่ละด้าน ดังนี้
ด้านกิจการโทรคมนาคม จำนวน 15 คน
- พันเอก ธนัทเมศร์ ภัทรณรงค์รัศม์
- นายวันชัย ผโลทัยถเกิง
- รองศาสตราจารย์อธิคม ฤกษบุตร
- นายอานนท์ ทับเที่ยง
- พลเรือตรี วิพันธุ์ ชมะโชติ
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์พสุ แก้วปลั่ง
- นายก่อกิจ ด่านชัยวิจิตร
- รองศาสตรจารย์สมภพ ภูริวิกรัยพงศ์
- ศาสตราจารย์อภิรัฐ ศิริธราธิวัตร
- นายวีรวัฒน์ เกียรติพงษ์ถาวร
- นายเทพสิทธิ์ ประวาหะนาวิน
- นายวุฒิกร ทิวะศศิธร
- นายพันธ์ศักดิ์ จันทร์ปัญญา
- นางสาวจินตนันท์ ชญาต์ร ศุภมิตร
- นายประเสริฐ อภิปุญญา
ด้านกฎหมายจำนวน 13 คน
- นายจีรพงศ์ วัฒนะรัตน์ อดีตที่ปรึกษาด้านกฎหมาย สํานักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
- นายสรศักดิ์ จันเกษม อธิบดีผู้พิพากษาภาค 2
- นายชัยนันท์ งามขจรกุลกิจ รองอธิบดีอัยการ สำนักงานคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ
- นายชัชชม อรรฆภิญญ์ อัยการอาวุโส
- พันตํารวจเอก ศิริพล กุศลศิลป์วุฒิ รองผู้บังคับการ สถาบันส่งเสริมงานสอบสวน สํานักงานกฎหมายและคดี สํานักงานตํารวจแห่งชาติ
- นายปรีชา บุญโรจน์พงศ์ ประธานแผนกคดีเลือกตั้งในศาลอุทธรณ์ภาค
- ผศ.ภูมิศิษฐ์ มหาเวสน์ศิริ รองเลขาธิการ กสทช.
- นายประพฤติ ฉัตรประภาชัย กรรมการผู้จัดการ บริษัท ประพฤติ แอนด์ พาร์ทเนอร์ส จำกัด
- พลเอก ประชาพัฒน์ วัจนะรัตน์ เจ้ากรมพระธรรมนูญ
- พลโท พิเชษฐ คงศรี อดีตหัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันกลาโหม
- นายจิตรนรา นวรัตน์ อดีตผู้ตรวจการอัยการ
- นายสมศักดิ์ อินทร์พันธ์ อดีตรองอธิบดีผู้พิพากษาศาลภาษีอากรกลาง
- พลตำรวจเอก ณัฐธร เพราะสุนทร อดีตที่ปรึกษาพิเศษสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
รายชื่อคณะกรรมการ สรรหา กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)
- นายเกียรติพงศ์ อมาตยกุล ประธานกรรมการสรรหา (ผู้พิพากษาในศาลฎีกาซึ่งดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่า ผู้พิพากษาศาลฎีกาหรือผู้พิพากษาอาวุโสซึ่งเคย ดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าผู้พิพากษาศาลฎีกาซึ่งได้รับคัดเลือกโดยที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา)
- นายสมศักดิ์ สุวรรณสุจริต รองประธานกรรมการสรรหา (ผู้ตรวจการแผ่นดินซึ่งได้รับคัดเลือก โดยที่ประชุมผู้ตรวจการแผ่นดิน)
- นายนภดล เทพพิทักษ์ กรรมการสรรหา (ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญซึ่งได้รับคัดเลือก โดยที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลรัฐธรรมนูญ)
- นายณรงค์ รัฐอมฤต กรรมการสรรหา (กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติซึ่งได้รับคัดเลือกโดยที่ประชุมคณะกรรมการป้องกัน และปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
- นางยุพิน ชลานนท์นิวัฒน์ กรรมการสรรหา (กรรมการตรวจเงินแผ่นดินซึ่งได้รับคัดเลือกโดย
ที่ประชุมคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน)
- นายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ กรรมการสรรหา (ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย)
- นายวิษณุ วรัญญู กรรมการสรรหาและเลขานุการและโฆษกคณะกรรมการสรรหา (ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดซึ่งได้รับคัดเลือกโดยที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด).