เพราะ "วิกฤติโควิด" ที่ยังอยู่ไปอีกนาน ส่งผลให้ภาวะเศรษฐกิจของไทยยังไม่ฟื้นตัว ซ้ำเติมด้วยปัญหาราคาน้ำมันขึ้น ข้าวของแพง ประชาชนส่วนใหญ่จึงต้องใช้ชีวิตอยู่อย่างยากลำบาก
โดยรัฐบาลพยายามแก้ปัญหาเพื่อบรรเทาความเดือดร้อน ด้วยการตรึงราคา การอุดหนุนราคาต่อเนื่อง โดยรัฐจำเป็นต้องใช้งบประมาณจำนวนมาก
ล่าสุดเข้าสู่เดือนพฤษภาคม เรายังต้องเผชิญกับสินค้าอุปโภคบริโภคสูงขึ้น เพราะวัตถุดิบขยับตามต้นทุน ค่าขนส่งปรับขึ้นตามราคาน้ำมัน ผู้ประกอบการ ภาคส่วนต่างๆ อั้นไม่ไหว เดือดร้อนถึงผู้บริโภค
ขณะที่ภาครัฐก็พยายามตรึงราคา แก้ปัญหา ด้วยวิธีการ ทำให้ทุกฝ่ายหันไปจับตารัฐบาลว่ามีแผนรับ บรรเทาผลกระทบอย่างไร
การ "ตรึงราคาน้ำมันดีเซล" ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา ไม่ให้เกิน ลิตรละ 30 บาท โดยใช้เงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงหลายหมื่นล้านบาท ในที่สุดอุ้มไม่ไหว คณะกรรมการบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง หรือ กบน. มีมติเห็นชอบแนวทางการปรับราคาน้ำมันดีเซลตั้งแต่วันที่ 1 พ.ค. 65 ขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 32 บาทต่อลิตร
โดยหากไม่มีการอุดหนุนจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ราคาน้ำมันดีเซลคาดว่าจะอยู่ที่ประมาณ 40 บาทต่อลิตร และจากการอุดหนุนเพียงครึ่งเดียวตามมติคณะรัฐมนตรี น่าจะทำให้เพดานการปรับราคาจะอยู่ที่ประมาณ 35 บาทต่อลิตร หากในแต่ละรอบสัปดาห์ราคาน้ำมันตลาดโลกมีการปรับลดลง ก็จะมีการปรับเงินอุดหนุนและปรับเพดานราคาลดลงตามการเปลี่ยนแปลงของราคาน้ำมันต่อไป
นอกจากนี้ กรมสรรพสามิต ยังได้ออกกฎกระทรวงกำหนดพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ 19) พ.ศ. 2565 ลดอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซลลง 3 บาทต่อลิตร มีผลตั้งแต่วันที่ 18 ก.พ. - วันที่ 20 พ.ค. 65 ส่งผลให้ปัจจุบันอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซลบี 7 ลดลงจาก 5.99 บาทต่อลิตร เหลือ 3.20 บาทต่อลิตร
“ดร.นณริฏ พิศลยบุตร” นักวิชาการอาวุโส ทีดีอาร์ไอ อธิบายว่า กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงทำหน้าที่ลดความผันผวนของราคา แปลว่าราคาสูงก็จะเอาเงินไปอุดหนุน ส่วนเวลาราคาต่ำก็จะเก็บเงินเข้ากองทุนเพิ่ม
ดังนั้น ถ้าปัญหา คือราคาผันผวนระยะสั้นจะใช้กองทุนฯ ได้ ปัญหาปัจจุบันที่เกิดขึ้น น่าจะรุนแรงเพราะจากเศรษฐกิจโลก และปัญหารัสเซียบุกยูเครน ซึ่งยังไม่รู้ว่าจะสิ้นสุดเมื่อไหร่ จึงเป็นปัญหาพื้นฐานในระยะกลางถึงยาว เมื่อปัญหาเป็นปัจจัยพื้นฐานแล้ว การเข้ามาแทรกแซงของกองทุนจะไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ เพราะราคาไม่ได้ขึ้นๆลงๆ แต่ขึ้นสูงอย่างต่อเนื่องและยาวนาน กองทุนจึงขาดทุนจำนวนมาก
ทั้งนี้จากการตรวจสอบพบว่า ฐานะกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ณ วันที่ 26 เม.ย. 65 ติดลบ 56,278 ล้านบาท โดยแบ่งเป็นบัญชีน้ำมันติดลบ 24,302 ล้านบาท และบัญชีก๊าซ LPG ติดลบ 31,976 ล้านบาท
มีเสียงวิพากวิจารณ์ว่าที่ผ่านมาต้องยอมรับว่า รัฐบาลไม่ได้นิ่งนอนใจกับการแก้ไขปัญหา แต่อาจเพราะมาตรการ ไม่เพียงพอและไม่สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมของปัญหาที่ลุกลามเกินเยียวยา แล้วรัฐบาลมีทางเลือกอะไรบ้างในตอนนี้
ดร.นณริฏ ระบุว่า ตามความเห็นของนักวิชาการ มองว่า รัฐมี 2 ทางเลือก คือ การเข้าไปอุ้มโดยมีต้นทุน คือ ภาระงบประมาณ หรือไม่อุ้ม ปล่อยให้ราคาค่อยๆปรับและใช้กองทุนช่วยให้ราคาเพิ่มแบบช้าๆ ซึ่งปัจจุบันภาครัฐเลือกวิธีการหลัง ดังนั้นอาจจะต้องรอดู 3-6 เดือน หากราคาแพงยาวขึ้นอาจจะต้องใช้งบประมาณมาช่วยเพิ่มจากปัจจุบัน โดยในมุมมองทางวิชาการก็เห็นด้วย ด้วยเหตุผลดังนี้
ส่วนการแก้ปัญหาระยะยาวทางออก ดร.นณริฏ ระบุว่า รัฐควรหันมาใช้ renewable energy มากขึ้น การลดการใช้พลังงาน และการสร้างรายได้ให้กับกลุ่มเปราะบาง