วันที่ 1 กรกฎาคม เป็นวันที่ นายสมชัย เลิศสุทธิวงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ AIS รับตำแหน่ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร อย่างเป็นทางการ
ปัจจุบัน AIS มีจำนวนผู้ใช้บริการมากกว่า 43 ล้านราย และ ณ สิ้นไตรมาส 1/2565 มีสินทรัพย์ 355,783.44 ล้านบาท และวันนี้ 1 กรกฎาคม 2565 “สมชัย” ได้ถ่ายทอดเส้นทางและประสบการณ์การบริหารองค์กรแสนล้านไว้ดังนี้
ล่าสุด "สมชัย" ได้โพสต์ข้อความส่วนตัวว่า วันนี้ 1 ก.ค. เมื่อ 8 ปีที่แล้ว ผมได้รับมอบหมายให้เป็น CEO ของ AIS แต่ผมไม่ได้อยู่เมืองไทย เพราะกำลังคุยงานกับ Huawei ที่ประเทศจีน เพื่อเตรียมนำเทคโนโลยี 4G มาใช้ในเมืองไทย พอกลับมาถึง วันที่ 2 กค. ผมก็ทำ townhall กับพนักงานทุกคน บอกว่านับจากวันนี้ AIS จะต้องเปลี่ยนตัวเองจาก Mobile Operator สู่ Digital Life Service Provider ให้ได้ ยังจำได้ว่ามี พี่ๆหลายคนใน AIS ทักมาว่า มันเป็นภารกิจที่ท้าทายมาก ผมจะหาเหตุผลอะไรไปชวนให้พนักงานต้องเปลี่ยนตัวเอง ในขณะที่เรายังเป็นเบอร์1 ที่แข็งแรงมากในตลาด ผมจึงตอบไปว่า เราต้องเปลี่ยนแปลงในวันที่เราแข็งแรง เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วในอนาคต ดีกว่าที่ต้องเราต้องถูกบังคับเปลี่ยนแปลงในวันที่เราจะปรับตัวไม่ทัน
วันนี้ครบ 8 ปี ที่ผมเป็น CEO AIS เลยอยากเล่าว่า มีอะไรบ้างที่ fail และ มีอะไรบ้างที่ success เผื่อจะได้บันทึกเป็น บทเรียน สำหรับการบริหารงานองค์กรขนาดใหญ่อย่าง AIS ของผม
3 ข้อที่ Fail
1. fail แรก ผมเคยฝันว่า AIS จะสร้าง digital platform ของคนไทย เพื่อให้คนไทยได้ใช้งาน แบบไม่ต้องพึ่งของต่างชาติ แต่ต้องยอมรับว่า ผมทำมันไม่สำเร็จ เพราะคนของเรายังเก่งสู้เขาไม่ได้ อีกทั้งการทุ่มเท resource และ ecosystem ของเราก็น้อยกว่าเขามาก เหมือนเราเป็นทีมฟุตบอลประจำโรงเรียนมัธยมของไทย ไปแข่งกับทีมฟุตบอลโลก ปานนั้นเลยทีเดียว ข้อนี้ทำให้ต้องคิดหาเป้าหมายใหม่ และวิธีการทำงานใหม่ เพื่อไม่ให้ล้มเหลวอีก
2. ในการจะเปลี่ยนองค์กรตามที่ตั้งใจ Culture คือ หัวใจสำคัญอันดับ 1 แม้เราจะได้รับการจัดอันดับให้อยู่ในอันดับต้นๆของบริษัทที่น่าทำงานด้วย ได้รับรางวัลทางด้าน HR มากมาย แต่ความเป็นจริง คนภายในของบริษัทที่เคยเก่ง เคยดี แต่พอถูก digital เข้ามา Disrupt อย่างรวดเร็วและมีความ Dynamics ขั้นรุนแรง ก็ยังอ่อนแอลง แม้บริษัทจะมีแผนงานด้านบุคลากรที่ชัดเจน ผมก็ยังไม่สามารถพัฒนาให้ Gen เดิมที่มีอยู่เข้มแข็งขึ้นได้ทัน เพื่อให้สามารถทำงานร่วมกับ Genใหม่ที่รับเข้ามา ให้มีความสุขได้ ตอนนี้มีคนลาออกกันมาก มีคนเข้าใหม่กันเยอะ หมุนเวียนกันไป ไม่เหมือนเดิมที่เคยอยู่กันแบบอบอุ่น แม้ว่าทุกบริษัทในปัจจุบัน ก็จะเจอปัญหาแบบนี้ ไม่เว้นแม้แต่ บริษัท start up หรือ tech co ที่ sexy ที่จ่ายเงินเดือนมากมาย แต่ผมก็ยังไม่ยอมรับ เพราะผมเชื่อว่า ถ้าผมทำให้ทุกคน มีความสุขกับการทำงานได้ เราจะมีผลงานที่ยอดเยี่ยมกว่านี้ ผมตั้งคำถามตัวเองเสมอว่า ผมเป็น Leader ที่แย่หรือเปล่า แม้ว่า จะมี Quote ของ Steve Jobs ที่ว่า “If you want to make everyone HAPPY. Don’t be a Leader. Sell ICE CREAM” มาให้กำลังใจ แต่ผมก็ยังถือว่าผม fail เรื่องนี้อยู่ดี
3. fail สุดท้าย คือ ยังบริหารชีวิตส่วนตัวไม่ได้เรื่อง เคยประกาศตั้งใจจะแต่งงานมาตั้งแต่ 3 ปีที่แล้ว ไม่ได้แค่พูดเล่นๆ แต่เพราะจัดการชีวิตตัวเองได้ไม่ดีพอ เลยทำไม่สำเร็จ ถือว่าเป็นตัวอย่างที่ไม่ดี และเป็น fail อันที่3 เพราะชีวิตคนที่จะประสบความสำเร็จได้จริง ต้อง Balance ได้ทั้งด้านการงานและชีวิตส่วนตัว
3 ข้อที่ Success
1. success แรก สามารถนำองค์กรผ่านวิกฤติจากการเปลี่ยนผ่านในระบบสัญญาร่วมการงาน มาสู่ระบบใบอนุญาตได้อย่างสมบูรณ์ ไม่ถูกปิด NW ตอนประมูลคลื่น 900 มาไม่ได้ในตอนแรก ทั้งนี้เกิดจากความร่วมมือร่วมใจของพนักงานทุกคน และ Regulator ที่ยังยึดมั่นในหลักการ แม้จนถึงตอนนี้จะยังมีคดีทางการเมืองอีกไม่น้อย แต่ก็เชื่อมั่นอย่างยิ่งว่า ด้วยข้อเท็จจริง ความบริสุทธิ์ โปร่งใสของเรา ทุกอย่างก็น่าจะผ่านไปได้
2. success ที่สอง แม้จะสร้าง Digital Platform ของคนไทยไม่สำเร็จ แต่ได้วางรากฐานที่แข็งแรงให้กับบริษัทและคนไทย คือ การมี 5G Infrastructure ที่ทันสมัย ครอบคลุมทั่วประเทศ, การมี FBB และ Enterprise business มาให้บริการ และ การมี digital services ต่างๆอย่าง AIS play, Game, Digital Finnace เป็นต้น ซึ่งถือเป็นการวางรากฐานที่แข็งแกร่งและยั่งยืนให้กับ AIS และคนไทยสามารถพัฒนาต่อไปได้
3. success ที่สาม แม้ว่า AIS จะผ่านวิกฤตต่างๆมามากมาย ทั้งเรื่องการเมืองที่มักถูกโยงใยเข้ามา วิกฤตโควิดที่ยังไม่จางหาย รวมถึงเศรษฐกิจที่ย่ำแย่และการแข่งขันที่รุนแรงในวันนี้ แต่ AIS ยังรักษาความเป็นผู้นำไว้ได้ ทั้งเรื่อง market share, ผลกำไร ทำให้เราสามารถดูแล Stake Holder ทุกคนได้อย่างดี ทั้งลูกค้า คู่ค้า พนักงาน ผู้ถือหุ้น และสังคม ที่สำคัญคือ ในช่วงที่ประเทศเกิดวิกฤตรุนแรงอย่างโควิด เราสามารถที่เข้าไปช่วยแบ่งเบาภาคสาธารณสุข สนับสนุนภาครัฐ และไม่เคยละเลยหน้าที่ในฐานะ Corporate Citizen ที่ยังคงสร้างงาน กระจายรายได้ จ่ายภาษีอย่างครบถ้วนให้แก่ประเทศ
ในโอกาสครบ 8 ปีเต็มกับบทบาท CEO AIS ของผม ก้าวต่อไปนับจากนี้ คือการที่ต้องส่งผ่านไปยังรุ่นหลังให้อย่างแข็งแรง ทั้งการแก้ไขข้อผิดพลาดที่เคยมี และการเดินต่อไปในอนาคตตามที่วางไว้ คือ การเป็น Cognitive Telco หรือ องค์กรอัจฉริยะ ที่จะรู้จักลูกค้าของเรามากขึ้น ตอบความต้องการได้เร็วขึ้น เป็น infrastructure ให้กับคู่ค้าของเราในทุกอุตสาหกรรม เพิ่อส่งสินค้าและบริการของเขา มาใช้ในชีวิตประจำวันของลูกค้าเรา แบบ real time, interactive และ personalization ผมขอยืนยันว่า แม้ผ่านมาแล้วถึง 8 ปี ผมยังมีพลังอย่างเต็มที่ ที่จะก้าวเดินต่อไป จนกว่า successor ผมจะรับช่วงต่อได้ ผมและพนักงานกว่า 13,000 ชีวิต พร้อมจะช่วยกัน พัฒนา และขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลประเทศให้อย่างดีที่สุดต่อไป
ขอบคุณมากครับ.