ทั้งนักอนุรักษ์ และประชาชนผู้รักธรรมชาติ ต่างเกิดข้อกังขาว่า ธรรมชาติที่ได้รับการฟื้นฟู จะกลับมาพินาศอีกครั้งหรือเปล่า
"ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์” รองคณบดีคณะประมง ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัเกษตรศาสตร์ ได้โพสต์เรื่องราวของการฟื้นฟูธรรมชาติของอ่าวมาหยา ในเฟซบุ๊กว่า ขณะนี้ เรามีฉลามครีบดำอย่างน้อย 161 ตัว อยู่ในอ่าว (มาหยา)แห่งนี้ นี่คือจำนวนที่ “อาจารย์ธรณ์” บอกว่า นับได้จากภาพจากโดรน แต่เชื่อว่าจะมีมากกว่าที่นับได้ และอาจารย์ยังบอกอีกว่า ตลอดการดำน้ำในทะเลไทยเกือบ 50 ปี อาจารย์ไม่เคยเจออะไรแบบนี้
“...ผมเรียนจบจาก Great Barrier Reef เคยไปหลายทะเลทั่วโลก ผมก็ไม่เคยเจออะไรแบบนี้ เคยเจอฝูงฉลามมากมาย แต่ฉลามหลายสิบตัวในน้ำตื้นแค่เอว บางตัวแค่เข่า รวมอยู่กันแน่นขนัด ผมไม่เคยเห็น และไม่เคยคิดเลยว่าจะได้เห็น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในทะเลไทย”
นี่คือความหมายของคำว่า “มหัศจรรย์” ...และนี่คือสิ่งที่เราต้องทำทุกทางเพื่อรักษาความมหัศจรรย์แห่งมาหยาไว้ให้จงได้
กรมอุทยานกำลังเริ่มโครงการศึกษาวิจัยฉลามในอ่าวมาหยาโดยละเอียด ข้อมูลขั้นต้นระบุว่า เราพบฉลามอย่างน้อย 5 ตัว ออกลูกในอ่าวมาหยา และยังพบฉลามขนาดเล็กจำนวนมากเข้ามาบริเวณชายหาดเป็นประจำ มีการแบ่งเขตของฉลามในอ่าวมาหยา มีอีกหลายพฤติกรรมที่น่าเรียนรู้เป็นอย่างยิ่ง
ข้อมูลที่ได้ ไม่ใช่แค่เป็นประโยชน์ต่อประเทศไทย ยังมีความสำคัญอย่างมากต่อการอนุรักษ์ฉลามในระดับโลก
อ่าวมาหยาจะเป็นจุดเริ่มต้นของการศึกษาพฤติกรรมฉลามอย่างจริงจังเป็นครั้งแรกของประเทศไทย
“อาจารย์ธรณ์” ยังได้โพสต์เพิ่มเติมอีกในวันที่ 14 ธันวาคม 2564 ถึงการประชุมที่ปรึกษาอุทยานทางทะเล ซึ่งมีอธิบดีกรมอุทยานฯ เป็นประธาน เรื่องสำคัญที่พิจารณาคือการเปิดอ่าวมาหยา โดยมีข้อสรุปที่ผ่านการพิจารณา คือ
ดังนั้น จึงต้องขอเน้นย้ำชัดๆ ว่า “ไม่มีการลงเล่นน้ำในอ่าวมาหยา”
“อาจารย์ธรณ์” ย้ำว่า การเปิดอ่าวมาหยา จะไม่ส่งผลกระทบต่อแนวปะการังและสัตว์ทะเลในพื้นที่ ไม่มีเรือเข้า ไม่มีคนลงไปเล่นน้ำ ทุกอย่างเหมือนเดิมสำหรับฉลามและปะการัง
“มหัศจรรย์” แห่งทะเล ... สิ่งที่เราต้องทำทุกทางเพื่อรักษาความมหัศจรรย์แห่งมาหยาไว้ให้จงได้
หน้า 16 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 41 ฉบับที่ 3,745 วันที่ 2 - 5 มกราคม พ.ศ. 2565