วันนี้เป็น “วันไหว้” ตรงกับวันจันทร์ที่ 31 มกราคม 2565 ชาวไทยเชื้อสายจีนต่างหาซื้อของไหว้ตรุษจีนเพื่อ ไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์เป็นการไหว้ขอบคุณสิ่งศักดิ์สิทธิ์ หรือเทพเทวดาผู้คุ้มครองบ้านเรือน ที่มาปกปักดูแลให้เจ้าบ้านอยู่อย่างร่มเย็นเป็นสุข ไหว้บรรพบุรุษ เพื่อระลึกถึงญาติพี่น้องที่ถึงแก่กรรมไปแล้ว
ทั้งยังเป็นการแสดงความกตัญญูตามความเชื่อของชาวจีน ไหว้ทำทานสัมภเวสี จุดประทัด เพื่อไล่สิ่งชั่วร้ายออกไปให้หมด และเพื่อความเป็นสิริมงคลต้อนรับตรุษจีน
ขณะที่ในวันพรุ่งนี้ 1 กุมภาพันธ์ 2565 ถือเป็น “วันเที่ยว” หรือ วันถือ เป็นวันที่หนึ่ง (ชิวอิก) ของเดือนที่หนึ่งของปี ถือธรรมเนียมโบราณที่ยังปฏิบัติสืบต่อกันมาถึงปัจจุบันคือ “ป้ายเจีย” เป็นการไหว้ขอพรและอวยพรจากญาติผู้ใหญ่และผู้ที่เคารพรัก โดยนำส้ม ซึ่งถือเป็นการนำความสุขหรือโชคลาภไปให้
ส่วนชาวไทยเชื้อสายจีนที่มีแผนพักผ่อน เที่ยวนอกบ้าน มาดู 15 จุดเช็คอินสำหรับการเที่ยวไหว้พระ ไหว้เจ้าขอพร
1.วัดมังกรกมลาวาส วัดเล่งเน่ยยี่ 1 กรุงเทพมหานคร
วัดมังกรกมลาวาส วัดเล่งเน่ยยี่ 1 ถือเป็น 1 ใน 3 วัดมังกร เป็นที่ประดิษฐานของเทพเจ้าที่สำคัญ เช่น ซำป้อฮุกโจ้ว ไท้ส่วยเอี้ย จับโป๊ยล่อหั่น หั่วท้อเซียงซือกง
ที่ตั้ง: เลขที่ 423 ถนนเจริญกรุง แขวงป้อมปราบ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร 10100 เวลาทำการ: 06.00-18.00 น.
2.วัดบรมราชากาญจนาภิเษกอนุสรณ์ วัดเล่งเน่ยยี่ 2 จังหวัดนนทบุรี
ภายในวัดยังประดิษฐานพระพุทธเจ้า 3 องค์ คือ องค์อดีต องค์ปัจจุบัน และองค์อนาคต และรอบพระวิหารยังประดับด้วยหินแกะสลักต่างๆ มากมายที่นำมาจากประเทศจีนอีกด้วย
ที่ตั้ง: 75 หมู่ที่ 4 ตำบลโสนลอย อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี 11110
เวลาทำการ: 06.00-18.00 น.
3.ศาลเจ้าพ่อเห้งเจีย ไต่เสี่ยฮุกโจ้ว วัดสามจีน กรุงเทพมหานคร
มีความเก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย สร้างขึ้นตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 2 เป็นที่ประดิษฐานขององค์เจ้าพ่อเห้งเจียซึ่งเป็นปางไต่เสี่ยฮุกโจ้วคือ ปางที่สำเร็จเป็นอรหันต์แล้ว มีอายุยาวนานหลายร้อยปี เป็นองค์แรกของประเทศไทยที่ นิยมมาขอพรเพื่อให้มีความเฉลียวฉลาด มีปฏิภาณไหวพริบ ทำมาค้าขึ้น และรอดพ้นทุกอุปสรรคปัญหา
ที่ตั้ง: 66 ถนนพระราม4 สัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร
เวลาทำการ: 06.00-19.00 น.
4.ศาลเจ้าพ่อเสือ เสาชิงช้า กรุงเทพมหานคร
ศาลเจ้าจีนที่เก่าแก่ ชาวจีนเรียกศาลเจ้านี้ว่า “ตั่วเหล่าเอี้ย” หรือเทพเจ้าใหญ่ โดยเป็นที่ประดิษฐานรูปเอี่ยนเถี้ยนส่งเต้ รูปเจ้าพ่อเสือ รูปเจ้าพ่อกวนอู และรูปเจ้าแม่กวนอิม นิยมมาขอพรศาลเจ้าพ่อเสือในเรื่องของ การงาน การเงิน และโชคลาภต่างๆ
ที่ตั้ง: 468 ถนนตะนาว เขตพระนคร กรุงเทพฯ (ใกล้เสาชิงช้า)
เวลาทำการ: 06.00-17.00 น.
5.ศาลเจ้าแม่กวนอิม มูลนิธิเทียนฟ้า สร้างปี พ.ศ.2445 ประดิษฐานเจ้าแม่กวนอิมปางประทานพร แกะสลักจากไม้จันทร์หอม สีทอง รูปแบบราชวงศ์ถัง อัญเชิญมาจากประเทศจีนปี พ.ศ.2501 เป็นโรงพยาบาลเทียนฟ้ามูลนิธิ รักษาแพทย์แผนปัจจุบันและแพทย์แผนจีน
ที่ตั้ง: 606 ถนนเยาวราช เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพฯ เปิด : 24 ชั่วโมง
6.ศาลเจ้าพ่อกวนอู เทพเจ้าแห่งความซื่อสัตย์ ประดิษฐานองค์ไฉ่ซิงเอี๊ย, เจ้าพ่อเสือ
ที่ตั้ง ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาในชุมชนสมเด็จย่า ใกล้กับสวนสมเด็จย่า หลังวัดอนงคาราม ย่านคลองสาน ฝั่งธนบุรี กรุงเทพฯ
7.วัดทิพยวารีวิหาร (วัดกัมโล่วยี่) สร้างสมัยกรุงธนบุรี พ.ศ. 2319 ประดิษฐานองค์เทพบุ่งเชียง, เทพไท้อิม (จันทราเทพ), เทพไท้เอี๊ยง (สุริยะเทพ), เทพฮั่วท้อ, เทพฮั้วกวงไต่ตี่ (เทพสามตา), เทพไท้เอี๊ยง, เทพมังกรเขียว
ที่ตั้ง: 119 ซอยทิพยวารี ถนนตรีเพชร แขวงวังบูรพาภิรมย์ เขตพระนคร กรุงเทพฯ เปิด : 06.00-18.00 น.
8.วัดโพธิ์แมนคุณาราม (วัดโพวมิ้งปออึงยี่) วัดจีนในพุทธศาสนานิกายมหายาน ผสมผสานศิลปะจีน-ไทย-ทิเบต สร้างพ.ศ.2502 มีซุ้มประตูม้า 5 ตัวกำลังลากราชรถ ที่มีพระศรีศากยมุนี มีวิหารบูรพาจารย์ ประดิษฐานพระพุทธรูปหินอ่อน มีพระคัมภีร์วัชรยาน (ทิเบต) นิกายมนตรายาน ที่สมบูรณ์ที่สุดในโลก
ที่ตั้ง : 323 ซอยสาธุประดิษฐ์19 (นราธิวาสฯ 24) ถนนสาธุประดิษฐ์ แขวงช่องนนทรี เขตยานนาวา กรุงเทพฯ เปิด : 08.30-15.30 น.
9.ศาลเจ้าเล่าปุนเถ้ากง ถนนทรงวาด อายุร้อยกว่าปี เป็นเทพเจ้าคุ้มครองรักษาชุมชน เดิมเป็นสถาปัตยกรรมสกุลช่างแต้จิ๋วแบบซี่เตี้ยมกิม แต่ปัจจุบันบูรณะใหม่ปี พ.ศ.2460
ที่ตั้ง : 833 ซอยอิศรานุภาพ ถนนทรงวาด เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพฯ เปิด : 07.00-17.00 น.
10.ศาลเจ้ากวางตุ้ง (สมาคมกว๋องสิว) สร้างสมัยรัชกาลที่ 5 ประดิษฐานซำป้อหุกโจ้ว พระไตรรัตนพุทธ เจ้าแม่กวนอิมปางประทานพรเทพเจ้ากวนอู เทพเจ้าขงจื๊อ เทพเจ้าเหงินฉ่างตี้ชุน (เง็กเซียนฮ่องเต้) เทพเจ้าลู่ปาน
ที่ตั้ง: ถนนเจริญกรุง แยกแปลงนามกับถนนพลับพลาไชย กรุงเทพฯ เปิด : 7.00 – 20.00 น