เป็นที่ทราบกันดีว่า วันเด็กแห่งชาติของประเทศไทย ตรงกับวันเสาร์ที่ 2 ของเดือนมกราคมของทุกปี ซึ่งปีนี้ตรงกับวันเสาร์ที่ 13 มกราคม 2567 แต่ทราบกันหรือไม่ว่า วันเด็กแห่งชาติในประเทศไทยนั้นถูกจัดขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อวันจันทร์ที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2498 ซึ่งสอดคล้องกับมติขององค์การสหประชาชาติ (United Nations: UN) ที่ได้กำหนดให้วันจันทร์แรกของเดือนตุลาคม เป็นวันเด็กสากล (World Children's Day)
นับจากนั้นเป็นต้นมาทางราชการได้กำหนดให้ วันจันทร์แรกของเดือนตุลาคมของทุกปี เป็น วันเด็กแห่งชาติ และจัดติดต่อกันมาต่อเนื่อง
กระทั่งในปี พ.ศ. 2506 และปี พ.ศ. 2507 ข้อมูลของกรมประชาสัมพันธ์ ระบุว่า ไม่สามารถจัดงานวันเด็กได้ทัน นับเป็นครั้งแรกที่งานวันเด็กแห่งชาติไม่มีและถูกเลื่อนออกไปถึงสองปีซ้อน
ในปี พ.ศ. 2508 คณะกรรมการจัดงานวันเด็กแห่งชาติ เห็นพ้องต้องกันว่า ช่วงเดือนตุลาคมของประเทศไทยนั้นตรงกับช่วงฤดูฝนซึ่งไม่สะดวกต่อการจัดกิจกรรมงานวันเด็ก นอกจากนี้วันจันทร์ซึ่งเป็นวันทำงานจะทำให้ผู้ปกครองไม่สามารถพาบุตรหลานมาร่วมงานได้
ด้วยเหตุนี้ คณะรัฐมนตรี (ครม.) จึงมีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2508 ประกาศ "เปลี่ยนแปลง" กำหนดงานวันเด็กแห่งชาติ จากวันจันทร์แรกของเดือนตุลาคม มาเป็นวันเสาร์ที่สองของเดือนมกราคมของทุกปีแทน ส่งผลให้ในปี พ.ศ. 2508 ไม่มีงานวันเด็กแห่งชาติ
จากประกาศเปลี่ยนแปลงวันดังกล่าวข้างต้น งานวันเด็กแห่งชาติในประเทศไทยได้เริ่มจัดขึ้นใหม่อีกครั้งในวันเสาร์สัปดาห์ที่ 2 ของเดือนมกราคมเมื่อปี พ.ศ. 2509 และจัดติดต่อกันเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน
สำหรับคำขวัญวันเด็กแห่งชาติมีขึ้นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2499 สมัยที่จอมพลแปลก พิบูลสงคราม เป็น นายกรัฐมนตรี ใจความว่า
ส่วนคำขวัญวันเด็กปี 2567 นี้ นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้ให้เอาไว้ว่า
1.เป็นการให้ความสำคัญแก่เด็กและเยาวชนที่จะเติบโตขึ้นเป็นกำลังหลักในการพัฒนาชุมชน ประเทศชาติ และสังคมโลกในอนาคต
2.เพื่อให้ภาครัฐ เอกชนและประชาชนทั่วไปตระหนักถึงความสำคัญของเด็กและเยาวชน
3.สร้างความตระหนักรู้ด้านสิทธิของเด็กและเยาวชน เช่น สิทธิด้านการศึกษา สุขภาพ และความเป็นอยู่ที่เหมาะสม
4.เพื่อปลูกฝังให้เด็กเข้าใจบทบาทและรู้จักหน้าที่ในการมีส่วนร่วมกับสังคมในฐานะพลเมืองโลก
5.เป็นโอกาสให้เด็กและสมาชิกในครอบครัวใช้เวลาร่วมกัน