กรมส่งเสริมวัฒนธรรม เปิดรายชื่อผลโหวต “1 จังหวัด 1 เมนู” เชิดชูอาหารถิ่นประจำปี 2567 ภายใต้แนวคิด “รสชาติ…ที่หายไป The Lost Taste” โดยร่วมมือกับ 76 จังหวัดทั่วประเทศและกรุงเทพมหานคร ในการคัดสรรเมนูอาหารถิ่นที่โดดเด่นจากแต่ละจังหวัด เพื่อส่งเสริมและพัฒนาอาหารถิ่นให้กลายเป็นมรดกทางวัฒนธรรมและสะท้อนอัตลักษณ์ความเป็นไทย โดยแบ่งอาหารออกเป็น 3 หมวด ได้แก่ อาหารคาว, ขนมหวาน และอาหารว่าง
โครงการนี้เป็นการต่อยอดเป็นปีที่ 2 โดยมีเป้าหมายเพื่อยกระดับอาหารถิ่นให้เป็นสัญลักษณ์ของภูมิปัญญาด้านสมุนไพรและคุณค่าทางอาหารที่สืบทอดกันมาอย่างยาวนาน โดยการคัดเลือกมาจากการโหวตของประชาชนในแต่ละจังหวัดมีส่วนร่วมในการโหวตเมนูที่โดดเด่นที่สุดในจังหวัดของตนเอง เปิดโอกาสให้ประชาชนในพื้นที่ได้รู้จักเมนูใหม่ ที่แม้แต่คนในท้องถิ่นก็ยังไม่เคยลอง
เมนูอาหารถิ่นที่ได้รับการคัดเลือกจากเสียงโหวตของประชาชนในแต่ละจังหวัดมีดังนี้
ภาคกลาง
กรุงเทพมหานคร (ขนมเหนียวสูตรโบราณ)
อ่างทอง (ขนมเกสรลำเจียก)
ราชบุรี (ไก่ย่างบางตาล)
อุทัยธานี (ต้มยำไก่ไทยใบมะขามอ่อน)
ชัยนาท (ยำส้มโอขาวแตงกวากุ้งสด)
สมุทรปราการ (ปั้นขลิบปลาสลิดหอมบางบ่อ)
นนทบุรี (ทอดมันหน่อกะลา น้ำจิ้มกระท้อน)
สระบุรี (ข้าวผัดข้าวเจ๊กเชย เสาให้)
ปทุมธานี (กาละแมรวงข้าวเม็ดบัว)
สุพรรณบุรี (น้ำพริกไปนา)
พระนครศรีอยุธยา (ขนมพระพาย)
กาญจนบุรี (ขนมถังแตกมอญ)
ลพบุรี (แกงคั่วกระท้อน)
นครปฐม (แกงขาหมูใบมะดัน (ใส่กรุบมะพร้าว))
สมุทรสงคราม (ต้มกระทิสายบัวปลาทูแม่กลอง)
ประจวบคีรีขันธ์ (แกงคั่วหนามพุงดอหมูย่าง)
สมุทรสาคร (แกงคั่วชะครามปูไข่)
เพชรบุรี (น้ำพริกลำแพน)
สิงห์บุรี (ปลาช่อนแม่ลาเผา)
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
กาฬสินธุ์ (ซว้าไก่)
ร้อยเอ็ด (ลาบปูนา)
ขอนแก่น (ข้าวโจ้โรยงา)
เลย (เมี่ยงโค้นน้ำผักสทอน)
ชัยภูมิ (หมกลาบปลาตอง)
ศรีสะเกษ (ปาดหรือแป้งปิ้งโบราณ-เซาอัง)
นครพนม (กะละแมโบราณนครพนม)
สกลนคร (ส้มตีนโคขุนโพนยางคำ)
นครราชสีมา (น้ำพริกหมู(โคราช))
สุรินทร์ (นมเนียล)
บึงกาฬ (ซั่วไก่)
หนองคาย (ผัดจังโก้(แบบดั้งเดิม))
บุรีรัมย์ (กุ้งจ่อมผัดสมุนไพร)
หนองบัวลำภู (ป่นปลาเข็ง)
มหาสารคาม (ลาบปูนา)
อำนาจเจริญ (ลาบปลาคังแม่น้ำโขงสมุนไพร)
มุกดาหาร (ข้าวต้มพันตองหนองสูง)
อุดรธานี (ข้าวเม่า บ้านผือ)
ยโสธร (ลาบปลาแม่น้ำชี)
อุบลราชธานี (วุ้นตาลน้ำกะทิ)
ภาคตะวันออก
จันทบุรี (แกงส้มใบสันดาน)
นครนายก (ขนมกุยช่าย)
ฉะเชิงเทรา (มะม่วงน้ำปลาหวานปลาช่อนย่างแปดริ้ว)
ปราจีนบุรี (ขนมหน่อไม้)
ชลบุรี (เมี่ยงคำก๋วยเตี๋ยว)
ระยอง (กะปิคั่ว)
ตราด (ข้าวเหนียวเหลือง)
สระแก้ว (หมกหน่อไม้ทรงเครื่องสมุนไพร)
ภาคเหนือ
เชียงราย (แกงแคกุ้งสดกุ้งฝอย)
แพร่ (ขนมเส้นน้ำใสเมืองแพร่)
เชียงใหม่ (ขนมวง)
แม่ฮ่องสอน (สาละพู)
ตาก (กระบองจ่อ)
ลำปาง (แกงฮังเล)
น่าน (ขนมอั่ว)
ลำพูน (ขนมปาด)
พะเยา (ข้าวต้มหัวหงอก)
สุโขทัย (ยำไก่ผีปู่ย่า)
พิจิตร (แกงหน่อส้ม)
อุตรดิตถ์ (ไส้กรอกใหญ่รสเด็ดโบราณพิชัย)
พิษณุโลก (หลามไก่ ไข่ป่าม)
กำแพงเพชร (ข้าวตอกอัด(ข้างวัดเสด็จ) อบควันเทียน)
เพชรบูรณ์ (แกงอีเหี่ยว)
นครสวรรค์ (แกงนอกหม้อ)
ภาคใต้
กระบี่ (ปลายอก ข้าวบอก)
พัทลุง( แกงน้ำเคยใบพาโหมปลาช่อนย่าง)
ชุมพร (ขนมล่อจี้)
ภูเก็ต (ยำย่าหนัด)
ตรัง (โหลวหมี่หรือหมี่หน่ำเหลี่ยว(หมี่น้ำหลอ))
ยะลา (ซามาอาซัมกลูโก)
นครศรีธรรมราช (ขนมขึ้น)
ระนอง (ปลาหลุมพุกต้มเค็ม)
นราธิวาส (ตูปะซูตง (หมึกยัดไส้ข้าวเหนียว))
สงขลา( เต้าคั่ว)
ปัตตานี( มะตะบะปูยุด)
สตูล (ข้าวมัน แกงตอแมะห์ปลา)
พังงา (กระดูกอ่อนคั่วเครื่องราหัวเปราะ)
สุราฏร์ธานี (ผัดไทยท่าฉาง)