ปตท.- พลังงานบริสุทธิ์ ลุย ร่วมทุนพันธมิตร พัฒนาแพลตฟอร์ม EV

29 มิ.ย. 2564 | 14:47 น.
อัปเดตล่าสุด :02 ก.ค. 2564 | 10:16 น.

ปตท.ประกาศจับมือพันธมิตรไต้หวัน ผลิต EV ในไทย 1 แสนคัน ส่วน พลังงานบริสุทธิ์ (EA) เน้นผลิตยานพาหนะเพื่อการพาณิชย์ รถบัส และเรือ พร้อมพัฒนาระบบชาร์จเร็ว เน้นความคุ้มค่าในการใช้งาน

เสวนา “รถยนต์ไฟฟ้าพลิกโอกาสธุรกิจ เปลี่ยนวิถีชีวิตคนไทย” ที่จัดโดย ฐานเศรษฐกิจ พร้อมระดมซีอีโอจากบริษัทชั้นนำของเมืองไทย ทั้ง ปตท. และ พลังงานบริสุทธิ์ รวมถึงหน่วยงานทำแผนและผลักดันนโนบายคือ สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม(สศอ.) และภาควิชาการโดย รศ.ดร.ยศพงษ์ ลออนวล

นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า (อีวี) ที่ ปตท. ดำเนินการจะเป็นเรื่องของแบตเตอร์รี่, ยานยนต์, โครงสร้างพื้นฐาน และแพลตฟอร์ม ซึ่งเป็น 4 ส่วนหลักที่ ปตท.ให้ความสนใจ และดำเนินการไปควบคู่กับการรอนโยบายของรัฐบาลให้เข้ามาสนับสนุน

 

สำหรับธุรกิจแบตเตอร์รี่ มีการสร้าง Pilot Plant โดยใช้เทคโนโลยีของอเมริกา 24M ซึ่งเป็นบริษัทที่ ปตท. ถือหุ้นอยู่ โดยปัจจุบันโรงงานกำลังผลิตขนาด 30 MWh ต่อปี เสร็จเรียบร้อยแล้ว กำลังอยู่ระหว่างการประเมินผลและวิจัยว่าจะขยายเป็นขนาด 1 กิกะวัตต์ได้อย่างไร

ด้านธุรกิจรถยนต์ไฟฟ้า ได้เซ็นเอ็มโอยูกับบริษัทฟล็อกคอน (Foxconn) บริษัทจากไต้หวัน ใช้เทคโนโลยีใหม่ ซึ่ง ปตท.มองว่าหากดำเนินการได้สามารถจะเข้ามาทดแทนวงการผลิตรถยนต์
ได้ โดยกำลังศึกษาว่าจะมีการลงทุนในประเทศไทยได้หรือไม่ หากการเจรจาผ่านไปได้ด้วยดี
อาจจะมีการตั้งโรงงานผลิต อีวี ที่มีกำลังผลิตประมาณ 1 แสนคันต่อปี

อย่างไรก็ตาม ปตท. กำลังจะออกแพลตฟอร์มที่รวมเรื่องการบริการของรถยนต์ไฟฟ้าในแพลต ฟอร์มเดียว โดยมองว่าปัจจุบันที่ผู้บริโภคยังไม่อยากซื้อรถไฟฟ้าเพราะมีความไม่แน่นอนอยู่มาก แต่ก็ต้องการทดลองขับ ซึ่งแพลต ฟอร์มนี้จะให้บริการทั้ง ผู้ที่ต้องการซื้อ เช่า ทดลองขับผ่านแพลตฟอร์มเดียว โดยกำลังจะเปิดตัวภายใน 2 เดือนนี้

ส่วนระบบกักเก็บพลังงาน หรือ “เอเนอร์จีย์ สตอเรจ” ปตท. ลงทุนใน 2 รูปแบบหลัก ได้แก่
อีวี และการใช้แบตเตอร์รี่ขนาดใหญ่ในโรงงาน โดยแนวโน้มของสมาร์ทเอ็นเนอร์ยี่แพลตฟอร์มเกี่ยวกับเรื่องสมาร์ทกริด เป็นแนวโน้มที่กำลังจะเข้ามา ปตท.ก็จับกับพันธมิตรหลายอย่าง เช่น WHA ซึ่งเป็นนิคมอุตสาหกรรม จับกับโรงงานในนิคม ผลิตเองใช้ไฟฟ้าเอง แลกเปลี่ยนเองภายในนิคม โดยต้องใช้แพลตฟอร์มเป็นตัวแลกเปลี่ยน

นอกจากนี้ ก็มีการไปลงทุนร่วมกับบริษัทที่ประเทศจีน ซึ่งเป็นโรงงานและผลิตแบตเตอร์รี่ให้กับรถยนต์ไฟฟ้าของจีนยี่ห้อเชอร์รี่ เป็นโรงงาน 1 กิกกะวัตต์ เป็นเชิงพาณิชย์แล้ว โดยโรงงานน่าจะเสร็จภายในปีหน้า ซึ่งการเข้าไปถือหุ้นก็เพื่อศึกษาตลาดและเทคโนโลยี อีกทั้งยังมีมหาวิทยาลัย ปตท. ที่เรียกว่าวิสเทค โดยมีงานวิจัยที่สามารถผลิตแบตเตอร์รี่ที่ออกแบบวัสดุ สามารถที่จะทำให้แบตเตอรี่ก้อนเท่ากัน มีความสามารถในการเก็บประจุได้ 40-50% ตอนนี้อยู่ในช่วงของการอออกแบบ Pilot plant อยู่

“ด้านโครงสร้างพื้นฐาน สถานีชาร์จพลังงานมีทำทั้งในสถานีบริการน้ำมัน และนอกสถานี ในสถานีก็ใช้ในปั๊ม ปตท. ตอนนี้มี 30 แห่ง เป้าสิ้นปีให้ได้ 100 แห่ง และจะเริ่มมีการกระจายจุดไปตามต่างจังหวัด เพื่อให้รถอีวีเดินทางไปต่างจังหวัดได้ ส่วนนอกสถานีน้ำมันจะขยายผ่านบริษัทลูกที่เรียกว่า Onion โดยเป้าปีนี้ติดตั้ง 100 แห่ง รวมทั้ง 2 ส่วนจะมี 200 แห่ง

นายสมโภชน์ อาหุนัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.พลังงานบริสุทธิ์ (EA) กล่าวว่า ปัจจุบันบริษัทจะเน้นพัฒนาแบตเตอรี่เพื่อยานพาหนะเชิงพาณิชย์ ทั้งรถบัส เรือ หรือรถบรรทุก เนื่องจากเป็นรถที่ใช้งานหนัก แม้จะมีข้อจำกัดคือราคาแพง แต่ยิ่งใช้จะยิ่งประหยัดพลังงาน และได้ต้นทุนคืนเร็ว รวมถึงช่วยแก้มลพิษ ทั้งยังสร้างอุตสาหกรรมที่ยังไม่เคยมีบริษัทไทยเข้าไปอีกด้วย และไม่มีเจ้ายักษ์ใหญ่ที่เข้ามาทำตรงนี้

ปตท.- พลังงานบริสุทธิ์ ลุย  ร่วมทุนพันธมิตร พัฒนาแพลตฟอร์ม  EV

ปัจจุบันธุรกิจยานยนต์ไฟฟ้าตื่นตัวมากขึ้น ทำให้บริษัทต้องปรับตัวเพื่อให้เติบโตไปกับอุตสาหกรรมยานยนต์ โดยเป็นเจ้าแรกที่เข้ามาทำธุรกิจแบตเตอรี่ และโรงงานที่จังหวัดฉะเชิงเทราอยู่ระหว่างก่อสร้างใกล้เสร็จแล้ว ซึ่งสิ่งที่อยากเห็นและสิ่งที่ทำในตอนนี้คือ หากเป็นไปได้ไม่อยากทำคนเดียว อยากเป็นเซอร์วิสให้ทุกคนสามารถเข้ามาร่วมทำด้วยกันได้

นางสาวพะเยาว์ คำมุข รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) กล่าวว่า ภาครัฐมีความยินดีที่ผู้ประกอบการไทยและรัฐวิสาหกิจช่วยกันผลักดันซึ่งตรงกับนโยบายของภาครัฐที่ต้องการส่งเสริมให้รัฐวิสาหกิจเข้ามาผลิตอย่างจริงจัง ก่อนที่นักลงทุนต่างชาติจะเข้ามาผลิตในไทยมากขึ้น เพราะทั้งโลกเทรนด์รถไฟฟ้าเทรนด์สิ่งแวดล้อมกำลังมาแรงดังนั้นไทยเองต้องทำตามแนวโน้มความต้องการของตลาด ซึ่งอุตสาหกรรมรถยนต์ไทย มีความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลก

รศ.ดร.ยศพงษ์ ลออนวล ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายพัฒนาความยั่งยืนมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี กล่าวว่า ถ้าไทยต้องการเป็นผู้นำเรื่องยานยนต์ จะต้องปักธงและกำหนดให้ชัดเจนว่าจะส่งเสริมให้เป็น EV 100% เมื่อไร และกำหนดนโยบายแผนการดำเนินการต่างๆ ดึงนักลงทุนจากต่างประเทศที่มองเห็นภาพแบบเดียวกันเข้ามาลงทุน เพราะในอนาคตข้างหน้าไม่เกิน 10 ปีอุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่จะแข่งกันด้วยเทคโนโลยีไม่ใช่แข่งขันด้วยราคาถูก  

นางสาวพะเยาว์ คำมุข รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) กล่าวว่า ภาครัฐมีความยินดีที่ผู้ประกอบการไทยและรัฐวิสาหกิจช่วยกันผลักดันซึ่งตรงกับนโยบายของภาครัฐที่ต้องการส่งเสริมให้รัฐวิสาหกิจเข้ามาผลิตอย่างจริงจัง ก่อนที่นักลงทุนต่างชาติจะเข้ามาผลิตในไทยมากขึ้น เพราะทั้งโลกเทรนด์รถไฟฟ้าเทรนด์สิ่งแวดล้อมกำลังมาแรงดังนั้นไทยเองต้องทำตามแนวโน้มความต้องการของตลาด ซึ่งอุตสาหกรรมรถยนต์ไทย มีความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลก

รศ.ดร.ยศพงษ์ ลออนวล ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายพัฒนาความยั่งยืนมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี กล่าวว่า ถ้าไทยต้องการเป็นผู้นำเรื่องยานยนต์ จะต้องปักธงและกำหนดให้ชัดเจนว่าจะส่งเสริมให้เป็น EV 100% เมื่อไร และกำหนดนโยบายแผนการดำเนินการต่างๆ ดึงนักลงทุนจากต่างประเทศที่มองเห็นภาพแบบเดียวกันเข้ามาลงทุน เพราะในอนาคตข้างหน้าไม่เกิน 10 ปีอุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่จะแข่งกันด้วยเทคโนโลยีไม่ใช่แข่งขันด้วยราคาถูก  

หน้า 1 ฐานเศรษฐกิจ ฉบับที่ 3,692 วันที่ 1 - 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2564