ช่วงเทศกาลเฉลิมฉลองส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่เป็นประจำทุกปีมักมีอุบัติเหตุเกิดขึ้นโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างรณรงค์ "เมาไม่ขับ" เพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้รถใช้ถนน
จากสถิติอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลปีใหม่ 2567 ของ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ระหว่างวันที่ 29 ธันวาคม 2566 – 4 มกราคม 2567 เกิดอุบัติเหตุสะสม 2,288 ครั้ง มีผู้บาดเจ็บ 2,307 ราย เสียชีวิต 284 ราย
ดังนั้น เพื่อเป็นการป้องปราบผู้ใช้รถใช้ถนนให้ร่วมกัน กฎหมายเมาแล้วขับ ได้มีการยกระดับอัปเกรดให้มีความเข้มข้นมากยิ่งขึ้นในปัจจุบัน
การเมาแล้วขับ ถือเป็นพฤติกรรมที่อันตรายและมีความเสี่ยงต่อความปลอดภัยของตัวผู้ขับขี่เองและผู้อื่นบนท้องถนน จึงต้องมีกฎหมายเมาแล้วขับออกมาเพื่อใช้ควบคุมนักดื่มทั้งหลาย มีโทษตั้งแต่การปรับ การถูกเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่ และโทษจำคุก
1. ผู้ที่ปริมาณเแอลกอฮอล์ในเลือด 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์
2. ผู้ที่ปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือด 20 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์
ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่จะต้องกักตัวผู้ขับขี่ที่เชื่อว่า "เมาแล้วขับ" เพื่อทดสอบในระยะเวลาที่จำเป็นหรือให้แล้วเสร็จโดยเร็ว
1. กรณีเมาแล้วขับจนทำให้ผู้อื่น "บาดเจ็บ"
2. กรณีเมาแล้วขับจนทำให้ผู้อื่น "บาดเจ็บสาหัส"
3. กรณีเมาแล้วขับจนทำให้ผู้อื่น "ถึงแก่ความตาย"
4. กรณีทำผิดครั้งแรก
5. กรณีทำผิดซ้ำภายในระยะเวลา 2 ปี